breaking news

การรู้เท่าทันสื่อ ที่ไม่ควรมีอารมณ์ร่วมไปกับ “Clickbait”

พฤษภาคม 3rd, 2020 | by administrator
การรู้เท่าทันสื่อ ที่ไม่ควรมีอารมณ์ร่วมไปกับ “Clickbait”
CB59318
0

โลกของการสื่อสารแบบไร้พรมแดนในปัจจุบัน ทำให้สื่อออนไลน์นั้นมามีบทบาทในการรายงานข่าวมากขึ้น จากเดิมที่มีการรายงานข่าวแค่ในโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ฯลฯ หรือที่เราเรียกกันว่าสื่อเก่า สื่อออนไลน์จึงทำให้พฤติกรรมของผู้รับสารนั้นเปลี่ยนไป สื่อมวลชนก็ได้มีการปรับตัวต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับผู้รับสารที่มีพฤติกรรมเปลี่ยนไปตลอดเวลา สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือการที่ผู้อ่านปัจจุบันนั้น มีการเลือกที่จะรับสารได้ตามความชอบของตนเอง เราจึงเห็นสื่อออนไลน์ต่าง ๆ พยายามสร้าง “Clickbait” สร้างการพาดหัวข่าวที่กระชากอารมณ์ขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ผู้อ่านมีการซึมซับความรุนแรงจากการพาดหัวข่าวมากขึ้นหรือไม่ หาคำตอบได้จากคุณกนกพร ประสิทธิ์ผล ผู้อำนวยการสำนักสื่อใหม่ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสและที่ปรึกษาสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์

สื่อมวลชนจำเป็นต้องใส่อารมณ์ในข่าวไหม ในการรายงานข่าว?

คุณกนกพร กล่าวว่า การที่สื่อมวลชนต้องใส่อารมณ์ในข่าวนั้นขึ้นอยู่กับแบรนด์ของสื่อนั้น ๆ ซึ่งคำว่าอารมณ์ข่าวร่วมมันไม่ได้หมายความว่าต้องเป็นด้านลบเสมอไป มันขึ้นอยู่กับสไตล์ของแบรนด์ และสไตล์ของคอนเทนต์ที่นำเสนอก็ไม่เหมือนกัน บางทีตนเขียนข่าวบนเว็บกับโซเชียลมีเดียอารมณ์หรือภาษาก็จะแตกต่างกัน แต่ถ้าคิดถึงปัจจัยว่าควรจะใส่อารมณ์หรือไม่ใส่อารมณ์ ต้องดูที่ 3 ปัจจัยนั้นก็คือเรื่องของBrandingหรือภาพลักษณ์ของสื่อ, ลักษณะคอนเทนต์สไตล์  และเรื่องของวัตถุประสงค์ที่นำไปปล่อยบนแพลตฟอร์มต่าง ๆ  ถามว่าจำเป็นต้องใส่อารมณ์ไหมจริง ๆ ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้

ความเข้มข้นของการคัดเนื้อหาของสื่อมวลชน

คุณกนกพร อธิบายว่าสิ่งนี้แน่นอนจะต้องมีการปรับเนื้อหา ในสำนักข่าวที่ตนนั้นทำงานอยู่จะมีทั้งข่าวหน้าจอ ข่าวออนไลน์ ทางของตนนั้นจะมีหน้าที่ในการกรองข่าว ตรวจรีไรท์ข่าวต่าง ๆ ก่อนจะนำมาลงซึ่งจะมีการตรวจที่เข้มข้นมาก ตอนนี้โซเชียลมีเดียไม่ใช่สื่อที่ยอมรับความอ่อนไหวพวกนี้ได้มาก แต่ก็ยังคงมีกฏกติกา จริยธรรม จรรยาบรรณของสื่อที่เข้มข้นมากเพราะว่า ในสื่อออนไลน์มีความอ่อนไหวในเรื่องอารมณ์และมีการเข้าถึงคนได้หลาก ในเรื่องความออนไหวบนออนไลน์นั้นมีหลายด้านไม่ว่าจะเป็นการอ่อนไหวด้านอารมณ์ การอ่อนเรื่องกฎหมาย การอ่อนไหวด้านจิตใจและด้านรูปภาพ สิ่งนี้ไทยพีบีเอสที่ตนทำงานอยู่นั้นจะมีคู่มือจริธรรมอยู่และตนเชื่อว่าทุกสื่อที่เป็นองค์กรวิชาชีพที่สังกัดสมาคมต่าง ๆ จะมีเกณฑ์กำหนดทุกองค์กรแต่จะมีมากน้อยหรือเข้มข้นมากแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละช่องแต่ละสื่อ ถ้าหากพูดถึงไทยพีบีเอสก็เข้มข้นมากไม่ว่าจะเป็นภาพ วิดีโอ ข้อความ

