breaking news

ฝากความหวังไว้กับ CCTV ได้ไหม

พฤศจิกายน 27th, 2015 | by administrator
ฝากความหวังไว้กับ CCTV ได้ไหม
Special Report
0

ในยุคที่ประชาชนฝากความเชื่อใจไว้กับเทคโนโลยี

CCTV ใช่คำตอบที่สำคัญหรือไม่ ที่จะช่วยหยุดปัญหาของอาชญากรรม

 


จากการสอบถามประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ต้องการที่จะให้มีกล้องCCTVเพื่อความปลอดภัยของตนเอง ทั้งนี้อยากให้หน่วยงานกรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้ดำเนินการติดตั้งกล้อง CCTV ทั่วทั้งกรุงเทพ โดยเฉพาะในจุดเสี่ยง ตามซอย หรือ สะพานลอย ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีการก่อเหตุอาชญากรรมขึ้นบ่อยครั้ง และอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีมาตรการในการดูแลรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวดขึ้น

                    ทีมข่าว The prototype ได้ทำการรวบรวมข้อมูลของซอยอันตรายในกรุงเทพมหานคร และจัดอันดับซอยที่มีความเสี่ยงมากที่สุดไว้ 10 อันดับดังนี้

1.ซอยลาดพร้าว 21 เขตจตุจักรท้องที่ สน.พหลโยธิน เป็นซอยลึกประมาณ 500 เมตร ในซอยมีบ้านเรือนอยู่ 150 หลัง มีโพรงหญ้ารก ต้นไม้สูง ทางเปลี่ยว เกิดคดีวิ่งราว ปล้นทรัพย์จนเสียชีวิต

2.ซอยวิภาวดี 64 เขตหลักสี่ ในซอยมีหมู่บ้านจินตรา โครงการ 4 สภาพบางแห่งรกร้างและทรุดโทรมเกิดการฉกชิงวิ่งราวในยามวิกาลขึ้นเป็นปกติ

3.ซอยจรัลสนิทวงศ์ 37 เขตบางกอกน้อย ท้องที่ สน.เขตบางกอกน้อย มักจะเป็นแหล่งมั่วสุมของพวกมิจฉาชีพ งัดรถยนต์ และลวนลามสตรีเพศ

4.ซอยจรัลสนิทวงศ์ 89 เขตบางพลัด ท้องที่ สน.บางพลัด จุดนัดพบส่งยาเสพติด ในช่วงกลางคืนจะเต็มไปด้วยกลุ่มวัยรุ่นนั่งมั่วสุม

5.ซอยสวนผัก 11 เขตตลิ่งชัน ท้องที่ สน.ตลิ่งชัน เป็นซอยแยกจากถนนสวนผัก มีชุมชนใหญ่ย่านชานเมืองในเวลากลางคืนจะเปลี่ยว มีการจี้ปล้นกันบ่อยครั้ง

6.ซอยภิรมณ์ เขตสัมพันธวงศ์ ท้องที่ สน.พลับพลาไชย 2 เป็นซอยแยกจากถนนทรงวาด มักจะมีวัยรุ่นติดยาเข้าไปมั่วสุมกันทุกวัน

7.ซอยเจริญนคร 23 หรือซอยอู่ใหม่ เขตคลองสาน ท้องที่ สน.สำเหร่ ในซอยมักจะมีรถจักรยานยนต์หายเป็นประจำ

8.ซอยวิมุตยาราม เขตบางพลัด ท้องที่ สน.บางพลัด เป็นซอยที่แก๊งวัยรุ่นนัดหมายมาพบกันเพื่อทะเลาะวิวาทเป็นประจำ เวลากลางคืนจะเปลี่ยวมาก

9.ซอยร่วมรักษา เขตห้วงขวาง ท้องที่ สน.ห้วยขวาง มันเป็นแหล่งซื้อขายยาเสพติดที่ขึ้นชื่อมานานนับสิบปี

10.ซอยวัดมะกอก หรือซอยราชวีถี 16 ถนนราชวิถี ย่านอนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ท้องที่ สน.พญาไท มีปัญหายาเสพติดและอันธพาล โดยเฉพาะเวลากลางคืนชาวบ้านไม่กล้าออกมานอกบ้านเนื่องจากมักจะเกิดคดีจี้ ปล้น และอาจถูกลวนลามทางเพศ

001s

 

 

