breaking news

การจัดการของเพจสื่อ เมื่อต้องสู้กับความรุนแรงความคิดเห็นออนไลน์

พฤษภาคม 1st, 2020 | by administrator
การจัดการของเพจสื่อ เมื่อต้องสู้กับความรุนแรงความคิดเห็นออนไลน์
CB59318
0

สิทธิในการแสดงความเห็น เป็นสิทธิที่ทุกคนนั้นสามารถจะแสดงความเห็นออกมาจากความรู้สึกนึกคิดได้ ไม่ว่าจะเป็นต่อหน้าหรือการแสดงความคิดเห็นในโลกออนไลน์ แต่การใช้สิทธิในการแสดงความเห็นนั้นก็จะต้องอยู่ภายใต้กรอบกฎหมาย ที่ไม่ไปละเมิดสิทธิหรือบั่นทอนจิตใจผู้อื่น โดยเฉพาะการแสดงความคิดเห็นในโลกออนไลน์ที่ถือว่าในยุคสมัยนี้มีการแสดงความคิดเห็นในโลกออนไลน์ได้ทุกเวลา ทุกทีไม่มีการจำกัด ในทางเพจสื่อมวลชนออนไลน์จึงมีวิธีในการจัดการกับความเห็นประเภทนี้

นายระวี ตะวันธรงค์ ตำแหน่ง Senior Vice President สำนักข่าวสปริงนิวส์ออนไลน์ และนายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ได้ให้สัมภาษณ์กับทางทีมข่าวเฉพาะกิจไร่ส้มในประเด็นนี้ว่าปัจจุบันทางสำนักข่าวนั้นจะมีคอนเทนต์หรือข่าวสารมากกว่าร้อยชิ้นในแต่ละวัน ดังนั้นในเรื่องของการแสดงความคิดเห็นจากผู้อ่านเยอะเช่นกัน ในส่วนของการจัดการนั้นจะไม่สามารถจัดการได้ทุกคอมเมนต์ได้ จึงต้องเลือกประเภทของคอมเมนต์ในการจัดการ ซึ่งประเภทของความคิดเห็นที่จำเป็นต้องจัดการนั้นคือการปิดความคิดเห็นที่มีการแสดงความคิดเห็นสุ่มเสี่ยงที่หมิ่นต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์  พื้นที่ของสื่อมวลชนในออนไลน์ไม่ควรเป็นพื้นที่ของการทะเลาะเบาะแว้ง ในส่วนประเภทที่สองคือกรณีบุคคลที่สาม คือเป็นกรณีของบุคคลที่สามเข้ามมาแสดงความคิดเห็นกับส่งที่อยู่ในข่าว เช่นการใช้ภาพที่เกี่ยวกับเด็กที่ต่ำกว่าอายุ 18 ปี ซึ่งในข่าวนั้นไม่ได้มีการเปิดเผยสิ่งที่สามารถระบุตัวตนได้ว่าเด็กนั้นคือใคร แต่ก็มีคนที่นำภาพของเด็กที่อยู่ในข่าวมาแสดงความเห็นในหน้าโพสต์ ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิสเด็ก ทางเพจสำนักข่าวต้องปิดความคิดเห็นนั้นให้เร็วที่สุด ในอีกกรณีหนึ่งคือมีบุคคลที่สามมาแสดงความคิดเห็นอ้างสิทธิมาชี้แจงกับสิ่งที่เกิดขึ้นในข่าว ทางเพจจะต้องมีการตรวจสอบว่าคำชี้แจงนั้นเป็นจริงหรือเท็จ หากเป็นจริงก็จะมีการติดต่อเพื่อนำข้อมูลมาใช้เพิ่มเติมในข่าว

“มีการเกิดคู่กรณีของข่าวรถชนกันสองคัน ปรากฏว่ามีคนมาคอมเมนต์ซึ่งเป็นญาติของคู่กรณีหนึ่งในนั้น เราก็ต้องไปดูว่าใช่ตัวจริงหรือเปล่า ถ้าเป็นตัวจริงเราจะติดต่อไปเพื่อไปเอาข้อมูลความเห็นเพิ่มเติม เพื่อเป็นอีกแหล่งข่าวหนึ่งเพื่อใช้ต่อ แต่ในกรณีที่เป็นแค่การคัดลอกไปมาแล้วแชร์ เราจะปล่อยผ่าน แต่ถ้ามีการระบุชื่อที่ส่อไปในทางละเมิดสิทธิเราจะต้องลบคอมเมนต์นั้น” นายระวีกล่าว

จัดการการพุดคุยความรุนแรงบนโซเซียลมีเดียอย่างไรบ้าง ?

