breaking news

พระอัจฉริยภาพด้านภาษาที่เห็นได้จากมหกรรมหนังสือ “ความท๙งจำ”

ตุลาคม 31st, 2017 | by administrator
พระอัจฉริยภาพด้านภาษาที่เห็นได้จากมหกรรมหนังสือ “ความท๙งจำ”
Art & Entertainment
0

 

[aesop_image img=”http://theprototype.pim.ac.th/wp/wp-content/uploads/2017/10/IMG_5217-1-1.jpg” align=”center” lightbox=”on” captionposition=”left” revealfx=”off” overlay_revealfx=”off”]

งานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 22 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 18 ถึง 29 ตุลาคม 2560 ภายใต้แนวคิดและถ่ายทอดออกมาในนิทรรศการที่มีชื่อว่า “ความท๙งจำ” เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณต่อวงการหนังสือของไทย พระปรีชาสามารถ และพระอัจฉริยภาพทางด้านภาษาและหนังสือ

นิทรรศการหลักของงานมหกรรมมีการจัดแสดง “นิทรรศการความท๙งจำ” รวบรวมเรื่องราวตลอด 7 ทศวรรษของการครองราชย์ ความทรงจำที่เกี่ยวข้องกับพระองค์ และหนังสือยอดเยี่ยมในแต่ละทศวรรษนั้นๆ

หนึ่งในความทรงจำของใครหลายๆ คน นั่นคือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระปรีชาสามารถด้านการภาษาและงานเขียนเป็นอย่างมาก

[aesop_image img=”http://theprototype.pim.ac.th/wp/wp-content/uploads/2017/10/IMG_5212.jpg” align=”center” lightbox=”on” captionposition=”left” revealfx=”off” overlay_revealfx=”off”]

 

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.กุสุมา รักษมณี แบ่งประเภทของพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เป็น 3 ประเภท คือ

1. พระราชนิพนธ์ที่ทรงบันทึกจากเหตุการณ์หรือประสบการณ์ของพระองค์เช่น “บันทึกการเดินทางไปศึกษาต่อที่สวิสเซอร์แลนด์” หรือ “เรื่องทองแดง” บึนทึกเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาลักษณะนิสัยของสุนัขทรงเลี้ยง

2. เรื่องที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจการเมืองสังคมปละประวัติศาสตร์ของทั่วโลกหลายเรื่องที่พระองค์ทรงแปลจากภาษาต่างประเทศเช่น “เรื่องเล็กดีรสโต” โดยมาจากตอนหนึ่งของหลักเศรษฐศาสตร์ตามนัยของพระพุทธศาสนาหรือประวัติวีรบุรุษเช่น “เรื่องนายอินผู้ปิดทองหลังพระ” ที่เป็นหัวหน้าหน่วยสืบราชการลับอังกฤษสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งมีการสอนแบบอย่างลักษณะของคนที่จะทำงานได้สำเร็จ

3. นิทานสอนธรรมะคือพระราชนิพนธ์เรื่อง “พระมหาชนก” ทรงนิพนธ์จากมหาชนกชาดกดัดแปลงเป็นเรื่องที่ทันสมัยเหมาะกับการอ่านในปัจจุบันซึ่งมีการสอดแสรกเนื้อหาที่เป็นคติสอนใจต่างๆตลอดทั้งเรื่องนอกจากนี้ยังทรงแปลเป็นภาษาอังกฤษด้วยเพื่อให้ช่าวต่างประเทศที่สนใจสามารถอ่านได้ที่น่าสนใจคือพระองค์ทรงใช้ความรู้ทางด้านแผนที่ที่มีการพยากรณ์ทางอุตุนิยมวิทยาและโหราศาสตร์ในการอธิบายการเดินทางของพระมหาชนก

พระราชนพนธ์ทั้ง 3 ประเภท สะท้อนถึงพระปรีชาสามารถทางด้านภาษา ซึ่งไม่ใช่แค่ภาษาไทยเท่านั้น แต่รวมถึงภาษาต่างประเทศด้วย พระองค์ทรงรู้ภาษาต่างประเทศหลายภาษา ทั้งอังกฤษ เยอรมัน ฝรั่งเศส ละติน และภาษาสันสกฤตด้วย นอกจากนี้จะสังเกตได้ว่าพระราชนิพนธ์ภาษาไทย จะมีการเล่นคำ ใช้ภาษาได้สวยงาม มีพระราชอารมณ์ขันสอดแทรก และเป็นภาษาที่เข้าใจง่าย

นอกจากนี้ สิ่งที่สามารถสะท้อนพระอัจฉริยภาพด้านภาษาได้เป็นอย่างดีอีกสิ่งหนึ่งนั่นก็คือสคสพระราชทาน ซึ่งสคสพระราชทานที่เริ่มใช้คอมพิวเตอร์เมื่อปี 2531 โดยงานงานจุฬาวิชาการเมื่อปี 2530 พระองค์ทรงใช้คอมพิวเตอร์ได้อย่างคล่องแคล่ว ทั้งที่หลายๆ คนในขณะนั้นยังใช้ไม่เป็น อีกทั้งยังทรงประดิษฐ์แบบอักษร หรือฟ้อนต์ สำหรับใช้เองด้วย ชื่อว่าฟ้อนต์จิตรลดา และฟ้อนต์ภูพิงค์

งานพระราชนิพนธ์บนสคส เป็นงานสั้นๆ พระองค์ทรงใช้รูปแบบการประพันธ์ทั้งร้อยแก้ว และร้อยกรอง  และออกมาปีละฉบับ รวมทั้งหมดแล้ว 31 ฉบับ ซึ่งถึงแม่จะเป็นงานขนาดเล็กแต่ก็แฝงไปด้วยคติสอนใจ ไม่ต่างไปจากพระราชนิพนธ์เล่มใหญ่ๆ ที่สำคัญสคสของพระองค์มีการออกแบบ การปรุงเพื่อให้มีความสวยงาม กลมกล่อม

ข้อคิดหลักๆ ที่มักจะอยู่ในสคสพระราชทานคือ 1.ให้คิดดีทำดีในทุกๆ วัน 2.ความสุขเกิดจากการปรารถนาดีต่อกัน 3.ความเพียรพยายาม อดทนไม่เกียจคร้าน 4.ปัญหาทุกอย่างแก้ไขได้ ต้องคิดใต่ตรองก่อนเสมอ 5.การพูดดีทำให้ประสบความสำเร็จ

ในด้านของความเป็นวรรณศิลป์ สคสพระราชทานมีการล่นคำ ทั้งเป็นคำเดียวหรือหลายคำ ซึ่งทำให้เกิดจังหวะ หรือการใช้คำซ้ำๆ กัน เพื่อเน้นความสำคัญของคำนั้น รวมไปถึงการใช้รูปหรือสัญลักษณ์ประกอบข้อความ เพื่อใช้ในการสื่อความหมายได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้นด้วย

Share This:

Comments are closed.