breaking news

ถอดบทเรียน Hate Speech ในสังคมไทย ภายใต้แนวคิด วิจารณ์ได้สร้างสรรค์ด้วย

พฤษภาคม 3rd, 2020 | by administrator
ถอดบทเรียน Hate Speech ในสังคมไทย ภายใต้แนวคิด วิจารณ์ได้สร้างสรรค์ด้วย
ไม่มีหมวดหมู่
0

จากปัญหา Hate Speech ในสังคมไทย ที่พบได้ทั้งในชีวิตประจำวันและโลกออนไลน์ ได้สะท้อนให้เห็นว่าหลายคนยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ Hate Speech  ที่คาบเกี่ยวระหว่าง Free Speech ที่หลายคนมองว่าเป็นเสรีภาพที่จะแสดงออกซึ่งความคิดเห็นใด ๆ โดยไม่ถูกตรวจพิจารณาก่อน หรือถูกปิดกั้นและถูกจำกัดด้วยวิธีการอื่นใด ซึ่งนั่นอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาการ Hate Speech ที่ยากจะแก้ไข

ซึ่งในฐานะผู้ผลิตสื่อเพื่อลดความรุนแรงในการใช้คำในสื่อออนไลน์ มีหลักแนวคิดที่สำคัญ คือ การที่จะให้ผู้รับสารรู้และเข้าใจเกี่ยวกับ Hate Speech และสื่อที่จะผลิตนั้นจำเป็นที่จะต้องไม่ผลิตซ้ำความรุนแรงดังกล่าว แต่เนื่องจากต้องการที่จะให้ผู้รับสาร ทราบว่าคำใด เป็น Hate Speech จึงจำเป็นที่จะต้องยกตัวอย่างประกอบ แต่ในขณะเดียวกัน เพื่อไม่ให้ชิ้นงานดูรุนแรง จึงเลือกที่จะใช้โทนสี “พาสเทล” ในการทำงาน และเลือกใช้วิธีนำเสนอในรูปแบบของเกมถามตอบ เพื่อดึงดูความสนใจและสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้รับสาร เช่น กิจกรรม [Q&A] คุณรู้จัก Hate speech ดีแค่ไหน? ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จะทำให้ผู้รับสารรู้จักวาทกรรมมากขึ้น โดยการเลือกว่า ประโยคใดคือ Hate speech? และประโยคใดคือ Free speech?

และเมื่อมีผู้รับสารมาร่วมกิจกรรม ในวันต่อมาจึงปล่อยเนื้อหาที่เป็นการเฉลยว่าจากกิจกรรมดังกล่าวที่ผู้รับสารได้ร่วมสนุกไป ถูกต้องมากน้อยเพียงใด ซึ่งในการเฉลยกิจกรรมก็จะมีเหตุผลประกอบว่าเหตุใด คำดังกล่าวจึงถูกจัดเป็น Hate Speech เพื่อนให้ผู้รับสารได้ข้อมูลที่ถูกต้อง

“แรงงานผิดกฎหมายเป็น” Free Speech เนื่องจาก แรงงานผิดกฎหมายเป็นเพียงถ้อยคำที่แสดงถึงเสรีภาพในการแสดงออก ต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคล ที่ลักลอบทำงานอย่างผิดกฎหมาย ซึ่งแตกต่างจากคำว่า “ผีน้อย” ที่เป็นส่วนหนึ่งของ Hate Speech เนื่องจาก ผีน้อย เป็นถ้อยคำที่แสดงความเกลียดชังไปที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคล โดยมุ่งเป้าความเกลียดชังไปที่อัตลักษณ์ร่วมของกลุ่ม ซึ่งในที่นี้คือ อาชีพ เพื่อการแบ่งแยกทางสังคม และขจัดคนอีกกลุ่มออกไป ทั้งในเชิงรูปธรรม เช่น การคุกคามหรือใช้ความรุนแรง หรือในเชิงนามธรรม เช่น การขับไล่ไม่ให้มีที่ยืนในสังคม และการสร้างความชอบธรรมในการปฏิบัติกับกลุ่มดังกล่าวอย่างไม่เท่าเทียม

