ทั้งเครื่องดื่ม ขนม และของหวานต่างๆ นี้ ก็มีความหวานมาจากน้ำตาล ซึ่งไม่ว่าจะเป็นน้ำตาลชนิดใดก็จะให้ความหวาน และมีประโยชน์ในด้านการให้พลังงานแก่ร่ายกาย โดยเฉพาะน้ำตาลกลูโคสที่มีหน้าที่ให้พลังงานแก่สมอง และช่วยกระตุ้นการหลั่งของสารเคมีในสมอง ทำให้รู้สึกสดชื่นและอารมณ์ดีขึ้น นี่จึงเป็นที่มาของสาเหตุที่เราดื่มน้ำหวานเข้าไปแล้วรู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่า
การได้รับน้ำตาลในปริมาณมากเกินไปทำให้เกิดการเสพติดของสมองได้ เช่น การเสียการควบคุม ความโหยหรืออยาก และความอดกลั้นต่อน้ำตาลเพิ่มขึ้น เมื่อโมเลกุลน้ำตาลเดินทางไปถึงกระเพาะและลำไส้ ตรงนั้นก็มีต่อมรับรสน้ำตาลอยู่เช่นกัน แม้ว่ามันจะไม่ได้ให้รสชาติ แต่มันก็ส่งสัญญาณไปยังสมองว่าคุณอิ่ม ร่างกายของคุณต้องเตรียมตัวผลิต อินซูลิน (Insulin) เพิ่มขึ้นเพื่อรับมือกับปริมาณน้ำตาลที่เพิ่มขึ้นจากการกินของคุณ ทำให้เกิดการหลั่งฮอร์โมน โดพามีน (Dopamine) สารเคมีที่สำคัญในการส่งสัญญาณประสาท
การที่สมองได้รับสารโดพามีนมากขึ้น ทำให้เกิดอาการเสพติด หรือทำให้มีความต้องการสารชนิดนี้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และนั่นเป็นสาเหตุที่ว่าทำไมร่างกายของเราจึงโหยหาและรู้สึกดีกับน้ำตาลและขนมหวาน
แล้วถ้าเรานั้นรับความหวานมากจนเกินไปจะเกิดอะไรขึ้น รู้กันดีอยู่แล้วว่าน้ำตาลให้พลังงานกับร่างกาย แต่ถ้าเราไม่ใช้และเผาผลาญพลังงานนั้นมันจะเปลี่ยนไปเป็นแป้งและสะสมในร่างกายจนทำให้อ้วน การกินหวานทำเรารู้สึกง่วงง่ายกว่าปกติและยังขี้เกียจอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีผลการศึกษาพบว่า การกินหวานมากไปเป็นสาเหตุของ “โรคไฮโปไกลซีเมีย หรือ โรคอ่อนเพลียเรื้อรัง” ที่น่ากลัวกว่านั้น ทุกคนรู้จักดีแต่ว่าบางทีก็ห้ามไม่ได้ว่า กินหวานมากไป เสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน เพราะน้ำตาลที่มากไปทำให้เลือดขาดความสมดุล ตับอ่อนจึงต้องผลิตอินซูลินมามากขึ้นเพื่อเคลียร์น้ำตาลส่วนเกินออกไป ยิ่งกินหวานจัด ตับอ่อนคุณนั้นก็ยิ่งทำงานหนัก “เบาหวานจะเป็นเรื้อรังรักษาไม่หาย” นี่ยังไม่รวมโรคอื่น ๆ ที่อาจตามมาอีก ทั้งฝันผุ โรคไต และโรคหัวใจ
แต่เราจะทานอย่างไรถึงจะให้พอดีไม่มากเกินไปละ คนเรานั้นต้องการน้ำตาลเพียง 6 ช้อนชา ต่อวัน ไม่ควรมากไปกว่านี้นั่นเอง
ขอบคุณข้อมูลจาก
How sugar affects the brain – Nicole Avena :https://ed.ted.com/lessons/how-sugar-affects-the-brain-nicole-avena?fbclid=IwAR3redIik9LDDd0uGqOeQ8a7jIIZekq8znsl9RE3n0YBC_ChEMHWLTFNb7k
“น้ำตาล” กินแล้วสดชื่น แต่ไม่มีคุณค่า :https://mgronline.com/travel/detail/9560000135710
ประโยชน์และโทษจากการกิน “เค็ม” และ “หวาน” พร้อมเทคนิคกินต่อได้แบบไม่เสี่ยงโรค ! :https://health.kapook.com/view195252.html