breaking news

“ความรุนแรงในครอบครัว” ปัญหาที่ไม่ควรเพิกเฉย

พฤศจิกายน 27th, 2015 | by administrator
“ความรุนแรงในครอบครัว” ปัญหาที่ไม่ควรเพิกเฉย
Special Report
0

          122          สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายเผยสาเหตุการเพิกเฉยต่อความรุนแรงในครอบครัว ชี้เจ้าหน้าที่ตำรวจบางส่วนปฏิเสธไม่รู้กฎหมาย มูลนิธิรับทำได้เพียงรับเรื่อง-พาตัวส่งตัวให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง ก่อนเข้าแจ้งความเพื่อดำเนินคดี

ข่าวความรุนแรงในครอบครัวพบเห็นได้บ่อยในหน้าหนังสือพิมพ์และตามสื่อต่างๆ ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวสะท้อนคุณภาพชีวิตของประชาชนในประเทศไทยทั้งยังสร้างผลกระทบระยะยาวตามมา ไม่ว่าจะเป็นภาวะทางจิตใจของเหยื่อความรุนแรง ก่อให้การซึมซับความรุนแรงและอาจนำไปสู่พฤติกรรมเลียนแบบ
สถิติการรับเรื่องร้องทุกข์

จากบทสัมภาษณ์ เจ้าหน้าที่ของมูลนิธิปวีณา พบว่าข้อมูลสถิติการใช้ความรุนแรงที่เกี่ยวของกับครอบครัวมีจำนวนเพิ่มขึ้น ระหว่างปี255ุ6-2558 จากเดิมปี 2556 ทางมูลนิธิได้รับเรื่องราวร้องทุกข์ทั้งหมด 298 ราย แต่ปี 2558 จำนวนการรับเรื่องร้องทุกข์กลับพุ่งสูงเป็น 614 ราย นับจากเดือนมกราคม-กันยายน

จากสถิติเพิ่มขึ้นเกิดจากจำนวนคนที่กล้าจะออกมาแสดงการไม่เพิกเฉยต่อความรุนแรงที่ตนพบเจอมากกว่าสถิติการใช้ความรุนแรงที่เพิ่มมากขึ่น

ซึ่งกระบวนการให้ความช่วยเหลือเรื่องความรุนแรงในครอบครัว เริ่มจากเมื่อได้รับแจ้งจะต้องมีการตรวจสอบที่มาก่อนทุกครั้ง เมื่อยืนยันได้แล้วว่ามีการใช้ความรุนแรงจริงทางมูลนิธิจะดำเนินการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ 1.เจ้าหน้าที่ตำรวจ 2.เจ้าหน้าที่นักสังคมสงเคราะห์ ของกระทรวงการพัฒนาสังคม

capture-20151127-211458

สำหรับการลงพื้นที่ช่วยเหลือด้านทางมูลนิธิจะต้องดำเนินการพร้อมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ในกรณีที่เด็กถูกทำร้ายร่างกายจากบุคคลภายในครอบครัว ทางมูลนิธิต้องประสานงานกับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ของกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ เนื่องจากในบางครั้งเด็กที่ถูกกระทำยังไม่บรรลุนิติภาวะ จึงมีการประสานงานเพื่อให้การช่วยเหลือไม่ขัดต่อข้อกฎหมาย ก่อนจะพาตัวเด็กไปยัง สน.เพื่อการแจ้งความและตรวจร่างกาย เมื่อมูลนิธิทำการประสานงานกับทางเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบที่เกี่ยวข้องกับคดี อาทิบ้านพักเด็กและครอบครัว ที่สามารถให้ที่พักแก่เหยื่อความรุนแรงได้จนกว่าจะสิ้นสุดกระบวนการตรวจสอบ หรือจนกว่ากระทรวงพัฒนาสังคมฯ จะตัดสินว่าสามารถกลับไปอยู่กับครอบครัวได้หรือไม่ หากพบว่าไม่สามารถส่งกลับไปอยู่กับครอบครัวได้อีกครั้ง ทางบ้านพักจะรับหน้าที่ดูแลและเยียวยา

ผู้ที่มาแจ้งเรื่องส่วนใหญ่จะเป็นคนที่รู้จักกับครอบครัวผู้ถูกกระทำ อาจเป็นเพื่อนบ้านหรือญาติ ที่ไม่สามารถเข้าไปช่วยเหลือได้โดยตรง ทางมูลนิธิจึงเป็นตัวกลางประสานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยตรงเพื่อเข้าช่วยเหลือ รวมถึงต้องปกปิดข้อมูลผู้แจ้งเรื่องร้องทุกข์ เพราะผู้แจ้งไม่ต้องการเป็นปรปักกับเพื่อนบ้านหรือญาติพี่น้องกันเอง

