breaking news

“ผ้าขาวม้าร้อยสี” สะท้อนความสามัคคีของชุมชนหนองขาว

มิถุนายน 24th, 2015 | by administrator
“ผ้าขาวม้าร้อยสี”  สะท้อนความสามัคคีของชุมชนหนองขาว
Master & Apprentice
0

       ชุมชนบ้านหนองขาว จ.กาญจนบุรี มุ่งพัฒนาชุมชนเข้มแข็ง สืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น “ผ้าขาวม้าร้อยสี” เน้นสร้างความสามัคคีในชุมชน และสร้างวิถีชีวิตที่ดีในชุมชนแบบยั่งยืน

       ผ้าขาวม้าร้อยสี ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของชุมชนชาวหนองขาว อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่เกิดจากการร่วมมือร่วมใจถักทอขึ้นด้วยวิธีการทอกี่กระตุก ซึ่งเป็นวิธีการทอผ้าแบบโบราณ ใช้มือในการกระตุกคันกระตุก ที่มีการถักทออย่างประณีต นิยมใช้ด้ายสีต่าง ๆ กว่า 100 สี ในการถักทอ ทำให้เกิดความวิจิตรงดงามบนลายผ้าที่โดดเด่น อีกทั้งผ้าขาวม้าในชุมชนยังมีชุมชนบ้านหนองขาว จ.กาญจนบุรี มุ่งพัฒนาชุมชนเข้มแข็ง  สืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น “ผ้าขาวม้าร้อยสี” เน้นสร้างความสามัคคีในชุมชน และสร้างวิถีชีวิตที่ดีในชุมชนแบบยั่งยืน

       ผ้าขาวม้าร้อยสี ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของชุมชนชาวหนองขาว อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่เกิดจากการร่วมมือร่วมใจถักทอขึ้นด้วยวิธีการทอกี่กระตุก ซึ่งเป็นวิธีการทอผ้าแบบโบราณ ใช้มือในการกระตุกคันกระตุก ที่มีการถักทออย่างประณีต นิยมใช้ด้ายสีต่าง ๆ กว่า 100 สี ในการถักทอ ทำให้เกิดความวิจิตรงดงามบนลายผ้าที่โดดเด่น อีกทั้งผ้าขาวม้าในชุมชนยังมีสีสดใส ลวดลายแปลกตา เนื้อผ้าเป็นมันวาวคล้ายผ้าไหม  ดูแลรักษาง่าย ทนทาน สีไม่ตก สามารถใช้งานได้ยาวนานจึงเป็นของดีของผ้าขาวม้าตำบลหนองขาวจวบจนทุกวันนี้  ขาวม้าร้อยสีแต่ละผืนจึงสวยงามแตกต่างกันออกไปตามจินตนาการสร้างสรรค์ของผู้ทอผ้า จึงเป็นที่มาของคำว่า “ผ้าขาวม้าร้อยสี”

       จากเดิมชาวบ้านชุมชนหนองขาวมีอาชีพทำนาเป็นอาชีพหลัก การทอผ้าขาวม้าจึงเป็นเพียงอาชีพเสริมของชาวบ้านในชุมชนเท่านั้น  แต่เมื่อนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้มีการประกาศงดทำนาชั่วคราวเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2557 เพราะประสบปัญหาภัยแล้ง ประกอบกับปัญหาเศรษฐกิจที่กระทบกับการดำรงชีวิตของชาวบ้านในชุมชน ชาวบ้านจึงหันมาทอผ้าขาวม้าร้อยสีมากขึ้นเพื่อนำรายได้มาทดแทนส่วนที่หายไป
11180265_879594098772482_1507188245_n
       นางอารีรัตน์ พฤฑฒิกุล วิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับผ้าขาวม้าร้อยสี และผู้ริเริ่มถ่ายทอดวิธีการทอผ้าขาวม้าร้อยสีให้กับชุมชนบ้านหนองขาวได้กล่าวถึงแนวทางการปรับตัวของคนในชุมชนไว้ว่า ชาวบ้านได้มีประยุกต์ผ้าขาวม้าลายดั้งเดิมเข้ากับลายผ้าสมัยใหม่ เช่น ลายลีลาวดีลูกศร ลายมังกรคาบแก้ว ทำให้มีลวดลายบนผ้าขาวม้าแปลกตาไปจากที่อื่น และมีการนำเศษผ้าที่ถูกตัดทิ้งมาใช้ประโยชน์ใหม่ในการแปรรูปสินค้ากลายเป็นสิ้นค้า OTOP ของชุมชน เช่น กางเกง กระเป๋า เสื้อผ้าแฟชั่น รองเท้า  ส่งผลทำให้ตำบลหนองขาวมีการพัฒนาด้านการผลิตที่ดีขึ้น ตรงกับความต้องการของตลาดมากขึ้นในแง่ของเศรษฐกิจสร้างสรรค์

