breaking news

ศูนย์ศรียวง

สิงหาคม 17th, 2019 | by administrator
ศูนย์ศรียวง
Prototype
0

Share This:

“ศูนย์ศรียวงแหล่งเรียนรู้การทำเกษตรทฤษฎีใหม่

‘ศูนย์ศรียวง’ เป็นศูนย์การเรียนรู้อันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เริ่มต้นให้ความรู้ในเรื่องการทำเกษตรทฤษฏีใหม่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 และจัดตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2540 มีหน่วยงานภาครัฐให้การสนับสนุน อาทิเช่น กรมการประมง กรมพัฒนาที่ดิน กรมส่งเสริมการเกษตร และกระทรวงมหาดไทย

“คุณยวง เขียวนิล” ปราชญ์ผู้ดูแลและเป็นเจ้าของศูนย์ศรียวง เล่าว่า

“ตอนแรกที่ทำ เราทำไม่เป็นจึงไปหาเกษตรอำเภอ ได้ยินเรื่องเกษตรทฤษฏีใหม่ของในหลวง ร.9 ตอนนั้นคิดในใจว่าพระองค์ท่านมาทำอะไรกับภาคเกษตร แต่เมื่อเราไปศึกษาเอกสารบวกกับไปดูงานก็รู้ว่า พระองค์ท่านทรงคิดมาให้เสร็จเรียบร้อยแล้ว เราเพียงแค่เดินตามเท่านั้น”

         คุณยวงเคยประสบปัญหาน้ำท่วมเมื่อปี พ.ศ. 2538  ไร่นารวมถึงปลาที่เลี้ยงไว้ต่างเสียหายแทบทั้งหมด แต่เนื่องจากการทำคุณยวงได้ขุดบ่อไว้ โดยยึดตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ ทำให้เมื่อน้ำลดปลาจากที่อื่นไหลลงรวมกันในบ่อ  เงินที่ได้จากการขายปลาประมาณ 6 หมื่นบาท ช่วยทำให้คุณยวงสามารถมีทุนมาตั้งต้นใหม่ได้

“ไม่เคยมีอาชีพไหนที่น้ำท่วมแล้วเหลืออะไร แต่ใครทำเกษตรทฤษฏีใหม่น้ำท่วมยังเหลือปลาในบ่อ ตั้งแต่วันนั้นถึงวันนี้เราก็เดินตามแนวทางของพระองค์ท่านอย่างต่อเนื่อง”

         ศูนย์ศรียวงจัดตั้งฐานเรียนรู้ไว้หลายฐาน ยกตัวอย่างเช่น

  • ฐานเรียนรู้การเลี้ยงปลาดุก โดยขุดบ่อเลี้ยง 4 บ่อ เริ่มเลี้ยงลูกปลาดุกในบ่อที่ 1 พอโตได้สักระยะจึงปล่อยเข้าสู่บ่อที่ 2 เมื่อปลาดุกโตขึ้นมาอีกระยะ ก็ปล่อยเข้าสู่บ่อที่ 3 หลังจากโตได้อีกระยะก็ปล่อยเข้าสู่บ่อที่ 4 จนเมื่อไปถึงบ่อที่ 4 ปลาดุกจะโตเต็มที่สามารถนำไปขายได้ ซึ่งหลังจากปล่อยลูกปลาดุกจากบ่อที่ 1 สู่บ่อที่ 2 เกษตรกรจะนำลูกปลาดุกคอกใหม่มาเลี้ยงในบ่อที่ 1 อีกครั้ง การทำเช่นนี้จะทำให้เกษตรกรมีรายได้ต่อเนื่อง
  • ฐานการเผาถ่าน โดยทั่วไปถ่านตามตลาดจะเผาด้วยเตาหลุมผี หรือการขุดหลุมแล้วเผา การเผาทั่วไปต้องใช้น้ำดับ ซึ่งถ่านที่ได้จากการเผาวิธีนี้จะมีสารทาร์ (TAR) หรือสารตั้งต้นของมะเร็ง  แต่การเผาถ่านแบบใช้ถังน้ำมันขนาด 200 ลิตร เป็นการเผาบริสุทธิ์ที่จะได้ถ่านที่ไม่มีสารพิษ

ศูนย์ศรียวงเปิดให้ผู้ที่สนใจศึกษาด้านการทำเกษตรทฤษฏีใหม่เข้ามาเรียนรู้ได้ มีทั้งหน่วยงานภาครัฐ และสถานศึกษาจำนวนมากเข้ามาศึกษาดูงาน และนำความรู้นี้กลับไปต่อยอด รวมถึงการนำหลักการจากฐานเรียนรู้ต่าง ๆ ไปปรับใช้ และพัฒนาไปสู่อาชีพเกษตรกรแบบยั่งยืน

ศูนย์การเรียนรู้ศูนย์ศรียวง

Comments are closed.