breaking news

วิกฤตขยะในทะเลไทยกับจิตสำนึกที่หายไป

กรกฎาคม 1st, 2018 | by administrator
วิกฤตขยะในทะเลไทยกับจิตสำนึกที่หายไป
Me Style
0

ทะเลไทยกำลังประสบภาวะวิกฤตมลพิษทางทะเลหรือขยะทะเลยังรุนแรงอยู่ในขณะนี้ นอกจากจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ หรือกระทบต่อพันธุ์พืชและสัตว์น้ำแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอีกด้วย เพราะ “ขยะทะเล” ทำให้เกิดความเสียหายกับเรือ จำนวนสัตว์น้ำเครื่องมือประมง การทำการประมง และความสวยงามของทัศนียภาพ ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวที่เป็นรายได้หลักโดยที่มาของ “ขยะทะเล”พบว่าร้อยละ80เกิดจากกิจกรรมบนบก และอีกร้อยละ 20 เป็นกิจกรรมทางทะเล รวมไปถึงการทิ้งขยะตามบ้านเรือน ชุมชน จากนักท่องเที่ยวและการประกอบอาชีพทางทะเล ซึ่งขยะเหล่านี้เกือบทั้งหมดเป็น “ขยะพลาสติก”ล่าสุด ปี 2561 ไทยถูกจัดอยู่ในประเทศ ที่ทิ้งขยะพลาสติกลงทะเลเป็นอันดับ 5ของโลก จากผลการสำรวจปริมาณขยะทะเลทั่วโลกของทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัยจอร์เจีย โดยประเทศที่ทิ้งขยะพลาสติกลงทะเลอันดับ 1 คือ จีน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์เวียดนาม ไทย และ ศรีลังกาตามลำดับ ขยะเหล่านี้เป็นขยะตกค้างไม่ได้รับการจัดเก็บอย่างถูกต้องบริเวณพื้นที่จังหวัดชายฝั่งทะเลทำให้มีปริมาณขยะมากกว่า 50,000 ตันต่อปี โดยขยะแต่ละชนิดอาจใช้ระยะเวลาย่อยสลายเป็นเวลาหลายสิบปีหรือหลายร้อยปี

ผศ.ดร.ธรณ์ ธรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการ ทางทะเลและสิ่งแวดล้อม รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อธิบายว่าขยะบริเวณ ชายหาดไม่ได้เกิดจากบริเวณชายฝั่งเพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็นขยะที่ลอยมาจากแม่น้ำลำคลองหลายสาย มารวมกันแล้วไหลลงสู่ทะเลพัดลอยเข้าไปชนฝั่ง เพราะฉะนั้นเรื่องขยะทะเลต้องเป็นความรับผิดชอบ ของคนทั้งประเทศ ไม่ใช่แค่คนในเฉพาะพื้นที่เท่านั้น” ส่วนสภาพแวดล้อมทางทะเลปัจจุบันต้องยอมรับว่ามี การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นความเสียหายที่เกิดขึ้นก็มีมาก ซึ่งปัญหา ขยะทะเลส่วนใหญ่ที่พบเป็นขยะพลาสติกย่อย สลายยาก

เรื่องขยะจะคล้ายกับแม่น้ำลำคลอง อย่างแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำบางประกง แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลองสี่แม่น้ำสายหลักที่ไหลมาบรรจบกัน เมื่อขยะต่างๆถูกกระแสน้ำพัดมารวมกันก็จะกลายเป็น แพขยะ ก่อนที่จะถูกกระแสลมพัดไปติดตามชายฝั่ง “เพราะฉะนั้นไม่ได้หมายความว่าขยะที่กองเต็ม ริมชายหาดจะมาจากแค่คนที่อยู่บริเวณชายหาดเท่านั้น แต่ส่วนหนึ่งก็มาจากแม่น้ำลำคลองเมื่อโดนกระแสลมพัด เข้ามสู่ชายฝั่งจึงกลายเป็นขยะบริเวณชายหาด”

ซึ่งพฤติกรรมการทิ้งขยะของคนไทย อาจสืบเนื่องปัญหามาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมที่เคยใช้ วัสดุธรรมชาติสามารถย่อยสลายได้ แต่ในปัจจุบันเปลี่ยน มาใช้วัสดุพลาสติกที่สะดวกสบายแทน ภัยใกล้ตัว จากพลาสติกจึงตามมา เนื่องจากพลาสติกไม่สามารถ ย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ (วารสาร Science ปี 2558)