       ปัจจุบันผ้าขาวม้าร้อยสีเป็นที่รู้จักมากขึ้นในวงกว้าง เนื่องจากทางจังหวัดกาญจนบุรีได้มีการประชาสัมพันธ์ โดยจะเดินทางไปร่วมออกงานแสดงสินค้า เช่น ส่งตัวแทนจังหวัดออกไปยังจังหวัดต่างๆเพื่อทำให้ผ้าขาวม้าของดีของชุมชนหนองขาวเป็นที่ยอมรับในสังคมหน้าใหม่  และเป็นการเพิ่มจำนวนการส่งออกผ้าขาวร้อยสีไปในหลายจังหวัดเพื่อนำไปใช้การทำเป็นเสื้อลายผ้าขาวผ้า ที่ใช้ใส่ในงานสำคัญต่างๆ ในงานโรงเรียนประถมศึกษา และหน่วยงานรัฐบาล เช่น พระนครศรีธรรมราช ประจวบคีรีขันต์ เพชรบุรี พระนครศรีอยุธยา พิษณุโลก และบริเวณจังหวัดใกล้เคียงต่างๆ ทั้งนี้

       นางอารีรัตน์ ยังกล่าวว่า เป้าหมายอนาคต ต้องการทำให้ผ้าขาวม้าร้อยสีเป็นที่รู้จักในต่างประเทศ แต่เพราะหลายเหตุผลที่ไม่สามารถทำให้ส่งออกนอกประเทศได้ คือ ในเรื่องของการใช้ภาษา และระยะเวลาในการส่งผลิตภัณฑ์ การทอผ้าขาวม้าร้อยสีของคนในชุมชนหนองขาวเป็นการทอผ้าด้วยมือ จึงใช้ระยะเวลานานกว่าจะได้ผ้าหนึ่งผืน ถ้ามีการสั่งสินค้าในปริมาณจำนวนที่มาก ทางชุมชนหนองขาวจะไม่สามารถทอผ้าขาวม้าร้อยสีได้ในระยะเวลาที่ลูกค้ากำหนด อีกทั้งยังเสี่ยงต่อการถูกปรับ  จึงล้มเลิกความตั้งใจที่จะส่งผ้าขาวม้าร้อยสีไปยังต่างประเทศ เพราะคิดว่าถ้าโดนปรับครั้งหนึ่งมันไม่คุ้มต่อการทอผ้าขาวม้าทั้งชีวิต

 

11186314_879594072105818_1292996917_n

       ผ้าขาวม้าร้อยสีผืนหนึ่งก็เปรียบเหมือนกับความเข้มแข็งของคนในชุมชน ที่ผนึกกำลังช่วยกันถักทอมันออกมาด้วยความตั้งใจ และความสามัคคี  เงินก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ทำให้ชีวิตดำรงอยู่ได้ แต่ความรักและความสามัคคีของคนในชุมชนเราเป็นสิ่งสำคัญยิ่งกว่า เพราะถ้าขาดด้ายเส้นใดเส้นหนึ่งไป ก็จะทำให้ผ้าผืนหนึ่งเกิดขึ้นไม่ได้ ผ้าขาวม้าร้อยสีสะท้อนความรัก ความสามัคคีของคนในชุมชน จากการช่วยเหลือเกื้อกูลกันในทุกๆเรื่อง มีการจัดงานครั้งหนึ่งก็เหมือนมีกำลังพลในการจัดงานเป็นพัน เพราะเหตุนี้ทางจังหวัดจึงเร่งเห็นการรวมตัวของคนในชุมชนที่    เข้มแข็ง เวลาทางจังหวัดมีการจัดงานประเพณีต่างๆต้องนึกถึงชาวหนองขาวเป็นที่แรกเพราะ การทำงานตำบลหนองขาวเป็นทีมเวิร์คที่ยิ่งใหญ่ และแข็งแรง

กมลชนก บุญเพ็ง

Share This:

Comments are closed.