ทีมข่าวได้ทำการลงไปตรวจสอบหนึ่งในสิบพื้นที่เสี่ยง บริเวณชุมชนซอยวัดมะกอก ย่านอนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิ พบว่าทางเดินเข้าซอยฝั่งอนุสาวรีย์ฯ มีกล้อง CCTV ทั้งหมด 8 ตัว ได้แก่ บริเวณระหว่างทางเดิน 2 ตัว สี่แยกภายในซอย 3 ตัว และสะพานวัดมะกอกมีกล้องอีก 3 ตัว ชาวบ้านในชุมชนวัดมะกอก(บริเวณหน้าวัด)บอกกับทีมข่าวว่า หลังจากมีการติดตั้งกล้อง CCTV แล้ว ทำให้เหตุอาชญากรรมลดลงไปมาก ประกอบกับการที่มีสายตรวจออกตรวจเหตุการณ์ด้วยแล้ว ทำให้ชุมชนวัดมะกอกสงบสุขขึ้น แต่ก็มีข้อโต้แย้งจากชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในบริเวณหลังวัด ชาวบ้านกลุ่มนี้กล่าวว่า เมื่อไม่นานมานี้ มีกลุ่มคนร้ายวิ่งราวผู้ที่สัญจรไปมาในบริเวณนั้น ซึ่งพื้นที่นี้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้มาแล้วหลายครั้ง แต่ก็ไม่สามารถจับคนร้ายได้ เนื่องจากในบริเวณนั้นไม่มีกล้อง CCTV ทางทีมข่าวจึงได้ทำการสำรวจบริเวณดังกล่าว พบว่า เขตหลังวัดที่เป็นบริเวณใต้ทางด่วนไม่ได้มีการติดตั้งกล้อง CCTV ตามที่ชาวบ้านได้แจ้งกับทีมข่าว

q

ทั้งนี้ นายสุรสิทธิ์  เสนีวงค์ ณ อยุธยา ชาวบ้านที่อาศัยอยู่เขตหลังวัดมะกอกบริเวณใต้ทางด่วน กล่าวว่า ช่วงทางโค้งใต้ทางด่วนมีการก่อเหตุอาชญากรรมบ่อยครั้ง ตนอยากให้ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการติดตั้งกล้อง CCTV ในส่วนนี้ให้ เพื่อความปลอดภัยในการดำรงชีวิตของคนในชุมชน

          

12226545_901603296554271_1630923655_n

ด้านนายทวีศักดิ์   เลิศประพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง (สน.จร.) กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของการติดตั้งกล้อง CCTV ในครั้งแรกนั้นก็คือ เพื่อบริหารจัดการจราจร บริเวณตามแยกหรือทางแยก โดยจะดูสภาพการจราจร ดูปริมาณการจราจร แล้วจะเอามาคำนวณ เป็นสัญญาณไฟจราจร และหลังจากเกิดเหตุการณ์การวางระเบิดในบริเวณเขตพระนคร แถวบางพลู ช่วงปี พ.ศ.2550 เมื่อเข้าช่วงปีใหม่หน่วยงานจึงได้ตื่นตัวกันมากขึ้น เป็นช่วงที่ได้เริ่มติดตั้งกล้อง CCTV อย่างจริงจัง

สำหรับการบำรุงรักษากล้อง CCTV นั้นนายทวีศักดิ์ กล่าวต่อว่า เดิมทีจะมีรอบของการเข้าไปตรวจสอบทุก 15 วัน แต่ในขณะนี้ได้เพิ่มความถี่ในการตรวจสอบเป็นทุก 7 วันแล้ว และในอนาคตก็จะมีการเปลี่ยนมาใช้โปรแกรมในการควบคุมกล้องแต่ละตัว เพราะง่ายต่อการตรวจสอบ หากกล้อง CCTV มีข้อผิดพลาด ชำรุดเสียหาย ระบบจะส่งสัญญาณกลับมาที่ศูนย์ควบคุม และทางทีมงานที่ดูแลก็จะสามารถเข้าไปแก้ไขได้ทันที การใช้โปรแกรมควบคุมเช่นนี้ มีทั้งความแม่นยำและสะดวกรวดเร็ว สำหรับปัญหาที่ทำให้กล้อง CCTV ใช้การไม่ได้ มีหลายสาเหตุ เช่น อุบัติเหตุบริเวณกล้อง CCTV มีการขโมยสายไฟ สัตว์จำพวกแมลงเข้าไปทำรัง เป็นต้น

Info copy

ทั้งนี้ถ้าหากประชาชนมีความประสงค์ที่จะขอดูภาพจากกล้องCCTV จะต้องมีหนังสือเป็นทางการจากสถานีตำรวจนครบาลในพื้นที่เกิดเหตุ โดยในหนังสือจะต้องระบุเหตุการณ์ สถานที่ วันเวลาที่เกิดเหตุ และรายชื่อบุคคลที่จะมารับหลักฐานนั้น พร้อมทั้งเตรียมแผ่น CD/DVD มาบันทึกภาพ จำนวน 2 ชุด ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวประชาชนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น สอบถามเพิ่มเติมได้ที่กองพัฒนาระบบจราจร สำนักการจราจรและขนส่ง โทร. 0 2354 1237 ในวันและเวลาราชการเท่านั้น

กัญญารัตน์  อ่อนสลุง ,พรนภา  สวัสดี ,อารีรัตน์  คุมสุข ,สุนันทา  เฉลิมทิพย์ ,สิรินันท์  ปวงอินชัย

Share This:

Comments are closed.