ขณะที่ข้อมูลของกรมทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่ง (ทช.) เปิดเผยผลการศึกษาขยะทะเลโดย จำแนกปริมาณขยะในท้องทะเลเป็นรายประเภท พบว่า อันดับ 1 คือ ถุงพลาสติก 14,977 ชิ้น อันดับที่ 2 หลอด จากเครื่องดื่ม 11,579 ชิ้น อันดับที่ 3 ฝาจุก 9,800 ชิ้น อันดับที่ 4 ภาชนะบรรจุอาหาร 9,276 อันดับ 5 เชือก 7,057 ชิ้น อันดับที่ 6 บุหรี่/ก้นกรองบุหรี่ 6,388 ชิ้น อันดับที่ 7 กระป๋อง 6,276 ชิ้น อันดับที่ 8 กระดาษ 5,861 ชิ้น อันดับที่ 9 โฟม 5,614 ชิ้น และอันดับที่ 10 ขวดแก้ว 2,404 ชิ้น

ปัญหาขยะในทะเลนั้น ไม่ใช่แค่เพียงแต่บดบัง ทัศนียภาพบริเวณชายหาดเท่านั้น แต่ยังสร้างความเสีย หายให้เกิดขึ้นกับสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลอีกด้วยเพราะขยะทะเลส่วนมากไม่สามารถ ย่อยสลายได้ในลักษณะเดียวกันกับขยะบก อีกทั้ง ยังสามารถลอยน้ำไปได้ไกลถึงทะเลของประเท ศอื่นๆ รวมทั้งยังฆ่าชีวิตของ สัตว์ทะเลที่หายาก โดยเฉพาะลูกโลมา เต่า ทะเล วาฬ และพยูน ที่เสียชีวิตจากพลาสติก ไปถึงปีละกว่า 100 ตัว นอกจากนี้ยังหมารวมไป ถึงเศรษฐกิจและการ ท่องเที่ยวที่ต้องได้รับผลกระทบตามมาอีกด้วย

นางสาวพัชราภรณ์ เยาวสุต เจ้าพนักงาน ประมงชำนาญการ สังกัดศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากร ทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน ให้ข้อมูลว่าจากการ ผ่าพิสูจน์ ของทีมสัตวแพทย์พบว่า ร้อยละ 2-3 เกิดจากสาเหตุขยะอุดตันในทางเดินอาหาร และ การพันรัดของขยะทะเลภายนอก เช่น เศษอวน ทำให้ อัตราการตายของสัตว์ทะเลสูงถึงร้อยละ 20 – 40 เนื่องจากสัตว์ทะเลหายากเหล่านี้หายใจด้วยปอด การถูก รัดจากขยะทะเลทำให้สัตว์จมน้ำได้ และที่สำคัญกระทบ ต่อสายใยอาหาร (food web) ผลกระทบจากสารพิษพลาสติกถูกย่อยให้มีขนาดเล็กลงได้โดยแสงแดด การถูกย่อยจนมีขนาดเล็กจนแทบมองไม่เห็นนั้น เรียกว่าไมโครพลาสติกซึ่งจะส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อาหารอย่างแน่นอน

 

ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา นักวิจัยทั่วโลกเริ่มพบไมโครพลาสติกเข้าไปอยู่ในแพลงตอนได้ ก็สามารถเข้าไปอยู่ในปลาหรือสัตว์น้ำอื่นๆ ได้ และเมื่อเราได้รับประทานปลาหรอสัตว์น้ำอื่นๆ ไมโครพลาสติกก็สามารถเข้าไปอยู่ในร่างกายเราเช่นกัน ซึ่งล่าสุดนักวิจัยจากมหาลัยวอริค (University of Warwick) ของอังกฤษได้พัฒนาวิธีที่จะช่วยตรวจจับไมโครพลาสติกเหล่านี้ ที่ปะปนอยู่ในอาหารที่เรารับประทานกัน นั่นอาจเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ร่างกายมนุษย์อ่อนแอลง