ในเรื่องการจัดการการพูดคุยความรุนแรงนายกสมาคมฯ อธิบายว่าตนเองจะใช้วิธีการพูดคุยอ้อม ๆ เช่นเมื่อเกิดการแสดงความคิดเห็นรุนแรง จะต้องดูเลเวลของความรุนแรง บางทีแสดงความคิดเห็นรุนแรงแบบตีกันลอย ๆ แล้วก็จากไปในการจัดการก็จะไม่ทำอะไร แต่ถ้ามีการตอบโต้ถึงขั้นสุ่มเสี่ยงผิดกฎหมายหรือละเมิดสิทธิผู้อื่นจะต้องปิดแสดงความคิดเห็น บางความรุนแรงไม่ได้เกิดบนโซเซียลมีเดียเท่านั้น แต่มันไปเกิดบนโลกจริงด้วย เช่น ข่าวคนทะเลาะกันเรื่องฆาตกรรม ในข่าวจะไม่มีการเปิดเผยชื่อหรือบ้านของผู้เสียหาย แต่ปรากฏว่ามีคอมเมนต์มาระบุชื่อหมู่บ้านตำแหน่งของบ้าน ทำให้คนบนโซเซียลบุกไปถล่มบ้านเขา อย่างนี้เราต้องลบความคิดเห็นเพราะมันเป็นข้อมูลส่วนบุคคล

ส่วนการลบคอมเมนต์ยิ่งจะเป็นการเพิ่มหรือลดความรุนแรงนั้นเป็นสิ่งที่ตอบบยาก  ในบางทีมีการลบคอมเมนต์คนที่มาแสดงความคิดเห็น คนนั้นยังไม่รู้ตัวเลยว่ามีการลบคอมเมนต์ขึ้น แต่ในบางกรณีคือมีการตั้งใจเพื่อให้เกิดประเด็นจากการที่ทางเพจลบคอมเมนต์ แต่ก็ต้องดูว่าหากเป็นเรื่องที่เขาผิดจริงจะเราต้องปล่อยผ่าน เขาจะไปโวยวายที่อื่นต่อก็ต้องปล่อยเขาไปเพราะเขาผิดจริง ทุกคนก็จะบอกว่าตัวเองนั้นถูกหมดเวลามีประเด็นต่าง ๆ ขึ้น

“ถ้าถามว่าแล้วจะแก้ไขได้ไหม สามารถแก้ได้บางกรณีเท่านั้น เช่น เคยมีเคสที่เกิดความรุนแรงบนเพจข่าวแล้ว หลายปีแล้ว พี่ก็ไปแก้เองเป็นกรณีผู้ชายทะเลาะกันในคอมเมนต์ของข่าวเรา ทะเลาะกันไปมา พี่ก็แกล้งทำเป็นแอดมินผู้หญิง ไปคุยอ้อม ๆ แบบรูปโปรไฟล์น่ารักจังเลย ไม่น่าหัวร้อนนะคะ คุยไปแล้วเขาก็ตอบคอมเมนต์ยาวเลย คุยไปมาจนอินบ็อกซ์มาขอเบอร์แอดมิน และเขาก็หยุดทะเลาะกันได้ เราสามารถใช้วิธีนี้หลีกเลี่ยงได้” นายระวีกล่าว

 การวางตัวของคนทำสื่อเมื่อเกิดประเด็นความรุนแรง?

นายกสมาคมฯ บอกว่าข้อมูลที่ต้องเผยแพร่แต่ละครั้งนั้นต้องเป็นกลางที่สุด คนทำสื่อออนไลน์จะไม่เหมือนสื่อโทรทัศน์ ถ้าสังเกตคนที่โตมากับโทรทัศน์ยุคนี้ จะเห็นว่าสื่อบางช่องจะเอนเอียง เพราะรู้ว่าอีกฝ่ายหนึ่งผิดแน่ ๆ ก็มีการกล่าวหาอีกฝ่ายอย่างดุเดือด คนที่ทำสื่อบนโซเซียลมีเดียจะไม่สามารถทำแบบนั้นได้ แต่ก็มีวิธีการที่สามารถทำคล้ายคลึงแบบนั้นได้ อาทิคู่กรณี ก กับ ข คู่กรณี ก มีคีย์เวิร์ดบางอย่างที่เป็นไฮไลท์ เราก็นำเอาคีย์เวิร์ดนั้นมาใส่ไว้ในแคปชั่น แต่จะใส่แบบเฉย ๆ ไม่ได้ เช่น เกิดกรณีรถชนกัน หากแอดมินไปใส่แคปชั่นในข่าวนี้ว่า “ทำไมนาย ก ทำรุนแรงกับนาย ข อย่างนี้” กรณีอย่างนี้เราทำไม่ได้ แต่จะต้องนำคำของนาย ก มาใส่ในแคปชั่นว่านาย ก ได้พูดอะไรไว้และต้องใส่รายละเอียดระบุอย่างชัดเจน

