“แชมป์” เจ้าของธุรกิจขายปลาสายพันธุ์แปลก เผยวิธีการสร้างธุรกิจขายปลาให้ประสบความสำเร็จ พร้อมทั้งบอกกลยุทธ์ในการขายปลากับรายได้หลักแสนต่อเดือน
นายพงศธร ไกรว่อง หรือแชมป์ อายุ 29 เจ้าของร้าน “อพิโตไลฟ์” ร้านขายปลานำเข้าจากต่างประเทศ เล่าให้ทีมข่าว The Prototype ฟังว่า จุดเริ่มต้นของการเปิดร้านเนื่องจากเจ้าของร้านชอบเลี้ยงปลาสายพันธุ์เล็กและชอบเลี้ยงปลาสายพันธุ์แปลก เลี้ยงจนสามารถเพาะสายพันธุ์ได้ จึงเลี้ยงแล้วเพาะพันธุ์ขายมาเรื่อย ๆ จากนั้นได้รู้จักกับรุ่นพี่คนหนึ่งซึ่งทำธุรกิจร้านขายปลาชื่อ “บีสมาย” และได้ชักชวนให้มาร่วมธุรกิจด้วยกัน
จากเรียนจบจึงลองเปิดร้านเองและขายแบบปลาที่ตัวเองสนใจ โดยใช้ความรู้และประสบณ์การที่มีมาขาย เน้นคุณภาพเป็นหลัก ส่วนใหญ่เน้นปลาสายพันธุ์แปลก ๆ เป็นปลาเล็ก เพราะต้องการตอบสนองความต้องการของกลุ่มคนที่มีพื้นที่ในการเลี้ยงปลาอย่างจำกัด เป้าหมายหลัก ๆ ของแชมป์คือการนำเสนอปลาที่แปลกใหม่ให้กับกลุ่มคนที่เลี้ยงทั่วไปได้รู้จักสายพันธุ์ปลามากขึ้น อาจจะเป็นปลากลุ่มเดิมแต่หายาก หรือมีลักษณะพิเศษ โดยการนำเข้ามาจากหลากหลายประเทศทั่วโลก และเป้าหมายที่ไกลกว่านั้นในอนาคต คืออยากเพาะพันธุ์และส่งออกนอกประเทศอีกด้วย อย่างปลาสายพันธุ์ Dicrossus,ปลากัดอมไข่,ชูคาโน่เตตร้า แหล่งจับปลาชนิดนี้อยู่ตอนเหนือของบลาซิล หมู่บ้านทูคาโน่ แล้วนำกลับมาพักไว้ที่เมืองมาเนาว์ เพื่อที่จะนำส่งเข้าประเทศไทย
ตลอด 5 ปีที่ผ่านมาถือว่าธุรกิจประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง เพียงแต่ว่าอาจจะด้วยเรื่องเศรษฐกิจหรือมาตรการการนำเข้าปลาในประเทศไทยค่อนข้างยุ่งยาก จึงยังไม่ถึงในระดับที่ฝันไว้ แต่โดยรวมถือว่าอยู่ในทิศทางที่ดี การนำเข้าปลามาขายในทุกครั้ง มีมูลค่าการนำเข้าค่อนข้างสูงและมีความเสี่ยงที่จะขายไม่ได้ เพราะปลาอาจมีสุขภาพที่ไม่ดีจากการขนส่งระยะไกล แชมป์ยังบอกอีกว่า “ถ้าเรามีประสบการณ์มากพอมันไม่มีทางที่จะล้มเหลวได้ขนาดนั้น ยกเว้นจะมีคนเข้ามาทำธุรกิจปลามากขึ้น เลียนแบบการขายเพิ่มขึ้น ต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การขาย
แรกๆ ร้านจะเป็นปลาทั่วไปที่เป็นตลาด Mass Market ตัวละ 10 ถึง 20 บาท คนทั่วไปสามารถซื้อไปเลี้ยงได้” ซึ่งการขายแบบเน้นคุณภาพ เลือกปลาที่มีสีสันสวย จะช่วยทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นในระดับหนึ่ง หลังจากนั้นต้องพัฒนาระบบของร้าน เขียนราคาหน้าตู้ให้ลูกค้าเห็นราคาชัดเจน และลองเปลี่ยนเป็นปลาสายพันธุ์แปลกและหายาก เช่นสายพันธุ์ Dicrossus ขายได้ถึงตัวละ 250-7,000 บาท นอกจากนี้การโปรโมทร้านทางสื่อสังคมออนไลน์ยังช่วยทำให้ลูกค้าเห็นภาพปลา และสร้างรายได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย
ทั้งนี้ธุรกิจการนำเข้าปลามาขายนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องมีการสะสมประสบการณ์ เพราะปลาแต่ละชนิดมีการใช้ชีวิตไม่เหมือนกัน จึงต้องใช้ประสบการณ์ค่อนข้างสูง นอกจากนี้หลายคนอาจอยากเลี้ยงปลาเพราะความสวยงาม หรือเพราะความชอบเท่านั้น แต่หากจะทำให้เป็นธุรกิจปลาที่ขายต้องตรงกับความต้องการของลูกค้าหรือขายให้แตกต่าง เพราะในธุรกิจขายปลามีการแข่งขันสูง จึงต้องหาจุดเด่นในการขาย เพื่อให้ธุรกิจสามารถอยู่รอดและประสบความสำเร็จได้