“ไดโนเสาร์เต่าล้านปี” เป็น Hate Speech เนื่องจาก ไดโนเสาร์เต่าล้านปี เป็นคำที่ใช้เปรียบเทียบกับคนที่หัวโบราณ คนที่ไม่รู้จักใช้สมอง หรือคนที่ไม่รู้จักปรับตัวจนต้องสูญพันธุ์ไป (ที่มา : นานาสาระกับ Jurassic World) ซึ่งจากประโยคดังกล่าว ได้สะท้อนหลักการของ Hate Speech เนื่อจาก เป็นถ้อยคำที่แสดงความเกลียดชังไปที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคล โดยมุ่งเป้าคความเกลียดชังไปที่อัตลักษณ์ร่วมของกลุ่ม ในที่นี้คือ ทัศนคติและความคิด เพื่อการแบ่งแยกทางสังคม และขจัดคนอีกกลุ่มออกไป รวมถึงการสร้างความชอบธรรมในการปฏิบัติกับกลุ่มดังกล่าวอย่างไม่เท่าเทียม

“ชุมชนแออัด” Free Speech เนื่องจาก ชุมชนแออัดเป็นเพียงถ้อยคำที่แสดงถึงเสรีภาพในการแสดงความเห็นต่อสภาพความเป็นอยู่ของบุคคลหรือกลุ่มบุคคล ซึ่งแตกต่างจากคำว่า “สลัม” ที่เป็นส่วนหนึ่งของ Hate Speech เนื่องจาก สลัม เป็นอัตลักษณ์ร่วมของกลุ่ม
ถ้ากล่าวในบริบทของถ้อยคำที่แสดงความเกลียดชังไปที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคล โดยมุ่งเป้าคความเกลียดชังไปที่อัตลักษณ์ร่วมของกลุ่ม เพื่อการแบ่งแยกทางสังคม และขจัดคนอีกกลุ่มออกไป ทั้งในเชิงรูปธรรม เช่น การคุกคามหรือใช้ความรุนแรง หรือในเชิงนามธรรม เช่น การขับไล่ไม่ให้มีที่ยืนในสังคม และการสร้างความชอบธรรมในการปฏิบัติกับกลุ่มดังกล่าวอย่างไม่เท่าเทียม สลัม ก็จะถูกจัดให้เป็น Hate Speech โดยสมบูรณ์ เนื่องจากครบองค์ประกอบของการ Hate Speech

“หัวกะทิ” จะถูกจัดเป็น Hate Speech ในบริบทที่ “หัวกะทิ” ถูกพูดถึงในแง่ของการเปรียบเทียบคนกลุ่มหนึ่งที่มีผลการเรียนดี ซึ่งถือเป็นอัตลักษณ์ร่วมของกลุ่ม และถูกใช้เป็นถ้อยคำที่แสดงความเกลียดชังไปที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มีอัตลักษณ์ร่วมดังกล่าว เพื่อการแบ่งแยกทางสังคม และขจัดคนอีกกลุ่มออกไป รวมถึงการสร้างความชอบธรรมในการปฏิบัติกับกลุ่มดังกล่าวอย่างไม่เท่าเทียม

เมื่อผู้รับสารได้รับความรู้จากกิจกรรมไปแล้ว จึงเสริมเนื้อหาต่อไปที่เป็นการอธิบายเกี่ยวกับปัญหา Hate Speech ทั้งการผลิตเนื้อหาผ่านรูปแบบของ Photo Story ที่ใช้รูปภาพประกอบการบรรยายเนื้อหาเน้นไปที่ความสวยงามของรูป และบทความที่เน้นเนื้อหาสาระเป็นหลัก

รวมถึงคลิปวีดีโอที่เป็นการสรุปสาระสำคัญของ Hate Speech

เนื้อหาที่ผลิตออกมาในแต่ละแพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็น กิจกรรมที่สร้างปฏิสัมพันธ์ รูปภาพ บทความ หรือคลิปวีดีโอ ล้วนแต่มุ่งเน้นที่จะลดความรุนแรงในการใช้คำบนสื่อออนไลน์โดยอาศัยความสร้างสรรค์ในการผลิตผลงาน เนื้อหาจะต้องไม่ใช่การผลิตซ้ำที่นำเสนอความรุนแรง และต้องคำนึงถึงความถูกต้องของเนื้อหาให้มากที่สุด ต้องมีแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มีประสิทธิภาพมากที่สุด เช่น กิจกรรม [Q&A] คุณรู้จัก Hate speech ดีแค่ไหน? เป็นเนื้อหาที่เป็นกิจกรรมที่สร้างปฏิสัมพันธ์ โดยอาศัยช่องทางที่นำเสนอเป็นส่วนหนึ่งของการเล่นกิจกรรมดังกล่าว ซึ่งในที่นี้คือการให้ผู้รับสารเลือกกตตอบคำถามโดยการเลือกใช้  อิโมติคอน ที่ทาง facebook มีให้ ให้ตรงกับคำที่กำหนด

