breaking news

ILO เผยนโยบายสนับสนุนการศึกษาแก่เด็กข้ามชาติในไทยยังพบปัญหา

กรกฎาคม 6th, 2015 | by administrator
ILO เผยนโยบายสนับสนุนการศึกษาแก่เด็กข้ามชาติในไทยยังพบปัญหา
Education Insider
0

     องค์การแรงงานระหว่างประเทศหรือ (ILO)แก้ไขปัญหาการใช้แรงงานเด็กข้ามชาติด้วยวิธีการสนับสนุนด้านการศึกษาโดยได้รับความร่วมมือจากทางภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งนี้ยังพบปัญหาที่ส่งผลให้การดำเนินงานยังคงมีอุปสรรคเนื่องรัฐบาลไทยยังไม่ยอมรับศูนย์การเรียนรู้อย่างเป็นทางการ

องค์การแรงงานระหว่างประเทศ เผยว่าแรงงานเด็กในระดับโลกลดลง 1ใน 3 นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2543 จากจำนวนกว่า 246 ล้านคน เหลือเพียง 168 ล้านคนโดยประมาณ ซึ่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยังคงมีจำนวนแรงงานเด็กมากที่สุด คือ เกือบ78 ล้านคน หรือ 9.3 %ของประชากรเด็กทั้งหมด ภาคเกษตรกรรมเป็นภาคการทำงานที่มีแรงงานเด็กมากที่สุดคือ 98 ล้านคน รองลงมาคือภาคบริการ 54 ล้านคน และภาคอุตสาหกรรม 12 ล้านคนโดยส่วนมากเป็นแรงงานนอกระบบ
     สำนักบริหารการทะเบียนกรมการปกครอง เปิดเผยถึงยอดจำนวนการลงทะเบียนแรงงานต่างด้าว เพื่อแสดงถึงสถานการณ์เด็กข้ามชาติในประเทศไทย ในช่วงวันที่ 26 มิถุนายน-31ตุลาคม2557 พบว่ามีเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี จดทะเบียนเป็นผู้ติดตาม จำนวน 92,560 คน สาเหตุที่เด็กต่างชาติเข้ามาในประเทศไทย คือการติดตามครอบครัวที่เข้ามาทำงาน เด็กบางส่วนเกิดในประเทศไทยหลังจากที่มีการย้ายถิ่นฐานมายังประเทศไทย ปัจจุบันมีตัวเลขประมาณการของเด็กข้ามชาติประมาณ 200,000-400,000 คน
สถานศึกษาไทยมีเด็กข้ามชาติเฉลี่ย ร้อยละ 67 เรียนอยู่ในระดับประถมศึกษา มีเด็กข้ามชาติในประเทศไทยเพียงร้อยละ 3 และร้อยละ 1 ที่เรียนอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย ตามลำดับในขณะที่ร้อยละ 30 เรียนอยู่ในระดับอนุบาล
     ศูนย์การเรียนรู้ภาคเอกชน ปัจจุบันมีทั้งหมด 95 ศูนย์ภายในประเทศไทยโดยในจังหวัดตากมีมากถึง 65 ศูนย์ จำนวนนักเรียนโดยประมาณ 11,701,061 คนในส่วนของเด็กข้ามชาติจำนวนร้อยละ 5 ที่เข้าเรียนในศูนย์การเรียนรู้พบว่าการศึกษาของศูนย์การเรียนรู้ต่างๆยังไม่สอดคล้องอีกทั้งรัฐบาลไทยและรัฐบาลเมียนมาร์ยังไม่ยอมรับศูนย์การเรียนรู้อย่างเป็นทางการ

Screen Shot 2558-07-06 at 1.17.30 PM
     นายพร้อมบุญ พานิชภักดิ์ เลขาธิการ มูลนิธิรักษ์ไทย กล่าวว่า จากนโยบายการเปิดสถานศึกษาให้แก่เด็กข้ามชาติในประเทศไทยที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นว่า แนวคิดนโยบายนี้เป็นแนวทางทางปฎิบัติที่ยังคงเป็นปัญหาอยู่บ้างทั้งในส่วนของทางสถานศึกษาในรูปแบบการสอน การปฎิบัติที่ยังไม่ชัดเจน กฎระเบียบต่างๆรวมถึงปัญหาด้านทัศนคติของผู้ปกครองเด็กที่ยังคงอยากให้เด็กนั้นได้ศึกษาภายในประเทศของตนเอง ซึ่งปัญหาเหล่านี้ยังคงต้องได้รับการแก้ไขโดยความร่วมมือจากหลายหน่วยงานด้วยกัน
     นางสาวกนกวรรณ โมรัษเฐียร หัวหน้ากลุ่มงานคุ้มครองเด็กมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก กล่าวต่อว่า การให้การศึกษาของเด็กในประเทศไทยสำหรับเด็กข้ามชาติหรือเด็กที่เป็นคนไทยโดยกำเนิด รูปแบบการศึกษามีความเหมาะสมแก่ความต้องการของครอบครัวและตัวเด็กเอง ทั้งด้านการเรียนในระบบหรือการเรียนตามอัธยาศัย การศึกษาเคลื่อนที่ในชุมชน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีในเรื่องของการเรียนภาษา สอนทักษะการใช้ชีวิตหรือความรู้พื้นฐานให้แก่เด็กๆก่อนที่จะเข้ารับการศึกษาในชั้นปีการศึกษาต่อไป

กรชนก ศรีสุข

 

Share This:

Comments are closed.