อีกหนึ่งธุรกิจการประกวดปลาปอมปาดัวร์
“แชมป์” ทำการเพาะพันธุ์ปลาปอมปาดัวร์เพื่อส่งเข้าประกวด เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ทำควบคู่กัน สำหรับคนที่ไม่มีประสบการณ์ ไม่แนะนำให้ทำเป็นอาชีพหลักเนื่องจาก การอนุบาลลูกปลาค่อนข้างยาก และใช้เวลา แต่สำหรับคนมีประสบการณ์เลี้ยงอยู่แล้ว สามารถทำเป็นอาชีพหลักได้ หากปลาเสียหายน้อย ทำปริมานมากพอจะมีปลาขายตลอด หากทำในปริมานน้อยเกินไป บางครั้งลูกปลาออกมาได้จำนวนไม่เยอะ จะไม่สามารถครอบคลุมค่าใช้จ่ายคงที่ของเราได้ อีกทั้งลูกปลาที่เพาะออกมาอาจจะมีบางตัวขายไม่ได้ พิการ หรือตายระหว่างทาง สำหรับคนที่อยากทำเป็นอาชีพ และสำคัญที่สุดเราต้องรู้จักตลาดของเรา ว่าตอนนี้ตลาดที่เราอยากเข้าไปขายเขาเล่นปลาแบบไหน ราคาประมานไหน ขนาดเท่าไหร่ถึงจะดี ปัจจุบันนักเพาะพันธุ์ปลาต่างๆ พยายามสรรหาสายพันธุ์ใหม่ๆ เพื่อทำรายได้เพิ่มขึ้น
ปอมปาดัวร์หรือเรียกอีกชื่อคือ “Discus” มีถิ่นกำเนิดบริเวณตอนใต้ของลุ่มน้ำอเมซอน ปลาปอมปาดัวร์ มีลักษณะรูปร่างคล้ายจาน ปากเล็ก มีสีสันสวยงามลวดลายเยอะ โดยธรรมชาติมี 3 สปีชีส์ บางตำราแยกเป็น 4 สปีชีส์ เช่น Brown Discus พื้นผิวสีน้ำตาลตามลักษณะชื่อย่อยได้มากมายหลายชนิด เป็นรอยัล โซมิรอยัล โซนิคเรด ลักษณะมีบาร์หนาตรงกลางมีลวดลายรอยัลคล้ายๆกัน พื้นฐานของปลาที่เลี้ยงอยู่ในปัจจุบันพัฒนามาจากปลาสามชนิดนี้เป็นหลัก ปอมปาดัวย์เข้ามาในประเทศไทยค่อนข้างนานประมาน30ปี เริ่มแรกปอมปาดัวย์เข้ามาในบ้านเราจะเป็นพวกปลา 5สี7สี
พัฒนาจากปลาสายพันธุ์บราวมีสีสันลวดลายคล้ายๆปลาป่าสีไม่จัดจ้านเน้นพื้นสีน้ำตาลตัดด้วยลายเทอร์ควอยซ์สีฟ้า มีการพัฒนามากขึ้นเรื่อยๆจนมีเป็นปลาออกแนวโซลิค ที่เข้ามาไทยแรกๆที่คนนิยมมากเป็นโคบอลบลู เป็นปลาลักษณะสีฟ้าทั้งตัวและมีบาร์คาดตรงตาเป็นปลาที่ค่อนข้างผ่าเหล่าออกมาเด่นชัดอุตสาหกรรมปอมปาดัวย์ในประเทศไทย เป็นประเทศที่ส่งออกปลาเยอะมากชนิดหนึ่ง ปลาที่ขึ้นชื่อบ้านเราสายพันธ์เช็คเกอร์บอร์ด เป็นปลาสายพีเจี้ยนเป็นปลาที่เกิดจากการเพาะพันธุ์พันผ่าเหล่าออกมาครั้งแรกในประเทศไทย เป็นปลาตัวสีขาวตัดด้วยลวดลายสีแดง คล้ายๆตารางหมากรุกเราเลยเรียกว่าเช็คเกอร์บอดส่วนตระกูลปลาแดงก็เป็นอีกหนึ่งสายพันธุ์ที่หลุดผ่าเหล่ามาจากปลาบราวมีสีแดงล้วน ปัจจุบันปอมปาดัวย์เป็นที่นิยมมาก
สำหรับงานประกวดปลาปอมปาดัวร์ ปัจจุบันในกรุงเทพเหลือแค่งาน “วันประมงน้อมเกล้า” เพียงที่เดียว จัดขึ้นที่ศูนย์การค้า Zpell โดย กรมประมง ในช่วงประมานเดือน มิ.ย.-ก.ค. ของทุกปี จัดเป็นเวลาติดต่อกันนาน7วัน สำหรับปลาที่เราจะลงประกวดจะต้องนำมาลงตู้ในงานก่อนวันจริง1วัน และจะมีการตัดสินในวันถัดมา สำหรับถ้วยรางวัลในงานจะเป็นถ้วยพระราชทาน จาก สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์