ทั้งนี้เมื่อระบบการจัดการขยะบนบกไม่ถูกต้องและไม่มีประสิทธิภาพที่ดีพอ โดยเฉพาะ “สารพิษปนเปื้อน” เมื่อไหลลงสู่ทะเลไปรวมกับขยะที่เกิดจากกิจกรรมในทะเล ทำให้เกิดผลกระทบต่างๆ ตามมาอย่างที่ได้กล่าวมาแต่ต้น จากที่เป็นปัญหาระดับครัวเรือน ก็กลับมาเป็นปัญหาของชุมชน และของประเทศชาติ จนขณะนี้ได้กลายเป็นปัญหาระดับสากลที่หลายๆ ประเทศเองก็ยังต้องแก้ไขปัญหาอยู่ ซึ่งทีมข่าวลงพื้นที่บริเวณหาดทรายขาวอุทยานแห่งชาติเกาะช้าง จ.ตราด พบว่ามีขยะพลาสติกอยู่บริเวณชายฝั่งจำนวนไม่น้อย กระจายอยู่เป็นจุดๆส่วนใหญ่เป็นขวดน้ำและถุงพลาสติก

นางสาววราภา ใช้เจริญกุล เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิชาการ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง จ.ตราด กล่าวว่า ในช่วงระยะนี้ทะเลมีคลื่นลมมรสุม ทำให้พัดพาเอาขยะหลากหลายชนิดเข้ามาบนชายหาด ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง

ทางด้านนายโกสิทธิ์ นิลรัตน์ หัวหน้าอุทยานฯ ก็ได้มีการดำเนินการประชาสัมพันธ์เชิงลุก ในการสร้างจิตสำนึกให้ทุกคนทุกภาคส่วนในสังคมตระหนัก และเข้าใจถึงผลกระทบจากขยะหรือมลพิษทางทะเลและร่วมกันแก้ปัญหาตามแนวทางประชารัฐเพื่อให้ขยะในทะเลลดลงและหมดไปในที่สุด

ช่วงนี้เป็นฤดูกาลท่องเที่ยว จึงมีนักท่องเที่ยวแวะเวียนมาจำนวนมาก ชายหาดจะต้องสะอาดสวยงามอยู่ตลอดเวลา ซึ่งขยะที่คลื่นซัดเข้ามาบนชายหาดแต่ละครั้งในช่วงนี้ จะเก็บได้ราว 100-200 กิโลกรัม พร้อมกันนี้เจ้าหน้าที่อุทยานฯ เกาะช้างก็ได้ขอความร่วมมือไปยังชุมชน และภาคเอกชนในบริเวณดังกล่าวให้มีการจัดกิจกรรมและร่วมกันดูแลภายในพื้นที่ นอกจากนี้ก็ยังมีการรับสมัครอาสาสมัครพิทักษ์อุทยานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมมือกัน โดยให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ช่วยกันรณรงค์ให้คำแนะนำนักท่องเที่ยวหยุดทิ้งขยะลงทะเล ก่อนที่ระบบนิเวศจะเสียหาย และจะกระทบการท่องเที่ยวในอนาคต

นักท่องเที่ยวบริเวณชายหาด สะท้อนความเห็นต่อความสะอาดของหาดว่า พาครอบครัวมาเที่ยวพักผ่อนที่นี้เป็นครั้งที่สองแล้ว ครั้งแรกที่มาได้ไปเดินเล่นบริเวณชายหาด ก็พบขยะอยู่จำนวนมากส่วนใหญ่จะเป็นขวดน้ำถุงพลาสติก ที่นำมาใส่ของแล้วทิ้งไว้ เห็นเเล้วก็ช่วยเก็บไปหลายชิ้น แต่มาครั้งนี้รู้สึกว่ายังลดลงบ้างจากครั้งก่อน แต่ก็ยังเห็นขยะบริเวณชายหาดอยู่ เช่นเดียวกับผู้ประกอบการร้านค้าบริเวณถนนเรียบหาดที่ย้ำว่า เมื่อจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่ม ปริมาณขยะก็เพิ่มขึ้น เพราะไม่มีระบบจัดการจุดทิ้งขยะที่ชัดเจนในพื้นที่ท่องเที่ยวที่หน้าหาด อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการร้านค้าจึงก็ร่วมตัวกันดูแลพื้นที่มากขึ้นด้วยการแบ่งกันดูแลบริเวณหน้าหาดของแต่ล่ะร้านเพื่อให้ชายหาดกับมาสวยงามอีกครั้ง

