breaking news

โลกออนไลน์ โรคร้ายที่รุนแรง!

เมษายน 28th, 2020 | by administrator
โลกออนไลน์ โรคร้ายที่รุนแรง!
CB59318
0

พฤติกรรมความรุนแรงกับเด็กวัยรุ่นในสื่อออนไลน์  ซึ่งในยุคปัจจุบันมีสื่อโซเชียลที่หลากหลาย นับเป็นโรคร้ายที่รุนแรง ด้วยการการติดต่อสื่อสารที่สะดวก  รวดเร็ว  แต่เล็งเห็นว่า  มีวัยรุ่นบางส่วนที่บริโภคสื่อโดยใช้ความรุนแรงและใช้อารมณ์ที่รุนแรงไปด้วย  เช่น การแสดงความคิดเห็นที่ขาดสติ ไม่มีความยับยั้งชั่งใจ และใช้คำพูดหรือเสพสื่อที่รุนเเรง ก่อให้เกิดความแตกแยกของคนในสังคม

รศ.นพ. สุริยเดว ทรีปาตี ผอ.สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวว่า “เป็นธรรมชาติของเด็กวัยรุ่น  โดยเฉพาะ  ในกลุ่มเด็กผู้ชายที่มีการระเบิดอารมณ์ได้ง่ายเป็นปกติอยู่แล้ว ถ้าเทียบกับยุคสมัยก่อน  เพราะในยุคสมัยก่อนยังไม่มีโซเชียล สิ่งที่ทำให้เกิดความรุนเเรงก็น้อย แต่ในยุคปัจจุบันมีสื่อโซเชียลที่หลากหลาย เวลาพิมพ์อะไรลงในสื่อ วัยรุ่นก็จะขาดความยับยั่งชั่งใจ ซึ่งเป็นปกติอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นโอกาสที่จะพลาด และพิมพ์คำที่เต็มไปด้วยอารมณ์ได้ง่ายอยู่แล้ว และอีกฝ่ายมีการตอบโต้มาด้วยอารมณ์ จึงเป็นเหตุที่ทำให้เกิดความรุนแรงในสื่อออนไลน์”


รศ.นพ. สุริยเดว ทรีปาตี ผอ.สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

โดยพฤติกรรมความรุนแรงกับเด็กวัยรุ่นในสื่อออนไลน์ ซึ่งไม่ใช่แค่กลุ่มเด็กวัยรุ่นที่มักจะใช้คำรุนแรง แต่โอกาสในการใช้คำรุนแรงมักเกิดขึ้นทุกกลุ่มช่วงอายุ ที่ขาดสติไปกับการใช้สื่อโซเชียล ปัจจุบันมีการเผยแพร่สื่อ ข้อมูลข่าวสารที่มีความรุนเเรง เช่น การทะเลาะวิวาห์ลงสื่อโซเชียล การพูดถึงบุคคลที่สามในด้านลบ การนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่มีอารมณ์ความรู้สึกของผู้เขียนที่ก่อให้เกิดความแตกแยกของคนในสังคม เป็นต้น และเราสามารถรับมือ อย่างมีสติ เพื่อลดความรุนแรงได้ ดังนี้

วิธีการรับมือความรุนแรงบนสื่อออนไลน์สำหรับกลุ่มวัยรุ่นและทุกช่วงวัย

1. หยุดการดูสื่อนั้นก่อนเพราะ อาจจะทำให้อารมณ์ไม่นิ่งได้

2. ใช้วิธีจัดการความเครียดของตัวเองก่อน โดยการช่วยตัวเอง เช่น วิธีการหายใจลึก ๆ ทำใจให้สบาย ๆ ทำให้สติเราดีขึ้น หรือหากิจกรรมที่ตัวเองถนัดทำ เพื่อทำให้เบี่ยงเบนความสนใจที่มีการใช้ความรุนแรงทางคำพูดในโลกโซเชียลออกไป

3. หาคนที่ไว้วางใจ เช่น พ่อแม่ หรือคนที่ตัวเองไว้วางใจที่สุด เพื่อพูดคุย ระบายอารมณ์ และ ขอคำปรึกษา เป็นต้น

4. ถ้าหาใครไม่ได้ ลองฝึกพูดกับตัวเอง เพื่อทำให้เรารู้จักการจัดการอารมณ์ของตัวเองให้นิ่ง และถ้าคุมสติอารมณ์ของตัวเองได้แล้ว ให้หาคนที่ไว้วางใจได้ และ ขอคำปรึกษาว่าเราควรทำอย่างไรต่อ

5. เข้าหาคุณครูที่เราไว้วางใจ หรือบุคลที่คุณไว้ใจเพื่อเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

ดังนั้น เราควรหยุดคิดและไตร่ตร่อง ในการใช้คำที่รุนเเรง เพื่อลดพฤติกรรมที่รุนเเรงในโลกโซเชียล การแสดงความคิดเห็นหรือปลุกระดมความคิด บนโลกออนไลน์ อย่าเพียงแค่เอามัน ทำเพื่อความสะใจ แต่ควรคิดถึงผลกระทบที่ส่งผลต่อชีวิตจริงของเราและผู้อื่น

#พักก่อนพิมพ์ #คิดก่อนแชร์แคร์ก่อนโพสต์

Share This:

Comments are closed.