“การพิมพ์คำบางคำถึงแม้จะไม่ใช่คำที่ต้องอยู่ในจริยธรรม แต่ถ้าหากเป็นสิ่งที่สะท้อนเรื่องอารมณ์เราจะต้องคิดข้ามไปถึงว่าถ้าคนอ่านรับข้อมูลนี้แล้วอารมณ์เขาจะเป็นยังไงด้วย แต่ว่าคนทำงานสื่อก็ไม่ได้คิดแบบนี้ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นในบางครั้งก็จะเจอกระแสตอบกลับมา เราก็ควรจะแก้ไขมันทันทีและได้รับความรู้ เกณฑ์ใหม่ ๆ จากกระแสคนอ่านที่ตอบกลับมา” คุณกนกพร กล่าว

มองกลับด้าน อารมณ์ข่าวไม่ได้มีเพียงด้านลบ

คุณกนกพร กล่าวว่าในด้านอารมณ์ในข่าวไม่ได้มีเพียงด้านลบเท่านั้น ยังมีด้านบวกอยู่เสมอตัวอย่างเช่นข่าวภาพบรรยากาศของการตบมือร่วมกันของประชาชนในบริเวณต่าง ๆ เสียงชื่นชมประทับใจบรรยากาศ ทำให้เป็นข่าวที่ให้ความรู้สึกดี เพราะฉะนั้นคำที่แสดงอารมณ์แบบนี้มันก็เป็นการเยียวยาเยียวยาจิตใจของใครหลาย  ๆ คนยกเว้นว่าข่าวนั้นมีการเขียนที่เกินจริงทำให้ความรู้สึกดีมันผิดเพี้ยนเกินไป เช่นสถานการณ์ถนนโล่งช่วงของเคอร์ฟิว แล้วมีการพาดหัวข่าวว่าสุดสลด มันยิ่งทำให้ข่าวนั้นหดหู่เข้าไปมากขึ้น บางทีตนก็รู้สึกว่าถ้ารายงานแบบนั้นเราจะรายงานไปเพื่ออะไร เรารายงานแค่ข้อเท็จจริงก็พอว่าถนนมันโล่งเพราะมีการประกาศเคอฟิว แต่มุมของคนอ่านอาจจะคิดว่าดีเพราะทุกคนให้ความร่วมมือในการปฏิบัติช่วงเคอร์ฟิว แต่ถ้าเราไปใส่เติมคำว่าบรรยากาศเงียบเหงา หรือกรุงเทพที่ไม่เคยเห็นมาก่อน ความรู้สึกแบบนี้ว่าอาจทำให้คนอ่านรู้สึกว่าบิดเพี้ยน ความหมายที่เขาเคยคิดว่าเขาพยายามที่จะร่วมมือร่วมใจในการปฎิบัติตามกฎระเบียบ ที่รัฐบาลประกาศมา ซึ่งมันเป็นการดี แต่ถ้าเราไปใส่คำเหล่านั้น ถึงแม้ว่ามันจะเป็นสถานการณ์จริง แต่มันไปชวนให้คนคิดไปอีกแบบหนึ่ง ว่าทำไมโควิด-19ทำให้กรุงเทพฯเป็นแบบนี้ เราไม่เคยเกิดสถานการณ์นี้มาก่อน เมื่อไหร่มันจะหายสักที อันนี้มันอยู่ที่อารมณ์ ความรู้สึก ของข่าว การใส่อารมณ์อย่างที่บอกมันใส่ได้ แต่ว่ามันก็ต้องอยู่ที่คอนเทนต์ ความอ่อนไหวกับสถานการณ์ช่วงนั้นแค่ไหน แต่ถ้าหากเป็นข่าวบันเทิงเป็นข่าวเอนเตอร์เทน มีการกักตัวกันในรูปแบบต่าง ๆ ข่าวการบริจาค มีข่าวการช่วยเหลือกันของเพื่อนมนุษย์ การใส่อารมณ์บางเรื่องก็เป็นการช่วยชูกำลังใจช่วยทำให้สังคมดีขึ้น

การจัดการความเห็นลบของสำนักข่าว?