นอกจากนี้ เนื้อหาที่เป็นรูปภาพ ก็จะเน้นความสวยงามและการตีความของรูปภาพให้ผู้รับสารเกิดความสนใจที่จะกดเข้าไปอ่านเนื้อหาที่เป็นส่วนบรรยาย

ในส่วนของบทความ จะเป็นการความรู้เรื่องของ Hate speech และ Free speech มุ่งเน้นให้คนรู้จักความแตกต่างระหว่าง Hate speech กับ Free speech เพื่อให้คนแยกแยะได้ และเลือกที่จะใช้ได้อย่างถูกต้อง การที่คนมีอิสระในการแสดงความคิดเห็นมักทำให้เผลอแสดงความคิดเห็นเกินขอบเขตจนกลายเป็นความคิดเห็นที่สร้างความแตกแยกและความเกลียดชัง จึงต้องการให้คนมีสติมากขึ้นก่อนที่จะแสดงความคิดเห็นในโลกออนไลน์

และเนื้อหาของคลิปวิดีโอเป็นการให้ความรู้เรื่องของการรับมือกับ Hate speech ที่ผลิตขึ้นมาเพื่อให้ความรู้แก่คนที่ยังไม่รู้จักHate speech และเมื่อรู้แล้วจะมีวิธีรับมือได้อย่างไร และเสนอแนวทางการหลีกเลี่ยง การลดละHate speech และยังมีการให้ร่วมตอบคำถามเพื่อดึงดูดให้คนดูคลิปจนจบ และได้ร่วมสนุกกัน เรื่องHate speechไม่ใช่เรื่องที่ต้องจำกัดอายุหรือเพศ มันสามารถเกิดได้กับทุกคน

ในส่วนของผลที่ได้จากการผลิตสื่อ ในมุมของผู้ผลิตสื่อถือว่าประสบความสําเร็จในแง่ของการผลิตเนื้อหาและการทำงาน แม้จะมีข้อจำกัดในการทำงาน และปัญหาต่าง ๆ เช่น การถ่ายทำหรือการติดต่อกับนักวิชาการ แต่สุดท้ายแล้ว ก็สามารถผลิตสื่อออกมาได้ และได้รับความสนใจเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะเนื้อหาต่าง ๆ ทางผู้ผลิตได้เพิ่มแรงจูงใจในการมีส่วนร่วมกับเนื้อหา ซึ่งเป็นของรางวัลแก่ผู้โชคดี แต่ในส่วนของการผลิตเนื้อหา ผู้ผลิตสื่อเองก็ต้องทำการค้นคว้าข้อมูลเพื่อที่จะหามาใส่ในผลงานนั้น ทำให้ผู้ผลิตสื่อนั้นมีความเข้าใจด้านนี้มากยิ่งขึ้น เพื่อที่จะผลิตผลงานให้ออกมาอย่างมีคุณภาพและถูกต้องมากที่สุด อีกทั้งยังได้เห็นความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบัน ทำให้ตระหนักถึงปัญหามากขึ้น และมีความตั้งใจที่อยากเป็นส่วนหนึ่งในการลดคำรุนแรงในสื่อออนไลน์ และในส่วนของเนื้อหาที่ผลิตออกไปนั้นก็ได้รับผลตอบรับที่ค่อนข้างน่าพอใจ เพราะด้วยความที่เนื้อหาเข้าถึงคนได้ง่าย จึงทำให้คนเข้าใจและตระหนักถึงปัญหานี้ในบางส่วน และจากผลตอบรับก็จะทำให้ผู้ผลิตมีกำลังใจที่จะพัฒนาการผลิตสื่อให้ดียิ่งขึ้นในโอกาสต่อไป

Share This:

Comments are closed.