breaking news

ยุวพัฒน์รักถิ่น

สิงหาคม 21st, 2019 | by administrator

Share This:

ยุวพัฒน์รักถิ่น กับ Work-based Education

โครงการออมสิน ยุวพัฒน์รักถิ่น เป็นโครงการที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาจากหลายมหาวิทยาลัยเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน โดยการมีส่วนช่วยในการต่อยอดผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชน  โดยในปี พ.ศ.2562 เป็นปีที่สาม มีมหาวิทยาลัยเข้าร่วม 57 แห่ง จากทั่วประเทศ หนึ่งในนั้น คือ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กรวิทย์ ไชยสุ อาจารย์ประจำหลักสูตรคณะนวัตกรรมการจัดการเกษตร สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ซึ่งผู้ดูแลโครงการ และส่งตัวแทนกลุ่มนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม เปิดเผยว่า

            โครงการออมสิน ยุวพัฒน์รักถิ่น ของสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ เริ่มจากการคัดเลือก 7 วิสาหกิจชุมชน คือ กลุ่มวิสาหกิจคลองข่อย วิสาหกิจชุมชนกลุ่มสตรีผ้าแปรรูป กลุ่มแม่บ้านขนมไทยปากเกร็ดร่วมใจ 5 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรปลอดสาร กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์คนพันธุ์เหน่อ กลุ่มวิสาหากิจชุมชนผลิตภัณฑ์แปรรูป และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านคลองไทร  หลังจากนั้น นักศึกษาจึงลงพื้นที่ไปเก็บข้อมูลเบื้องต้นด้วยการสัมภาษณ์จากวิสาหกิจชุมชนทั้ง 7 กลุ่ม

            จุดมุ่งหมายของการจัดทำโครงการออมสิน ยุวพัฒน์รักถิ่น ของสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ คือ การช่วยเหลือวิสาหกิจชุมชนให้มีความเข้มแข็ง โดยการเพิ่มยอดขายขึ้น 50% หรือลดต้นทุน 50% ผ่านการแปรรูปผลผลิตจากชุมชน การลดต้นทุนวัตถุดิบ การปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งจะทำให้สามารถเพิ่มมูลค่าและต่อยอดให้ได้เป็นธุรกิจ เพื่อความยั่งยืนต่อไปได้

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้กับวิสาหกิจชุมชน แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ  ต้นน้ำ คือ การพัฒนาเกี่ยวกับวัตถุดิบ ซึ่งเป็นการดูแลตั้งแต่เริ่มต้น เช่น การปลูกพืชโดยไม่ใช้สารเคมี  ส่วนที่สอง ได้แก่ กลางน้ำ ซึ่งเป็นการพัฒนาในส่วนของกระบวนการผลิต  และส่วนสุดท้าย ส่วนของ ปลายน้ำ ซึ่งเกี่ยวข้องกับช่องทางการจัดจำหน่ายที่สามารถเชื่อมโยงกับผู้บริโภคได้โดยตรง

            การที่นักศึกษาได้ลงพื้นที่จริงเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชนนี้ เป็นรูปแบบการจัดการศึกษาตามหลักการ Work-based Education ของสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ซึ่งเป็นการเรียนการสอนที่เน้นการปฏิบัติจริง เป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนในการสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเองจากสถานประกอบการจริง ควบคู่กับการเรียนการสอนทางทฤษฎีในห้องเรียน ซึ่งถือเป็นการพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ให้แก่นักศึกษา  คณะนวัตกรรมการจัดการเกษตร ได้มีการบูรณาการโครงการออมสิน ยุวพัฒน์รักถิ่น เข้ากับ 2 รายวิชา ได้แก่ วิชาประเด็นคัดสรร และวิชาวิชาการเพิ่มประสิทธิภาพทางการเกษตร ทำให้นักศึกษาได้มีโอกาสที่จะนำความรู้ที่ได้จากการเรียนไปทดลองปฏิบัติจริง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กรวิทย์ ไชยสุ กล่าวทิ้งท้ายว่า โครงการนี้ถือว่าเป็นโครงการที่ดีอีกหนึ่งโครงการ  คณะนวัตกรรมการจัดการเกษตรเป็นคณะแรกที่เข้าร่วมโครงการของธนาคาออมสินนี้ และปีต่อ ๆ ไป จะนำโครงการนี้ประสานไปยังคณะอื่นเพื่อที่จะให้ทุกคณะได้เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้  … (เหมือนจะพูดประมาณว่า นวัตกรรมจะเกิดขึ้นได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากสหสาขาวิชา?)

            หลังจากนี้ ทางสถาบันฯ จะส่งโครงการของสถาบันฯ ต่อไปยังธนาคารออมสิน เพื่อทำการคัดเลือกโครงการที่เข้าเกณฑ์การตัดสิน และมอบงบประมาณในการจัดทำโครงการจริง เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนต่อไป

Comments are closed.