breaking news

เปิดพฤติกรรมการใช้เงินคนรุ่นใหม่ “เสี่ยงมีหนี้ หรือ มีเก็บ” 

มกราคม 31st, 2021 | by administrator

Prototype Voice สำรวจพฤติกรรมการใช้เงินคนรุ่นใหม่ พบ มีแนวโน้มมีค่าใช้จ่ายเพื่อไลฟ์สไตล์สูง กระทบสภาพคล่อง ไม่มีเงินออม

.

พฤติกรรมการใช้จ่ายเงินของคนรุ่นใหม่ยุค 4.0 ที่ไม่เพียงแต่ใช้จ่ายกับที่อยู่อาศัยเพียงอย่างเดียว  แต่ยังมีการใช้จ่ายเงินเกี่ยวกับการท่องเที่ยวและไลฟ์สไตล์ รวมไปถึงการใช้จ่ายเกี่ยวแฟชั่นและการชอปปิ้งอีกด้วย ทำให้เกิดพฤติกรรมการใช้เงินที่อาจส่งผลกระทบต่อรายจ่ายมากกว่ารายรับ

 ทีมข่าว The Prototype ทำแบบสำรวจออนไลน์ สำรวจพฤติกรรมการใช้เงินของคนในเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล ในช่วงเดือนธันวาคม 2563 ที่ผ่านมา โดยมีการเก็บรวบรวมข้อมูลของคนวัยทำงาน จำนวน 150 คน งพบว่า ภาระค่าใช้จ่ายต่อเดือนส่วนใหญ่อยู่ที่ 10,000 – 15,000 บาท ซึ่งมีการใช้จ่ายเงินไปกับค่าที่อยู่อาศัยมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 60 รองลงมาคือสิ่งอุปโภค บริโภค ไม่ว่าจะเป็นค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอินเทอร์เน็ต ของใช้ส่วนตัว ค่าเดิน และค่าอาหาร คิดเป็นร้อยละ 25 และนอกจากนี้ยังเห็นได้ว่าคนในวัยนี้มีการใช้จ่ายเงินไปในส่วนของการท่องเที่ยว การซื้อของออนไลน์ และการใช้จ่ายเกี่ยวกับแฟชั่น คิดเป็นร้อยละ 15 ตามลำดับ

     ทั้งนี้ในส่วนของการวางแผนการเงินของคนวัยทำงานนั้น พบว่ามีการแบ่งสัดส่วนการออมเงินต่อเดือนโดยคิดเป็นร้อยละ 60 มีเงินเก็บต่อเดือนอยู่ที่ 500 – 1,000 บาท รองลงมาร้อยละ 25 มีเงินเก็บต่อเดือนอยู่ที่ 300-500 บาท และสุดท้ายร้อยละ 15 มีเงินเก็บต่อเดือนอยู่ที่ 1,000 – 2,000 บาท ตามลำดับ

  นอกจากนี้ คุณสฤณี อาชวานันทกุล นักวิจัย และนักวิชาการอิสระด้านการเงิน ให้ความเห็นในเรื่องของพฤติกรรมการใช้เงินของคนวัยทำงานว่าคนวัยนี้เริ่มมีการวางแผนทางด้านการเงินมากขึ้น เนื่องจากสภาวะทางเศรษฐกิจและสถานการณ์การแพร่บาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้มีการแบ่งสัดส่วนการใช้จ่ายเงินมากขึ้น มีการวางเป้าหมายในการออมเงินเพื่ออนาคต

ซึ่งการวางแผนการออมเงินนั้นมีความสำคัญมาก เนื่องจากทุกคนต้องใช้เงินทุกวันจึงต้องมีทักษะในการจัดการเงินที่ดี และควรปลูกฝังพฤติกรรมการใช้เงินตั้งแต่วัยเด็กเพื่อให้มีการใช้จ่ายเงินอย่างเป็นระบบ โดยเริ่มจากการตรวจสอบบัญชีว่าในแต่ละเดือนใช้จ่ายอะไรบ้าง วางแผนงบประมาณในการใช้เงินอย่างเหมาะสม ทำบัญชีรายรับ – รายจ่าย แบ่งเงินเก็บเป็นส่วนๆ และเก็บเงินสำรองไว้ใช้สำหรับกรณีฉุกเฉิน ทั้งยังต้องสร้างวินัยในการใช้เงิน ไม่ฟุ่มเฟือยซื้อของตามกระแสนิยม จนอาจส่งผลกระทบไปถึงรายจ่ายที่มากกว่ารายรับ

ทั้งนี้คุณสฤณี ยังกล่าวอีกว่า ทุกคนมีทัศนะคติที่แตกต่างกัน คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเรื่องไหนเป็นเรื่องสำคัญของแต่ละบุคคลในการใช้จ่ายเงิน เพียงแต่สิ่งที่แตกต่างคือวิธีคิด วิธีมองและการวางแผนรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ที่จะเข้ามา ซึ่งก็ถือเป็นสิ่งที่ดีในการเตรียมพร้อมและระมัดระวังเรื่องการของการใช้เงินในทุกๆ วัน ทั้งยังมองไปสู่ระบบของการศึกษาที่ควรมีการเรียนการสอนในเรื่องของการเงิน ไม่ว่าจะเป็นการออมเงิน หรือการสร้างความมั่นคงทางด้านการเงินในอนาคต

Share This:

Comments are closed.