breaking news

ผู้ประกอบการเครื่องปั้นดินเผาเน้นคุณค่าศิลปะเหนือราคา

มกราคม 8th, 2015 | by administrator
ผู้ประกอบการเครื่องปั้นดินเผาเน้นคุณค่าศิลปะเหนือราคา
Master & Apprentice
0

ปัจจุบันคนเรานั้นให้ความสำคัญกับมูลค่าเครื่องปั้นดินเผาและการตลาดมากกว่าการที่จะอนุรักษ์ความดั้งเดิมของมรดกวัฒนธรรมไทย ซึ่งทำให้สังคมไทยเราน่าเป็นห่วงเป็นอย่างมากที่ต่อไปจะไม่ได้เห็นความประณีตของงานเครื่องปั้นดินเผาและทำให้รุ่นลูกรุ่นหลานได้รับความเชื่อแบบผิดๆว่าสิ่งที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ถูกต้อง

“วันไหนขายได้วันนั้นคือกำไร วันไหนขายไม่ได้ทำเราขาดทุน” นี่เป็นคำพูดนักปั้นเครื่องปั้นดินเผามากประสบการณ์ที่ผ่านการทำงานมากว่า 17 ปี ที่มีความคิดทัศนคติที่อยากจะอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของเครื่องปั้นดินเผาที่มีมาตั้งแต่บรรพบุรุษ

จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันคนเรานั้นให้ความสำคัญกับมูลค่าของเครื่องปั้นดินเผาและการตลาดมากกว่าการที่จะอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมที่มีความประณีตงดงามให้สืบทอดสู่รุ่นต่อไป จนทำให้อาชีพเหล่านั้นเริ่มค่อยๆหายไปจากสังคม

คุณธวัชชัย เชื้อเต็ง นักปั้นมากประสบการณ์วัย 52 ปี ปัจจุบันเป็นช่างปั้นเครื่องปั้นดินเผาที่เกาะเกร็ด จ.นนทบุรี ได้กล่าวไว้ว่า “พอตอนหลังพวกร้านค้าเข้ามามากแล้วมาแย่งคนทำงานที่นี้คนทำงานก็ทำกันแบบโละๆ ขายให้กับร้านค้า ยิ่งตอนนั้นมีนักท่องเที่ยวเข้ามาสนใจเยอะ แล้วที่นี้ของมันขายดี ไม่ประณีตแกะยังไงก็ขายได้”

jabb2

นอกจากนี้ยังย้ำถึงความเสื่อมของศิลปะเครื่องปั้นดินเผาว่าเป็นเพราะ กลุ่มนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศเข้ามามีอิทธิพลต่อคนที่ทำอาชีพปั้นเครื่องปั้นดินเผา ซึ่งกลุ่มนักท่องเที่ยวมีความสนใจและให้ราคาค่อนข้างสูง จึงทำให้เกิดการแข่งขันกันของเหล่าบรรดาช่างปั้นและร้านที่ขายงานเครื่องปั้นดินเผาบวกกับความเร่งรีบในการทำงานให้ทันตามออร์เดอร์จนลืมความพิถีพิถันของการปั้นดินและการแกะสลักลวดลายดั้งเดิมที่เคยมีมา

สังคมและวัฒนธรรมไม่ได้หยุดนิ่ง แต่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาและเกี่ยวพันกับปัจจัยภายในและภายนอกที่เข้ามากระทบ ดังนั้น วัฒนธรรมอาจเหมาะสมกับแค่ยุคสมัยหนึ่ง แต่อาจไม่สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตของคนในอีกยุคหนึ่งก็ได้ แต่ก็ไม่ได้หมายถึงการละทิ้งวัฒนธรรมเดิมอย่างสิ้นเชิงเพราะรากเหง้าของวัฒนธรรมของไทย ที่บรรพบุรุษของเราได้สั่งสมมาให้สอดคล้องกับสังคมไทยมาช้านาน การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอาจเป็นผลมาจากลักษณะบางอย่างไม่ตอบสนองความต้องการของสมาชิกในยุคนั้น จึงได้ทำให้นำวัฒนธรรมบางอย่างจากต่างชาติมาใช้ทดแทนบ้าง แต่เราก็มีความจำเป็นที่จะต้องมีการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยเอาไว้ เพราะหากไม่อนุรักษ์ไว้ความดั้งเดิมที่มีมาอย่างยาวนานตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษก็จะค่อยๆจางหายไป

คุณธวัชชัย กล่าวอีกว่า จุดประกายความคิดที่อยากจะสอนเด็กในเรื่องของการปั้นและการแกะสลักเครื่องปั้นดินเผาแต่ละขั้นตอนอย่างประณีตนั้น เพราะเกิดจากที่อยากจะทำให้ศิลปวัฒนธรรมในการปั้นยังคงความดั้งเดิมไว้  ซึ่งสาเหตุที่เลือกสอนเด็กๆเป็นเพราะว่าการเข้าถึงทางด้านสถานศึกษามันง่ายกว่าสิ่งอื่นรวมทั้งเป็นการปลูกจิตสำนึกให้กับเด็กที่จะโตในอนาคตให้มีความคิดที่อยากจะอนุรักษ์ของไทยสืบต่อไปจริงๆ โดยการสอนในแต่ละครั้งไม่ได้คำนำถึงค่าใช้จ่ายใดๆ เรียกได้ว่าให้เท่าไหร่ก็รับไว้ถ้าไม่ให้ก็ไม่เป็นไร รวมไปถึงการปั้นเครื่องปั้นดินเผาขายของตัวเองด้วย

“คือที่นี่เราไม่ได้คิดถึงเรื่องต้นทุนกำไร คือนี่เป็นงานของเราทำแล้วมันขายได้ไม่ได้ไม่เป็นไหร่ แต่นี้มันคืองานของเราของที่มีอยู่มันคือคุณหมดเลย คือเราคิดแบบง่ายๆ วันนี้เราทำงานได้สามสี่ชิ้นอันนี้ถือว่าเราได้ทุน แล้ววันไหนขายได้คือกำไรแค่นั้นเอง” คุณธวัชชัย กล่าว

สังคมไทยเราน่าเป็นห่วง เพราะ มีแต่พวกเห็นแก่ตัวไม่เห็นคุณค่าความสำคัญกับสิ่งที่มีอยู่ที่ชาติใดก็อาจมีไม่เหมือนชาติเรา แทนที่จะเก็บสิ่งที่มีค่ามีความเก่าแก่ไว้ให้รุ่นลูก รุ่นหลานได้ดู แต่กลับต้องให้ลูกหลานได้มาดูสิ่งที่ไม่เหลือแม้แต่ความดั้งเดิมและยังมีความเชื่อแบบผิดๆ ที่จะบอกรุ่นต่อๆไปอีก ซึ่งมันเป็นเรื่องที่คิดแล้วน่าเศร้าใจเป็นอย่างมาก

คนไทยเรามีของดีติดตัวแต่มองไม่เห็นไม่อนุรักษ์ไว้ แล้ว…ความเป็นไทยจะมีดีได้อย่างไร

 

นนทิยา  ตาน้อย

Share This:

Comments are closed.