คุณอารีวรรณ จตุทอง

ด้าน คุณอารีวรรณ จตุทอง นักวิชาการปฏิรูปกฎหมายชำนาญการพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย กล่าวถึง สาเหตุการเพิกเฉยต่อความรุนแรงในครอบครัวว่าส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของทัศนคติที่ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมสังคมรอบตัว

วงจรการใช้ความรุนแรงในครอบครัวมีเป็น “วัฏจักร” กล่าวคือ เมื่อมีการใช้ความรุนแรงแล้วหนึ่งครั้งจะมีครั้งที่สองและสามตามมา “สาเหตุของการใช้ความรุนแรงเกิดคงคล้ายกับเห็นขยะอยู่ข้างหน้าแล้วเขี่ยไปไว้ใต้พรม โดยไม่คิดที่จะกวาดขยะกองนั้นไปทิ้งในถัง” ดังนั้นมันก็ทำให้เกิดการใช้ความรุนแรงอย่างเป็นไซร์เคิ้ล หากมองว่าการใช้ความรุนแรงเป็น “เรื่องของชาวบ้าน” หรือ “เดี๋ยวเค้าก็กลับมาดีกัน” ความคิดเช่นนี้อาจนำไปสู่สิ่งที่เรียกว่า “เพิกเฉยต่อปัญหาหรือความรุนแรง” ซึ่งจะส่งผลให้เกิดปัญหาความรุนแรงไม่รู้จบ ข้อมูลในเชิงสถิติของการแพทย์บอกว่า ความรุนแรงครั้งแรกเริ่มจากการกระทำเบาๆ ก่อนที่จะหนักมือเรื่อยๆ ซึ่งจะเพิ่มขึ้นไปเป็นลำดับความรุนแรงจากน้อยไปจนถึงขีดสุด คือถึงขั้นทำให้อีกฝ่ายเสียชีวิต

คุณอารีวรรณ ยังกล่าวต่ออีกว่า ภาคประชาสังคมหรือว่าภาคประชาชนในชุมชนหลายพื้นที่เจอปัญหาความรุนแรงในครอบครัว เมื่อจะเข้าทำการแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ แต่กลับถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิเสธเพราะไม่รู้จักกฎหมาย พรบ.คุ้มครองผู้ถูกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว ทั้งที่กฎหมายออกมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 นี่จึงเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่พบแน่นอนจากการรับฟังประชาชนผู้มีส่วนรู้เห็น ทำให้ประชาชนรู้สึกหวั่นเวลาต้องเข้าแจ้งความเมื่อพบปัญหาความรุนแรงแล้วถูกปฏิเสธ ซึ่งหัวใจของการที่จะมีกฎหมายฉบับนี้ เป็นกลไกเครื่องมือซึ่งนำมาแก้ไขปัญหาสังคมให้มีคุณภาพกว่าที่ควร

ทั้งนี้ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวยังคงมีช่องว่างด้วยกัน 2 ส่วนคือส่วนของพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ทราบรายละเอียดของข้อกฎหมายให้ดีพอ และส่วนของประชาชนที่ยังลังเลในการเข้าช่วยเหลือผู้ตกเป็นเหยื่อความรุนแรง หากเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงในครอบครัว แนะนำว่าควรช่วยเท่าที่สามารถช่วยได้ หรือโทรแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจให้เข้าไปไกล่เกลี่ยเพื่อระงับเหตุ หรือถ่ายภาพเพื่อเป็นหลักฐานให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินคดีช่วยเหลือตามกฎหมาย

ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวไม่ใช่เรื่องส่วนตัวและไม่ควรเพิกเฉย หากทุกฝ่ายไม่ว่าองค์กรช่วยเหลือทั้งรัฐบาลและเอกชน ข้อกฎหมายที่แข็งแรง หรือตัวของประชาชนช่วยกันสอดส่องดูแลซึ่งกันและกัน จะสามารถช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของสังคมไทยให้ดีขึ้นได้

กรชนก ศรีสุข, ณัฐนิช เผ่าดี, อรสา อ่ำบัว

[aesop_video align=”left” src=”youtube” loop=”on” autoplay=”on” controls=”on” viewstart=”on” viewend=”on”]

Share This:

Comments are closed.