breaking news

About CA

ประวัติคณะ

คณะนิเทศศาสตร์ เป็นคณะวิชาลำดับที่ 4 ของสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ที่มุ่งมั่นในการจัดการเรียนการสอนด้านนิเทศศาสตร์แบบเรียนรู้ควบคู่การฝึก ปฏิบัติในสถานประกอบการจริง (Work-based Learning) เป็นแห่งแรก

ปัจจุบัน ความต้องการนักวิชาการและนักวิชาชีพด้านนิเทศศาสตร์ยังคงเป็นไปอย่างต่อ เนื่อง รวมทั้งนักนิเทศศาสตร์รุ่นใหม่ต้องมีพัฒนาการที่เด่นชัดด้านความรู้ความ สามารถในเชิงบูรณาการ กล่าวคือมีความรู้จากหลายๆ ศาสตร์ เพื่อใช้ในการสื่อสาร รวมทั้งต้องมีความทันสมัยด้านเทคโนโลยีการสื่อสารในรูปแบบต่างๆ ตลอดจนรู้เท่าทันสื่อ (Media literacy) จากการที่สื่อเป็นความจำเป็นสำหรับชีวิตยุคใหม่ ในฐานะที่เป็นทั้งผู้ผลิตสื่อ ผู้ใช้สื่อ และผู้รับสื่อ จะต้องมีฐานความคิดของตนที่ไม่ถูกครอบงำหรือตกอยู่ภายใต้อิทธิพลทางสังคม รู้จักใช้ปัญญาและการคิดเชิงวิเคราะห์

สำหรับการเรียนการสอนของคณะ นิเทศศาสตร์ที่ดำเนินการในสถาบันการศึกษาปัจจุบัน เน้นการศึกษาในระบบการเรียนทฤษฎีและฝึกปฏิบัติจากในรูปแบบห้องเรียน (Lecture class and laboratory) เป็นหลัก เป็นผลให้นักศึกษาส่วนใหญ่ขาดประสบการณ์การเรียนรู้จากสถานประกอบการจริง และขาดทักษะความชำนาญในอาชีพ ดังนั้น คณะนิเทศศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ มีจุดมุ่งหมายชัดเจนในการผลิตบัณฑิตในแนวทางใหม่ ด้วยกระบวนการเรียนรู้จากคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านนิเทศศาสตร์ร่วมกับนัก วิชาชีพที่มีชื่อเสียงระดับประเทศ ผ่านกระบวนการวิจัย การใช้กรณีศึกษา และการทำโครงงาน (Project-based Learning) ตลอดจนการเรียนรู้ด้วยประสบการณ์จากการปฏิบัติงานจริง (Work-based Learning) ณ สถานประกอบการ

ทั้งหมดนี้ ทำให้มั่นใจได้ว่า บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์จะเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถทางด้านนิเทศศาสตร์ที่มีความคิดสร้างสรรค์ มีความสามารถในการวางแผน การบริหารจัดการการสื่อสาร มีความทันสมัย มีความรู้และความเข้าใจอย่างลึกซึ้งทั้งด้านวิชาการวิชาชีพ สามารถคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลข่าวสารเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในงาน วิชาชีพนิเทศศาสตร์เชิงสร้างสรรค์ได้อย่างเหมาะสมและมีคุณค่า มีคุณธรรมจริยธรรม สามารถบูรณาการองค์ความรู้ทั้งในส่วนของสาขานิเทศศาสตร์และในสาขาที่เกี่ยว ข้องได้อย่างลงตัว

คณะนิเทศศาสตร์ได้เปิดสอน 3 วิชาเอก ดังนี้

การสื่อสารแบรนด์ (Brand Communication) มุ่งเน้นผลิตนักศึกษาให้เป็นผู้ที่สามารถมองทิศทางของธุรกิจ วางแผนปรับกลยุทธ์อยู่ตลอดเวลา รวมทั้งเข้าใจในภาพรวมของการสื่อสาร และเข้าใจความต้องการของผู้บริโภค โดยเฉพาะสินค้าและแบรนด์ทรงคุณค่าได้เป็นอย่างดี เพื่อให้แบรนด์ของตนอยู่ในตลาดได้อย่างยั่งยืน
การสื่อสารองค์กร (Corporate Communication) ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความเข้าใจองค์กร มีความสามารถในการสื่อสารและบริหารจัดการการสื่อสารทั้งภายในและภายนอก องค์กรธุรกิจ โดยยึดหลักความสัมพันธ์ และการมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับองค์กร บรรษัทภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร มีความสามารถในการสื่อสารเพื่อธุรกิจอุตสาหกรรมที่ต้องการความพิเศษเฉพาะ
วารสารศาสตร์คอนเวอร์เจ้นท์ (Convergent Journalism) ผลิตบัณฑิตทำงานในวิชาชีพข่าว ที่มีความเป็นผู้ประกอบการข่าวที่สามารถทำงานในสภาพแวดล้อมที่มีการผสานทั้ง ในการบริหารจัดการงานข่าว การจัดการเนื้อหา และการสื่อสารผ่านช่องทางสื่อที่หลากหลายพร้อมๆ กัน ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และสื่อออนไลน์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณธรรมจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม

สัญลักษณ์และสีประจำคณะ
สัญลักษณ์ :
1387877518141

สีประจำคณะ : สีน้ำเงิน (Royal Blue) แทนสีน้ำหมึก ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการสื่อสาร

ความหมาย : นก พิราบ สัญลักษณ์ของความสงบและการสื่อสาร ช่อมะกอก สัญลักษณ์แห่งการขอให้ยกโทษหรือการยอมให้ เปรียบเหมือนนักสื่อสารที่มีความเป็นอิสระ เที่ยงตรง เป็นกลาง ตั้งมั่นในคุณธรรม จริยธรรม และมีความเป็นเลิศในการสื่อสารท่ามกลางกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลก วางอยู่ในรูปทรงเรขาคณิต 5 เหลี่ยม อันสื่อถึงคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ 5 ประการ ได้แก่ เรียนเป็น คิดเป็น ทำงานเป็น เน้นวัฒนธรรม และรักความถูกต้อง

Share This: