breaking news

โซเชียลเชื่อมคนขายกับชุมชน เปลี่ยนขยะวัชพืชเป็นเงิน

กรกฎาคม 2nd, 2018 | by administrator
โซเชียลเชื่อมคนขายกับชุมชน เปลี่ยนขยะวัชพืชเป็นเงิน
อาชีพ | Dream Career
0

ปัจจุบัน ชุมชนได้หันมาสร้างรายได้ โดยมองหาวัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาทำให้เกิดประโยชน์ หนึ่งในนั้นก็คือ ชุมชนปากเกร็ดที่นำผักตบขวามาแปรรูปเป็น เครื่องจักรสาน สร้างรายได้ให้กับชุมชน และลดปริมาณผักตบได้อีกด้วย

ในยุคที่การสื่อสารมีความฉับไวและต้องการความสะดวกสบาย กลายเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตของมนุษย์เป็นอย่างมาก การจับจ่ายใช้สอยสิ่งของต่างๆ จึงมีการเพิ่มความสะดวกสบายให้แก่ผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น ทำให้มีการค้าขายผุดขึ้นมามากมายตามช่องทางต่างๆ ที่จะสามารถส่งตรงหรือนำเสนอสินค้าให้แก่ผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็วและมีความชัดเจน หนึ่งในอาชีพที่พ่อค้าแม่ค้าส่วนใหญ่เลือกก็คงหนีไม่พ้นอาชีพขายของออนไลน์ อาชีพที่มีความสะดวกสบายให้แก่ลูกค้ารวมถึงตัวพ่อค้า

คุณภัทศิรินทร์ กลิ่นจันทร์ หรือคุณแพร เจ้าของร้าน Sway กระเป๋าผักตบชวา กล่าวว่า เมื่อพูดถึงผักตบชวาก็เป็นที่รู้จักกันดีอยู่แล้วว่าเป็นขยะวัชพืชที่ต้องกำจัดทิ้งแต่คุณแพรสามารถนำขยะวัชพืชที่เป็นปัญหากวนใจชาวบ้านเหล่านั้นมาแปลงเป็นเงินได้

คุณแพรได้บอกถึงแนวทางการประกอบอาชีพในยุคที่มีโซเชียลเป็นสื่อกลางในการทำธุรกิจว่าตนนั้นมีวิธีการปรับตัวอย่างไรในยุคที่ต้องมีการแข่งขันสูงเช่นนี้ต้องมีการพัฒนาศักยภาพหรือเพิ่มมูลค่าอะไรให้กับสินค้าเพื่อดึงดูดกลุ่มลูกค้าที่ใช้โซเชียลเป็นหลัก คุณแพรยังได้ให้สัมภาษณ์กับทางทีมงานอีกว่า หากพูดถึงการพัฒนาสินค้า ถ้าเราคิดถึงกระเป๋าผักตบชวามันก็จะมีรูปทรงแค่ไม่กี่แบบ ที่ตามท้องตลาดเขาทำขายกันอยู่ทุกเจ้าและเขาจะทำเหมือนๆ กัน

ในขณะที่ของแพรนั้น จะเอามาผสมผสานกับวัสดุอื่นๆ ที่มีอยู่ของชาวบ้านภูมิปัญญาอย่างผ้าทอมือผ้าฝ้าย เอามาประยุกต์ใช้กับกระเป๋าดีไซน์ให้สามารถใช้งานได้ในชีวิตประจำวัน และเหมาะกับกลุ่มลูกค้าของเรา ไม่ได้มีการทำรูปทรงเดิมที่เคยมีการทำกันมา พอคนเห็นก็รู้แล้วว่าเรามีความต่าง เพราะปกติแล้วกระเป๋าผักตบเขาก็ใช้งานกันทั่วไป ไปตลาดไปทะเลทั่วๆไป แต่พี่อยากให้มันเป็นกระเป๋าที่ใช้งานได้ในชีวิตประจำวันจริงๆ เลยต้องปรับดีไซน์ออกมาให้มันมีรูปทรงหลากหลายมากกว่าเดิมๆบางทีด้วยข้อจำกัดของกระเป๋าที่ทำจากผักตบทำ ทรงได้ไม่มากแต่พอเอามาผสมกับผ้ามันก็จะเอามาเป็นกระเป๋าได้หลายทรงมากขึ้น ยังคงให้ผักตบชวาเป็นพระเอกอยู่เหมือนเดิม อันนี้เป็นจุดแรกที่ลูกค้าสนใจสินค้าของเราและก็ในเรื่องที่สองถ้าพี่ออกบูทพูดคุยกับลูกค้า

สำหรับที่มาที่ไป คือ เป็นสินค้าที่ทำร่วมกับชุมชน ถ้าคนเห็นคนจับก็อาจจะยังไม่ซื้อพอเราได้เล่าว่าเราเป็นสินค้าที่ทำร่วมกับชุมชนมีการออกแบบสินค้าและร่วมกันทำพัฒนากับกลุ่มแม่บ้านที่สุพรรณนะทำด้วยกันบางคนพอเข้าได้ฟังเรื่องเราก็อยากซื้อและสนใจสินค้าของเรามากขึ้นหรือแม้แต่ในตัวเพจพี่ไม่ได้ลง แค่รูปสินค้าอย่างเดียวเราก็จะพยามเล่าให้ฟังนะว่าเราทำอะไรอยู่ อย่างพี่ได้ผ้าทอมือใหม่มา พี่ก็จะลงในเพจแล้วว่าอดใจรอดูนะคะว่าจะออกมาเป็นสินค้าผสมผสานกับกระเป๋าเราอย่างไร เราเล่าวิธีการว่าจริงๆแล้วกระเป๋าผักตบชวามันใช้ได้ทันนะ มีวิธีการดูแลรักษาอย่างไร เป็น 10 ปีเลย เราก็จะพยายามสื่อสารกับลูกค้าที่เข้ามาดูในโซเชียลของเราว่าความเป็นมามันเป็นยังไง เราเป็นใคร หลักๆจะเป็นสองส่วนนี้

ส่วนการปรับตัวเกี่ยวกับการขายสินค้า ด้วยความที่แพรขายของผ่านออนไลน์เป็นหลัก จึงจำเป็นต้องใช้โซเชียลเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น Facebook Instagram หรือ Website แพรจะใช้เป็นการสำรวจร้านของตัวเองว่าช่องทางไหนที่ถูกเข้าถึงมากที่สุด ซึ่งพบว่า Instagram ถูกเข้าถึงมากที่สุด เลยเลือกใช้วิธีการโปรโมท ทาง Instagram การทำคอนเทนท์ให้เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะลูกค้าแต่ละประเภทก็จะมีความแตกต่างกัน พฤติกรรมการใช้งานก็ไม่เหมือนกัน ใน Facebook ลูกค้าก็แบบหนึ่ง ในInstagram ก็อีกแบบหนึ่ง แต่ในตัวของ Facebook บทบาทหน้าที่จะไม่ใช่หน้าที่ในการขายแต่มีบทบาทในการสื่อสารกับลูกค้าให้เหมือนเป็นหน้าบ้านของเราว่ามีตัวตนอยู่จริงๆ ในขณะที่ Instagram ทำงานเหมือน Showroom ที่ทำให้คนเห็นสินค้าของเราได้มากกว่า Facebook แต่สุดท้ายยอดขายมักมาจบที่ Line ลูกค้ามักจะ Add Line จาก Instagram เนื่องจากการซื้อขายหรือพูดคุย

Share This:

Comments are closed.