breaking news

เข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภค สร้างสินค้าบริการที่ตรงใจ หัวใจการทำธุรกิจยุคดิจิทัล

เมษายน 2nd, 2015 | by administrator
เข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภค สร้างสินค้าบริการที่ตรงใจ หัวใจการทำธุรกิจยุคดิจิทัล
GURU
0

      Digital Economy เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนเรามากขึ้นทุกที ยิ่งในด้านเศรษฐกิจที่มีการพัฒนาทางด้านไอทีมากขึ้น ทำให้ประตูของสังคมนั้นเปิดกว้างสำหรับบุคคลที่ตั้งใจจะเริ่มลงทุนทำธุรกิจ เพียงแต่ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจในการที่จะเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่จะมีอยู่ตลอดเวลา
          Digital Economy คือ การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตของประเทศ ซึ่งดิจิทัลเข้ามามีบทบาทสำคัญในระบบเศรษฐกิจ โดยอำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมต่างๆ เช่น การโอนเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ การซื้อขายบนโลกออนไลน์ เพราะความสะดวกสบายเหล่านี้ ส่งผลให้วิถีชีวิตของมนุษย์เปลียนไป มีความรวดเร็วในการทำงาน การสื่อสาร และการดำรงชีวิต รวมถึงสามารถทำงานได้ถึงแม้ว่าจะอยู่ที่บ้านก็ตาม

.

นายพรวิทย์ พัชรินทร์ตนะกุล รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์  กล่าวว่า เมื่อเข้าสู่ยุคดิจิทัล ทุกคนต้องมีการปรับตัว โดยเฉพาะบุคคลที่ต้องการจะดำเนินธุรกิจ จะต้องมีความไวต่อการสังเกตตลาดเศรษฐกิจในยุคปัจจุบัน เนื่องจากการทำธุรกรรมต่างๆ สามารถทำได้สะดวกมากขึ้นจากแต่ก่อน รวมถึงการซื้อขายสินค้าที่สามารถทำธุรกรรมผ่านออนไลน์ได้โดยที่ผู้ซื้อกับผู้ขายไม่จำเป็นต้องเห็นหน้ากัน

.

.

PY-109          นอกจากเรื่องเศรษฐกิจที่นักลงทุนจะต้องให้ความสนใจแล้ว การสังเกตพฤติกรรมของผู้บริโภคยังถือเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ เพราะหัวใจสำคัญในการทำธุรกิจ คือ พฤติกรรมผู้บริโภค            นักธุรกิจรุ่นใหม่ที่ไม่ทำการศึกษาความต้องการของผู้บริโภค จึงมักเลือกออกแบบสินค้าออกมาในรูปแบบหลากหลาย เอาใจผู้บริโภคแบบมหาชน แทนที่จะผลิตสินค้าแบบเฉพาะเจาะจงให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค เพราะฉะนั้นนักธุรกิจรุ่นใหม่จึงต้องปรับตัวเรียนรู้เกี่ยวกับการตลาดยุคใหม่ และทำความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพื่อสามารถสร้างทางเลือกให้ตรงกับผู้บริโภคในยุคปัจจุบันได้เฉพาะเจาะจงมากขึ้น

           โดยแนวคิดในการบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับยุค Digital Economy ที่ทางกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้กำหนดไว้ แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 คือ การขายของผ่านเว็บไซต์ออนไลน์ หรือการค้าบนระบบดิจิทัลที่กระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจได้รวดเร็ว  (Digital Commerce)  ขั้นตอนที่ 2 คือ การนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลต่างๆ มาประยุกต์ใช้ให้เกิดมูลค่าทางธุรกิจ และขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการทำงาน ลดต้นทุน เพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า  (Digital Transformation) และขั้นตอนที่ 3 คือ การนำเทคโนโลยีมาใช้เป็นช่องทางการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการที่มีอยู่เดิม และการใช้เทคโนโลยี Digital มาประยุกต์เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพในการทำธุรกิจต่างๆ (Digital Consumption)

.

          สำหรับนักธุรกิจรุ่นใหม่ที่ต้องการจะลงทุนทำธุรกิจ ต้องศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค แนวโน้มความต้องการของผู้บริโภค ควรมองและวิเคราะห์ผลระยะยาว มีแผนรับรองปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่อาจมีผลกระทบต่อธุรกิจในยุคดิจิทัล ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถปลูกฝังได้ในระดับอุดมศึกษา โดยสถาบันการศึกษาต้องให้ความรู้ด้านการประกอบธุรกิจ สามารถวิเคราะห์สถานการณ์ วิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค และวางแผนธุรกิจอย่างรอบคอบ คำนึงถึงผลประโยชน์ ผลกระทบในด้านต่างๆ  เพื่อให้คนรุ่นใหม่สามารถเริ่มทำธุรกิจของตนเองได้ถูกทางอย่างมีประสิทธิภาพ

 

.

.

ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ :  http://issuu.com/theprototype/docs/issue1

Share This:

Comments are closed.