คุณกนกพร กล่าวว่าตนเชื่อว่าความคิดเห็นของคนบนออนไลน์มันมาได้หลายทาง หากพูดถึงความคิดเห็นที่มาปริมาณมากสุด คือบนโซเชียลมีเดีย อย่างเช่นทวิตเตอร์ เฟซบุ๊ก ต้องยอมรับว่าคนที่เเสดงความคิดเห็น อาจจะเป็นคนที่รู้จักคุณ อ่านข่าวของคุณ และอาจจะเป็นคนที่ไม่ได้อ่านมาเลยก็ได้ คือมาถึงก็ไม่อ่านอะไร คือพิมพ์ตอบกลับเลย เราห้ามคนเหล่านั้นไม่ได้ เราห้ามกระเเสเหล่านั้นไม่ได้ คนที่อ่านจะมาจากหลากหลายที่มาก มีทั้งคนที่เป็นเเฟนคลับที่อ่านข่าวเราประจำ และคนที่ไม่ใช่ เพียงเเต่มาตอบต่อท้ายเพื่อน การจัดการสำหรับไทยพีบีเอส มีการจัดการอยู่ 2 แบบ คือ

1.ทุกแพลตฟอร์มมีเครื่องมือให้จัดการ ทุกแพลตฟอร์มมักจะมีเครื่องมืออัตโนมัติให้จัดการ อย่างเช่นบน Facebook ก็จะมีให้เซ็ตให้เปลี่ยนคำหยาบให้เป็นคำที่ไม่รุนแรง ใน Youtube ก็มีเครื่องมือในการที่จะปิดหรือเปิดคอมเม้นต์ได้ สิ่งต่างๆเหล่านี้คือ เครื่องมือตัวหนึ่งที่ทางแพลตฟอร์มต้องช่วยเรา 

2.มีการพิมพ์ความรุนแรงที่ไม่สามารถยับยั้งได้ กรณีนี้ทางคนดูแลเพจต้องใส่ใจ ถามว่าจัดการอย่างไร ใน 1 วันมีคนผ่านเข้ามามากมาย เราจัดการได้ไม่หมด เพราะฉะนั้น เราต้องเลือกก่อน โดยเลือกดูคอมเม้นต์ว่าอยู่ใต้โพสต์ประเภทไหน เช่นมีรายการเกี่ยวกับทำอาหาร หรือดีเบตการเมือง 2 รายการประเภทนี้มันต่างกัน คอมเมนต์ประเภทที่ 2 จะมากันมาก ซึ่งเป็นรายการประเภทสุ่มเสี่ยง รายการประเภทนี้ทางเพจจะโฟกัสเป็นพิเศษ พอโฟกัสเเล้วเราจะดูที่ประเภทของคำ

1.หากเป็นคำสบถ คำหยาบ หรือคำหยาบเทียบเคียง ที่อ่านเเล้วเป็นศัพท์ใหม่ ๆ ที่สะท้อนรู้ได้ว่า นี่คือแสลงของคำหยาบ 

2.หากคำที่พาดพิงบุคคลที่สาม พาดพิงบุคคลอื่น ไม่ได้พูดถึงตัวเอง มีการเอยชื่อขึ้นมาเเละเข้าใจได้ว่าบุคคลนั้นเป็นใคร หากประโยคนั้นเป็นบวกก็จะปล่อยผ่านไป 

3.หากเป็นคำที่พูดถึงเรื่องสถาบัน ศาสนา เรื่องลัทธิ เรื่องชื่อองค์กร ที่เป็นชื่อเฉพาะ ข้อความเหล่านี้จะถือว่าเข้าข่าย 2 อย่าง คืออย่างแรกซ่อนหรือลบข้อความ อย่างที่สองคือการบล็อคเลย อซึ่งสิ่งนี้เป็นมาตราการของไทยพีบีเอสแบบโดยรวม 

