breaking news

“นักจิตวิทยา” เผย Cyberbullying นำพาสู่โรคซึมเศร้า

มกราคม 11th, 2018 | by administrator
“นักจิตวิทยา” เผย Cyberbullying นำพาสู่โรคซึมเศร้า
Media Literacy
0

Share This:

การกลั่นแกล้งกัน! เป็นต้นเหตุหนึ่งที่นำพาไปสู่อาการโรคซึมเศร้าและเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนที่ถูกกลั่นแกล้งตัดสินใจฆ่าตัวตาย

Cyberbullying คือการรังแกกันในรูปแบบหนึ่ง ซึ่งเปลี่ยนจากในชีวิตจริง เป็นในโลกไซเบอร์ โดยปกติแล้วการรังแกกันมีอยู่ทั่วไป และมีอยู่หลายรูปแบบ ทั้งทางกายภาพ เช่น การรังแกกัน การประทุษร้ายต่อกันการใช้วาจาเสียดสี หรือทำร้ายกัน และอีกทางคือทางด้านจิตใจ

นาย สมภพ แจ่มจันทร์ ผู้อำนวยการและนักจิตวิทยาปรึกษา Knowingmind กล่าวว่า Cyberbullying เป็นการกลั่นแกล้งกันที่ย้ายพื้นที่การกลั่นแกล้งกันให้อยู่ในโลกของออนไลน์ ไม่ใช่เพียงการพูดเล่นกัน แต่จะเป็นในลักษณะของการตั้งใจ ที่มีเจตนาบางอย่าง ที่จะทำให้คนๆนั้นรู้สึกเจ็บปวด อับอาย รู้สึกไม่ดี รู้สึกแย่กับตัวเอง ทำให้เขารู้สึกว่าตัวเองเป็นผู้ที่โดดเดี่ยวในสังคม ซึ่งนอกจากความตั้งใจแล้ว ความไม่ตั้งใจก็ถือเป็นการกลั่นแกล้งด้วยเช่นกัน เพราะหากผู้ที่ถูกกลั่นแกล้งรู้สึกเจ็บปวด หรืออับอาย นั่นก็ถือเป็นการกลั่นแกล้งกันเช่นกัน มองได้ 2 มิติคือมองจากผู้กระทำและผู้ถูกกระทำก็ได้ ซึ่งการกลั่นแกล้งกันนี้จะใช้ช่องทางโซเชียลมีเดีย

พ่อเชิญคนที่เคยกลั่นแกล้งมางานศพลูกสาว เพื่อดูผลของสิ่งที่พวกเขาคิดว่าเป็นเรื่องสนุก

Cyberbullying ภัยใกล้ตัวบนโลกออนไลน์ที่ไม่ควรมองข้าม

คุณเคยแกล้งเพื่อนใน Facebook ไหม?

ในส่วนของสภาพจิตใจของผู้ที่โดนกลั่นแกล้งจาก Cyberbullying จะส่งผลต่อสภาวะความเครียด เพราะในโลกออนไลน์มันคล้ายกับว่า “เรามีบ้านและเราเห็นว่ามีงูอยู่ในบ้าน แต่ไม่รู้ว่างูอยู่ที่ไหน” ซึ่งตรงนี้จะทำให้เกิดความกลัว หรือ การกังวลที่ต่อเนื่องเป็นเวลายาวนาน เพราะไม่รู้ว่ามันจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ตัวอย่างเช่น คนนี้เคยโพสต์สเตตัสด่าหรือว่าเรา เราก็ไม่รู้ว่าเขาจะมาโพสต์กลั่นแกล้งตอนไหน จึงทำให้คาดเดาไม่ได้ว่าสิ่งที่จะเกิดขึ้นอีกเมื่อไหร่ เพราะพื้นที่บนโชเชียลมีเดียมีการกระจายตัวอย่างรวดเร็วและสามารถอยู่ได้นานกว่า ดังนั้นมันจึงส่งผลกับความเครียดและความกังวลที่ยาวนาน ไม่เหมือนในชีวิตจริงที่แกล้งกันแล้วก็จบไป ซึ่งการกลั่นแกล้งนี้สุดท้ายแล้วอาจนำไปสู่การเป็นโรคซึมเศร้าหรือฆ่าตัวตายได้ เห็นได้จากกรณี ศึกษาที่ลงในข่าวที่เห็นกันอยู่ทั่วไป โดยจากการวิจัยพบว่าหลายๆ กรณีนำมาสู่จุดนั้นได้ จุดที่ว่า เพราะคนไม่รู้ว่าจะหาทางออกยังไง รู้สึกอับอาย รู้สึกเครียด รู้สึกกดดัน จากการถูกรังแก การนำข้อมูลของเขาหรือรูปถ่ายของเขาถูกนำไปเปิดเผย จากข้อมูลที่มันไม่ดี หรือกระทั่งว่าเขาไม่ได้ทำอะไรเลย แต่ข้อมูลมันถูกปรับแต่ง มันจะนำไปสู่การหาทางออก และเมื่อไม่รู้ว่าจะหาทางออกยังไง หนทางสุดท้ายที่เลือกก็คือการฆ่าตัวตายนั่นเอง

นาย สมภพ ยังกล่าวอีกว่า ” การแก้ปัญหาสำหรับการถูกกลั่นแกล้งนั้นไม่ใช่เรื่องของความคิดแต่เป็นการแก้ปัญหาให้มองถึงข้อเท็จจริงและดำเนินการอย่างเหมาะสม ถ้าคุณถูกรังแกจริงๆ คุณต้องปรึกษาคนที่คุณไว้ใจ หรือแจ้งใครก็ได้ที่มีอำนาจมาช่วยเหลือคุณได้ ”

ดังนั้นการที่แกล้งผู้อื่นทางโลกออนไลน์ไม่เพียงแต่ทำให้ผู้อื่นเสียหายแล้ว คุณอาจจะเป็นฆาตกรทางไซเบอร์โดยไม่รู้ตัว

 

Comments are closed.