วิธีการจัดการตัวเองของแอดมินสื่อเมื่อเกิดกระแสตีกลับ

นายกสมาคมฯ ชี้แจงว่าหากเกิดกระแสตีกลับมาหาตนเอง มันมีหลายแบบมีทั้งแบบผิดจริงและเข้าใจผิด ส่วนตัวนั้นเคยทำเพจไทยรัฐแล้วตนนั้นมีการนำข่าวจากต่างประเทศมาแปล เนื้อหาในข่าวระบุว่าประธานาธิบดีวลาดีมีร์ ปูติน ได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับเรื่องนิวเคลียร์ ประมาณ 4 ปีที่แล้ว ปรากฏว่าสิ่งที่ตนแปลมานั้นผิดเนื่องจากประธานาธิบดีไม่ได้ให้สัมภาษณ์ แล้วนักข่าวที่ลงก็ลบโพสต์หนี แต่เราได้ลงข่าวนั้นไปแล้ว ก็มีคนมาคอมเมนต์ด่าเป็นร้อย ๆ คอมเมนต์ ว่าข่าวที่ลงไม่น่าเชื่อถือ ทำไมเพจข่าวทำแบบนี้ สิ่งที่เราทำคือเราต้องแก้ไขสถานการณ์คือการแถลงชี้แจงและขอโทษด่วนทันที ในหลักของโซเซียลมีเดียถ้าเราทำผิด เราตรวจสอบแล้วว่าเราผิดจริง เราจะต้องออกมาขอโทษภายใน 6 ชั่วโมง หากเป็นเมื่อ 3 ที่แล้วต้องขอโทษภายใน 24 ชั่วโมง แต่ทุกวันนี้ต้อง 6 ชั่วโมงเพราะหากสังเกตฟีดที่เราเห็นในโซเซียลมีเดียทุก3ชั่วโมงจะมีการเปลี่ยนคอนเทนต์ตลอด ถึงแม้ข่าวนั้นจะแชร์ว่อนคอมเมนต์เยอะเท่าไหร่ เวลาเพียงนิดเดียวข่าวนั้นก็จะหายหมดจากฟีด เพราะจะมีเนื้อหาใหม่มากลบเนื้อหาเก่าตลอดเวลา ดังนั้นเราจึงต้องขอโทษให้เร็วที่สุด 

กรณีที่สองคือเกิดจากการคลาดเคลื่อน คือเขาเข้าใจผิด เราก็ต้องชีแจงบางส่วนเช่นเรายืนยันว่าข่าวที่ลงไปถูกต้อง มีข้อมูลมาชี้แจง ถ้าเราได้โพสต์พร้อมใส่ลิงค์ข่าวไปแล้ว เราอาจจะนำเอาคีย์เวิร์ดของแหล่งข่าวหรือเนื้อหาข่าวนั้น มาทำเป็นโค้ดคำพูดเพื่อออกมาเพื่อยืนยันในสิ่งที่ถูกต้อง

“สองแบบนี้ต้องละมุนละม่อมพอสมควรเพราะทุกภาษาที่พูดออกไปต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ซึ่งการพิจารณาจะเป็นของกองบรรณาธิการ หากถึงเลเวลที่มันรุนแรงมันเจ้าหน้าที่แอดมินก็จะต้องแจ้งไปยังระดับบ.ก.หรือผู้ที่เป็นหัวหน้าว่าจะต้องแก้อย่างไร จะปล่อยให้แอดมินแก้เองไม่ได้เพราะการพิม์อะไรไปนิดเดียวมันจะเป็นการเติมไฟให้หนักกว่าเดิม” นายระวีกล่าว

ทีมข่าวเฉพาะกิจไร่ส้ม รายงาน

Share This:

Comments are closed.