“พอมีมาตราการเเบบนี้เเล้วเราจะจัดการอย่างไร มีอีกแบบหนึ่ง คือเรื่องของการตอบกระเเสตอบรับ เราจะตอบโดยเเบ่งเป็น2ประเภท คือ เราต้องดูว่าข้อความนั้น เป็นอย่างไร บางทีเราไม่สามารถ ตอบทุกข้อความของทุกคนได้หมด ส่วนใหญ่เราจะเลือกประเภท ที่เป็น “Voice” หรือเป็น “Noise Voice” คือเสียงของผู้คนที่เป็นเสียงตอบรับ มีเหตุมีผล มีความตั้งใจที่จะติหรือชม เพื่อการพัฒนาหรือ เพื่อการเเจ้งข้อผิดพลาด “Noise” คือ เสียงของผู้ชมที่ค้องการเข้ามาปั่นหรือ ไม่ได้จำเป็นที่จะต้องตอบสนอง หรือไม่ได้เกิดประโยชน์ของการที่จะตั้งใจเข้ามาเพื่อที่จะคอมเม้นต์ ในเชิงที่จะพัฒนา จะเเยกส่วนกันออก เพื่อเป็นการทำให้สมดุลกันในการทำงาน” คุณกนกพร กล่าว

 การพาดหัวข่าวทำให้มีความรุนแรงในโลกออนไลน์มากขึ้น?

คุณกนกพร บอกว่าพาดหัวข่าวเมื่อเป็นสื่อออนไลน์หรือสื่อโซเชียลมีเดีย มักจะมีคำว่า “Clickbait”  หรือการล่อให้ผู้คนเข้ามาอ่าน “Clickbait” จริง ๆ นั้นไม่ใช่เรื่องเลวร้ายเสมอไป แล้วทำไมต้องเขียนข่าวให้มีการเชิญชวน หรือการพาดหัวให้เชิญชวน เป็นเพราะการคลิกทำให้มีการเข้าถึงในเว็บไซต์ เพื่อเข้าไปในเพจที่เราต้องการอยากให้ผู้รับสารเข้าไปอ่านคอนเทนต์ของเรา ทำให้เป็นเเหล่งที่จะสามารถบริหารการจัดการรายได้ได้ สื่อทุกสื่อจะมีรายได้ มีเเบรนเนอร์โฆษณาอยู่ในเว็บไซต์ ทุกคนรู้อยู่เเล้วว่าคนออนไลน์ในปัจจุบันการที่จะคลิกเข้าเว็บไซต์เป็นเรื่องค่อนข้างยากเพราะฉะนั้นการเขียนข้อความข่าวที่พาดหัวให้มีความน่าสนใจ ทำให้คนอยากจะอ่าน เลยเป็นที่มาของการพยายามจะดัดเเปลงและเขียนพาดหัวให้เกิดอารมณ์กระตุ้นให้อยากรู้อยากเห็นอยากเข้าไปหา ข้อมูลเต็มๆ เเต่การเขียนแบบนั้นมีจะมีทั้งข้อดีเเละข้อไม่ดี การเขียนที่เป็นข้อดีคือ การใช้ศาสตร์ใช้ศิลป์ คอนเทนต์มาร์เก็ตติ้ง ใช้ภาษา ใช้ประโยคที่เป็นคำถาม ซึ่งจริง ๆ เเล้วไม่ได้เป็นเรื่องผิด อันนี้เป็นศาสตร์ของการเขียนคอนเทนต์มาร์เก็ตติ้ง แต่บางทีที่คนทำการตลาดไม่เก่ง ก็จะใช้คำที่กระชากอารมณ์ในการพาดหัวมากจนเกินไป หรือผิดจริยธรรมมากเกินไป  หรือใช้คำที่ดูแล้วเกินจริง ส่วนใหญ่ที่เราจะเห็นได้ในตอนนี้ 

“บางเรื่องตรงกันข้ามกันเลยนี่ไม่เหมาะสม เค้าเรียกว่าการพาดหัวข่าวที่พยายามทำให้เกิดความสนใจแล้วทำให้เกิดความเข้าใจผิดจากสิ่งหนึ่ง ทำให้เกิดความผิดหวัง แบบนี้ถือว่าผิดจริยธรรม หรือว่าไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่ถูกต้องในการพาดหัว ซึ่งเราจะเห็นการพาดหัวเเบบนี้ในสื่อโซเซียลมีเดีย เพราะในโซเชียลมีเดียจะมีลำดับขั้นตอน เฟซบุ๊ก มีลำดับขั้นตอนคือถ้าคุณคลิกข่าวของ A อยู่บ่อย ๆ เพราะการพาดหัวข่าวนั้นน่าสนใจ การจัดการลำดับของเฟซบุ๊กจะรู้ว่าคุณชอบข่าวสไตส์ของการพาดหัวข่าวนั้น ข่าวที่เป็นการพสดหัวข่าวลักษณะนั้นทั้งหมดก็จะถูกป้อนเข้ามาใน ฟีดเฟซบุ๊กของคุณอยู่เรื่อย ๆ มันเลยทำให้เราเจอเเต่ข่าวที่มีแต่การพาดหัวข่าวแบบนั้น” คุณกนกพร กล่าว

ทำอย่างไรให้รู้เท่าทันสื่อ ?

