breaking news

ทางรอดธุรกิจชุมชนบ้านบาตร

เมษายน 3rd, 2015 | by administrator
ทางรอดธุรกิจชุมชนบ้านบาตร
Master & Apprentice
0

     

ชุมชนบ้านบาตรปรับกลยุทธ์รับจ้างผลิตตามสั่ง เน้นงานเฉพาะกลุ่ม เพื่อทำยอดธุรกิจแต่ยังคงสืบสานวัฒนธรรม

.

“ป้าทำบาตรมาตั้งแต่เล็กและไม่เคยคิดที่จะหยุดทำมีลูกมีหลานก็สอนให้ทำบาตรพอเด็กๆเขาสนใจป้าก็รู้สึกดีเพราะอยากให้การทำบาตรมีอยู่ต่อไปแล้วเผยแพร่สู่คนรุ่นหลังบ้าง” – นางมยุรีเสือเสริมศรีหรือป้าไก่ผู้สืบทอดการทำบาตรพระในชุมชนบ้านบาตร ย่านวัดภูเขาทองกล่าว

.

DSC08019DSC08003

 

………ชุมชนบาตรพระเป็นชุมชนเล็กๆที่เป็นแหล่งผลิตบาตรพระมามากกว่า 100 ปีโดยป้าไก่ได้สืบทอดอาชีพทำบาตรพระภายในชุมชนซึ่งแต่ละบ้านจะนั่งทำบาตรพระอยู่หน้าบ้านของตัวเองและพูดคุยกันระหว่างคนในชุมชนอย่างสนุกสนาน

.

……….พ.ศ.2514 มีการก่อตั้งโรงงานผลิตบาตรปั๊มขึ้นส่งผลให้กิจการทำบาตรพระที่บ้านบาตรเลือนหายไป ทำให้การทำบาตรมือแบบที่ชาบ้านบาตรทำมาตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษ ประสบปัญหาเรื่องยอดขาย เพราะโรงงานผลิตบาตรปั๊มสามารถตีตลาดการขายบาตรพระด้วยวิธีการใช้วัสดุที่ถูกและกดราคาให้ถูกกว่าการทำบาตรด้วยมือได้สำเร็จ ชาวบ้านบาตรคิดจะละทิ้งอาชีพการทำบาตรแต่ด้วยความที่มุ่งมั่นที่จะอนุรักษ์สิ่งทำมีมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ชาวบ้านบาตรจึงได้หาวิธีที่จะแข่งขันกับโรงงานที่ผลิตบาตรปั๊มเพื่อสร้างให้อาชีพนี้ยังอยู่คงต่อไป

……….ชาวบ้านจึงได้ปรับกลยุทธ์เป็นการทำบาตรในแบบ Made to order ที่เจาะกลุ่มลูกค้าเฉพาะมากขึ้น จากเดิมก็เป็นลูกค้าทั่วไป เปลี่ยนเป็นเจาะเฉพาะกลุ่มพระสงฆ์ในสายธรรมยุติ เพราะพระสงฆ์ต้องการบาตรพระที่ต้องเอาไปบ่มต่อ และเลือกที่จะออกแบบผลิตภัณฑ์ตามความต้องการของลูกค้ามากขึ้นซึ่งจะแตกต่างจากบาตรพระตามท้องตลาดอย่างแน่นอน และยังเพิ่มเรื่องของวัสดุให้มีคุณภาพที่ดีที่สุดในการทำบาตรโดยเลือกวัสดุที่มีความหนามากกว่าทำให้เวลาที่พระเอามาบ่มจึงทนความร้อนได้ 10 – 12 ชั่วโมง ซึ่งแสดงถึงความหนาของเหล็กและมีคุณภาพเป็นอย่างดี จึงทำให้อายุการใช้งานของบาตรพระอยู่ได้นาน แถมยังคงเน้นความละเอียด ความพิถีพิถันในการทำแต่ละขั้นตอน คงรูปทรงที่สืบทอดภูมิปัญญามาแต่โบราณ เพื่อไม่ให้คนรุ่นใหม่ลืมการทำงานแบบเดิมอีกด้วย

.

DSC08005DSC08011

.

……….แต่ด้วยท่ามกลางสภาวะทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป ทำให้บ้านบาตรต้องเจอกับปัญหาทั้งเรื่องของต้นทุน คนซื้อที่ลดลง ช่างฝีมือที่จะสืบต่อก็หายากขึ้นทุกวัน การทำบาตรพระแต่ละครั้งลงทุนถึง 1500 บาทต่อ 1 ใบ ซึ่งราคานี้รวมทั้งค่าวัสดุในการทำและส่วนที่เหลือจะเป็นค่าแรงงานของช่าง ซึ่งก็ถือว่าการลงทุนต่อ 1 ใบราคาค่อนข้างสูงและการขายบาตรพระส่วนใหญ่จะขายได้แต่ลูกค้าประจำ ก็จะมีช่วงที่ขายได้บ้างไม่ได้บ้างสลับกันไปหนำซ้ำยังมีเรื่องของการขาดคนงานที่ตอนนี้หลงเหลืออยู่แค่ไม่กี่คน

.

“คนที่ทำงานอยู่ตอนนี้เป็นคนที่ต้องการอยากจะอนุรักษ์อาชีพนี้ไว้จริงๆ ไม่ว่าจะเจอปัญหาอะไรก็ต้องช่วยกันแก้ไขให้มันผ่านไปได้ ซึ่งอาจจะใช้ความพยายามความอดทนสูงแต่ทุกคนก็ยอมที่จะทำ หรือที่เรียกว่าเราต้องทำใจยอมรับมันให้ได้” ป้าไก่กล่าว

.

……….ด้วยแรงศรัทธาของชาวบ้านที่ร่วมมือร่วมใจกันที่แม้จะเคยล้มก็ช่วยพยุงมือกันลุกขึ้นมาทำให้อาชีพการทำบาตรพระอยู่รอดมาจนถึงทุกวันนี้ผู้ที่อนุรักษ์ในอาชีพนี้จะต้องทำด้วยใจรักอย่างแท้จริงและศรัทธาในพระพุทธศาสนาด้วยความเคารพในวิชาความรู้ครูบาอาจารย์ตลอดจนเครื่องมือใช้สอยในการยังชีพทุกชิ้นตามแบบแผนขนบธรรมเนียมประเพณีของคนไทยบาตรพระของชาวบ้านบาตรจึงเปี่ยมไปด้วยคุณค่าที่ผสานฝีมือแรงงานและจิตใจไว้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันจนบางครั้งการตีค่าความคุ้มค่าของบาตรอาจไม่สามารถกำหนดด้วยค่าเงินตราแต่เป็นค่าที่จิตใจมากกว่า

.

DSC08014DSC08012

.

.

.

.

.

.

.

.

.

ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ :  http://issuu.com/theprototype/docs/issue1

.

นนทิยา  ตาน้อย

Share This:

Comments are closed.