breaking news

โขนสดประยุกต์ ศิลปะปรับตัว สานต่อเอกลักษณ์ไทย

มิถุนายน 24th, 2015 | by administrator
โขนสดประยุกต์  ศิลปะปรับตัว สานต่อเอกลักษณ์ไทย
Art & Entertainment
0

          ประยุทธดาวใต้ คณะโขนประยุกต์ สร้างนวัตกรรมผสมผสานศิลปะและเทคนิคการแสดงรูปแบบใหม่ ด้วยฉากและเทคนิคการต่อตัว กระตุ้นเยาวชนให้เรียนรู้ สืบสานโขนไทย
          โขนประยุกต์นำเสนอการแสดงในรูปแบบที่ ผู้ชมสามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้น หรือที่เรียกว่า โขนสด เป็นการแสดงที่ผสมผสานโดยนำศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านทั้ง 3 ชนิดคือ โขน หนังตะลุงและลิเกมาผสมผสานเข้าด้วยกัน ด้านผู้แสดงเป็นทั้งผู้พูด และผู้เจรจาเองทำให้การสวมหัวโขนจะไม่ครอบหมดทั้งศีรษะ ใส่ไว้เพียงด้านบนเพื่อให้รู้ว่าเป็นตัวละครใด การเปิดหน้าของผู้แสดงช่วยในเรื่องของความสะดวกในการร้องและเจรจา ปัจจุบันโขนสดยังคงหลงเหลืออยู่แต่หาชมได้ยาก

IMG_0833
          บุญเหลือ แซ่คู เจ้าของคณะโขนสด ประยุทธดาวใต้ กล่าวว่า จุดเริ่มต้นของการจัดตั้งคณะโขนสดสืบเนื่องมาจากการเรียนรู้ตั้งแต่วัยเด็กซึ่งสืบสานต่อมาจากครูบาอาจารย์ จนทำให้เกิดความผูกพันธ์
          ส่วนตัวของนักแสดงก็จะเพิ่มจำนวนมากขึ้นเพื่อสร้างความโดดเด่นให้กับคณะโขนสดประยุทธดาวใต้ ซึ่งเสน่ห์ของการแสดงโขนสดนั้นอยู่ที่รูปแบบการร้องและการรำ ไม่ต่างจากศิลปะพื้นบ้านอย่างลิเกที่นำวรรณคดีชั้นสูงอย่างรามเกียรติ์มานำเสนอ โขนส่วนใหญ่นิยมแสดงเรื่องรามเกียรติ์ เพราะเนื่องจากเรื่องรามเกียรติ์มีการแบ่งบทเป็นชุดเป็นตอนสามารถแสดงได้หลากหลาย จึงทำให้รูปแบบการแสดงโขนสดเข้าใจง่าย รวดเร็วและรวบรัดกว่าการแสดงโขนใหญ่
ด้านการปลูกฝังให้กับเยาวชนนั้น ได้มีฝึกสอนการแสดงโขนให้กับเด็กในชุมชนรวมไปถึงเด็กกำพร้าที่ครูบุญเหลือ อุปการะเลี้ยงดู ส่งให้เรียนหนังสือ พร้อมทั้งฝึกสอนการแสดงโขนจนสามารถออกแสดงตามงานต่างๆได้ ครูบุญเหลือ ได้ชักจูงเด็กให้หัดการแสดงโขน และแสดงเพื่อเผยแพร่วัฒนธรรมโขนสดมาเกือบทุกสถานที่ อีกทั้งยังให้ความรู้เกี่ยวกับโขนสอนวิธีแต่งกลอนอีกด้วย

IMG_0867
          “งานศิลปะแขนงนี้ เปรียบเสมือนแสงเทียนที่ปลายอุโมงค์ ถ้าเราเดินตามแสงเทียนเราจะพบแสงสว่างและทางออกที่ดี เพราะเรามีจุดหมาย”
          ด้านนางสาว หนึ่งฤทัย ดีลักษณ์ ผู้ก่อตั้งบ้านโขนไทย เศียรพ่อแก่โบาณ กล่าวว่าโขนเป็นหนึ่งในศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญของไทยบรรพบุรุษจึงได้มีการสืบทอดการแสดงตั้งแต่อดีตมาถึงปัจจุบันซึ่งจะเห็นได้ว่าในปัจจุบันได้มีการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับยุคสมัยมากขึ้นแต่ยังคงความดั้งเดิมไว้เพื่ออนุรักษ์รูปแบบการแสดงและสืบทอดศิลปะทางวัฒนธรรมที่ดีงามของไทยให้คงอยู่สืบไป

กรชนก ศรีสุข

Share This:

Comments are closed.