คุณกนกพร เปิดเผยว่าการอ่านข่าวที่มีความเท่าทันสื่อ มันไม่ใช่เรื่องอ่อนไหวเฉพาะเด็ก แต่มันอ่อนไหวสำหรับทุกคน ไม่ใช่เเค่นักศึกษา คนทำอาชีพข่าวบางคนอ่านเเล้วยังไม่รู้เลยว่านี่คือข่าว “Clickbait” หรือคนอายุมาก ๆ คนแก่หรือผู้สูงวัย คุณพ่อคุณแม่ คนที่ไม่มีประสบการณ์ด้านโซเชียลมีเดียมาก่อนเลย บางทีเด็กอาจจะมีความรู้เท่าทันสื่อมากกว่าคนที่อายุเยอะก็ได้ เพราะฉะนั้นต้องดูว่าภาพที่เราเคยเรียนรู้ว่า มีเเค่เรื่อง “Clickbait” เเต่เดี๋ยวนี้มีเรื่องของวิดิโอภาพที่สามารถปลอมเเปลงกันง่ายมาก และมีเรื่องของการปลอม URL.ที่ง่ายมาก เพราะฉะนั้น การรู้เท่าทันสื่อมันมีความยากตรงที่มันมีพัฒนาการ และรูปแบบที่เปลี่ยนไป เรื่อย ๆ เเละเรามักจะละเลยกับการที่จะไปตามอัพเดทวิธีการต่าง ๆ เหล่านี้คือตามไล่จับไม่ทัน เพราะฉะนั้นภูมิคุ้มกัน ของคนที่เสพออนไลน์ อยากให้คนที่จะเสพข่าวออนไลน์ อยากจะเป็นผู้ชมที่ดี คุณจะต้องไม่ใช่เเค่เสพอย่างเดียว  คุณต้องเรียนรู้เรื่องเท่าทันสื่อด้วย ต้องรู้ว่าหากเราเจอข่าวนี้ เราควรจะไปตรวจทานหรือเทียบข้อมูลจากที่ไหนดี ก่อนที่เราจะกดเเค่เเชร์ เรารู้ว่าลิ้งค์นี้มันดูแปลก ๆ เราต้องตรวจสอบด้วยตัวเราเองเบื้องต้น ก่อนที่จะแชร์มันออกไป นี่คือความเป็นผู้รับสารที่ดี ไม่ใช่ว่าเรารับข่าวเเล้วเเชร์เลยรับข่าวเเล้วเมนต์เลย 

“เพราะฉะนั้นเราต้องมีสติในการที่จะกรองข่าวสาร อันนี้คือการรู้เท่าทันสื่อที่ดี ถัดมาคือ การที่เราจะปล่อยข่าวตัวเองออกไป เราต้องเลือกปล่อยข่าวสาร ที่เป็นสิ่งที่เราพบเจอเอง รับทราบข้อมูล ตรวจสอบข้อมูลเอง แม้เเต่คนสะกดเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เราไม่มั่นใจ ซึ่งโลกอินไลน์ในสมัยนี้มีสื่อให้เราตรวจสอบเยอะมาก เราไม่ว่าจะเป็นทั้งผู้เสพหรือผู้ผลิต เราต้องรู้จักยับยั่งชั่งใจ มีความรู้เท่าทันสื่อเล็กน้อย มีการสังเกต รู้จักเป็นคนที่ไขว่คว้าหาข้อพิสูจน์มาก่อนที่เราจะเผยเเพร่หรือเเชร์ออกไป  เพราะว่าจุดเล็กๆบางจุดของเรา เพื่อนเราอาจจะได้รับผลกระทบต่อเรื่องที่ไม่ดีได้ อยากให้ทุกคนไม่เป็นคนออนไลน์ที่ตามใจฉันเสมอไป” คุณกนกพร กล่าว

ทีมข่าวเฉพาะกิจไร่ส้ม รายงาน

Share This:

Comments are closed.