โดยทั้งนี้เองประเทศไทยมีมาตรการลดปัญหาขยะในทะเล คือแผนแม่บทการบริหารขยะมูลฝอยของประเทศพ.ศ.2559-2564 ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้จัดทำมาตรการเพื่อจัดการขยะทะเล 5ด้านได้แก่ 1. การศึกษาชนิด ปริมาณ แหล่งที่มาและจัดทำฐานข้อมูล 2. การลดผลกระทบจากขยะทะเลต่อระบบนิเวศที่สำคัญ 3.การลดปริมาณขยะทะเลตามหลักวิชาการ 4. การส่งเสริมให้ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายสินค้าใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ 5. การสร้างจิตสำนึกในการลดขยะทะเล ด้วยการเริ่มลดปริมาณขยะทะเลโดยเฉพาะขยะพลาสติกที่มีผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเล นับว่าเป็นครั้งแรก ที่ปัญหาขยะทะเลได้รับความสนใจในระดับนโยบาย โดยรัฐบาลปัจจุบัน ได้ให้ความสำคัญและบรรจุแผนงาน/โครงการจัดการขยะทะเลไว้ใน แผนแม่บทการจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ ปี พ.ศ.2560 – 2564 รวมทั้ง ภายใต้พระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ.2558

พลเอกสุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรี(ทส.)ได้ให้นโยบายและวางแนวทาง ตลอดจนติดตามการทำงานในการแก้ปัญหาขยะทางทะเลมาโดยตลอด และนับได้ว่าประสบความสำเร็จมาระดับหนึ่ง เพราะเกิดความร่วมมือจากหลายฝ่าย โดยเฉพาะจากหน่วยงานในพื้นที่ชายฝั่งทะเล 23 จังหวัด มาช่วยกันแก้ปัญหา ทั้งการแก้ปัญหาตั้งแต่ต้นทาง จนถึงปลายทาง ทั้งขยะบนบกและขยะทะเล ทั้งขยะธรรมดาและขยะที่เป็นสารพิษ ที่ได้ดำเนินการกันมาอย่างจริงจังตลอด

การบริหารจัดการ “ขยะทะเล” จึงดำเนินแบบเดิมๆ ต่อไปไม่ได้อีกแล้ว ไม่ควรเป็นเพียงภาระหน้าที่ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) และในกระทรวง ทส.ก็ไม่ใช่เป็นเพียงหน้าที่ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) เพียงหน่วยงานเดียวเท่านั้น หากต้องเป็นความร่วมมือจากทุกฝ่ายทั้งจังหวัด อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชนและประชาชน ตลอดจนทุกกรมในกระทรวง ทส.ช่วยกันแก้ปัญหาอย่างจริงจังร่วมกัน

อย่างไรก็ตาม หากมองจากขนาดของปัญหาขยะทะเลห้าถึง 60,000 ตัน/ปี หรือ ปริมาณขยะพลาสติกประมาณ 750 ล้านชิ้น/ปี การจะทิ้งภาระการจัดการขยะทะเลให้หน่วยงานภาครัฐรับผิดชอบเพียงลำพังน่าจะเกิดความสำเร็จหรือไปสู่เป้าหมายการไม่ติดอันดับโลกเรื่องปริมาณขยะพลาสติกในทะเลได้ในเร็ววันหากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะคนไทยทุกคนไม่ร่วมรับผิดชอบลดปริมาณขยะ โดยเฉพาะการใช้ถุงพลาสติก (ซึ่งการสำรวจพบว่าคนไทยใช้ถุงพลาสติก ประมาณ 15 ใบ/คน/วัน) ขณะนี้ จึงมีการเรียกร้องจากกลุ่มนักวิชาการและนักอนุรักษ์ซึ่งกระตุ้นให้ภาครัฐพิจารณาว่านอกจากการรณรงค์ให้เกิดจิตสำนึก สมัครใจลดขยะพลาสติกแล้ว ถึงเวลาหรือยังที่ควรจะมีมาตรการด้านกฎหมายเพื่อลดปริมาณขยะพลาสติกดังตัวอย่างของหลาย ๆ ประเทศทั้งในยุโรปและเอเซียใช้เป็นมาตรการที่ได้ผลให้เห็นแล้ว

 

Share This:

Comments are closed.