breaking news

“น้ำบาดาล”อีกหนึ่งทางเลือกแก้ปัญหาภัยแล้ง

กรกฎาคม 13th, 2015 | by administrator
“น้ำบาดาล”อีกหนึ่งทางเลือกแก้ปัญหาภัยแล้ง
Me Style
0

      กรมชลประทาน เผยสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำมีไม่มากนักจึงลดปริมาณการปล่อยน้ำจาก 4 เขื่อนใหญ่โดยปี 2558 ปริมาณน้ำฝนลดน้อยลง เนื่องจากปรากฏการณ์เอลนีโญ ส่งผลให้ภาพรวมน้ำฝนในปี 2558 มีไม่มาก กรมทรัพยากรน้ำบาดาลจึงได้เพิ่มการขุดเจาะบ่อน้ำบาดาลเพื่อช่วยเหลือเกษตรที่ประสบภัยแล้ง ใช้งบประมาณกว่า 175 ล้านบาท คาดว่าจะสามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 20 กรกฎาคม 2558

     ด้าน นาง อรัญญา เฟื่องสวัสดิ์ รองอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล เผยว่า กรมทรัพยากรน้ำบาดาล เพิ่มการขุดเจาะน้ำบาดาล จากเดิม 500 แห่ง เป็น 511 แห่ง เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาและภาคเหนือตอนล่างที่ประสบภัยแล้งโดยเฉพาะพื้นที่ปลูกข้าวโดยสามารถขุดเจาะได้แล้ว 271 แห่ง สามารถดึงปริมาณน้ำใต้ดินมาใช้ประโยชน์ได้ถึง 111,889,60 ลูกบาศก์เมตรหากดำเนินการตามแผนงานได้สำเร็จจะสามารถช่วยเหลือพื้นที่เกษตรกรให้สามารถสามารถสูบน้ำบาดาลมาใช้ได้ประมาณ  350,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน โดยมีพื้นที่ได้รับผลประโยชน์จากน้ำบาดาลประมาณ 100,000 – 130,000 ไร่ ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 175.64 ล้านบาท โดยจะเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 20 กรกฎาคม 2558

109.35 ลูกบาศก์เมตรต่อปี มีการใช้ไปแล้วทั้งสิ้น 869.91 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ซึ่งเหลือน้ำบาดาลที่จะนำมาใช้ได้โดยไม่เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ประมาณ 9,935.13 ลูกบาศก์เมตรต่อปี หรือประมาณ 27 ร้านทุกบาศก์เมตรต่อวัน การพัฒนาน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ ยังมีข้อจำกัดในหลายด้าน อาทิ ระยะห่างระหว่างบ่อไม่น้อยกว่า 200 เมตร เพื่อไม่ให้เกิดการแย่งน้ำระหว่างบ่อน้ำบาดาล และต้องควบคุมระดับการลดตัวลงของแต่ละชั้นน้ำบาดาลไม่ให้เกิน 3 เมตร จากระดับน้ำปกติ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในด้านต่างๆ อีกทั้งการขุดเจาะบ่อน้ำบาดาลยังสามารถเก็บบ่อน้ำบาดาลไว้ใช้ประโยชน์ในฤดูกาลถัดไปได้

     ทั้งนี้กรมชลประทานเผย สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ และขนาดกลาง ปี 2559 น้อยกว่าปี 2556 ถึง 5,310 ล้านลูกบาศก์เมตร ทำให้การปล่อยน้ำจากสี่เขื่อนขนาดใหญ่ ลดลงจาก 33 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือประมาณ 25 ล้านลบ.ม. สามารถหล่อลี้ยงในการทำการเกษตร ที่มีการเพาะปลูกไปแล้ว ประมาณ 3.45 ล้านไร่ มีพื้นที่ดอนเสี่ยงต่อ น้ำไปไม่ถึง ที่มีการปลูกข้าวแล้วจำนวน 850,000 ไร่ โดย     นายสงกรานต์ อักษร รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยาเผยว่า ปริมาณน้ำฝนมีน้อยในช่วงปี 2557  เมื่อเข้าสู่ปี 2558 ปริมาณฝนลดน้อยลง เนื่องจากปรากฏการณ์เอลนีโญ ภาพรวมน้ำฝนในปี 2558 จึงมีไม่มากนัก

กรชนก ศรีสุข

Share This:

Comments are closed.