breaking news

กฎหมายควบคุมและคุ้มครองจากการถูกกลั่นแกล้งผ่านทางโซเชียล Cyber bullying

มกราคม 28th, 2018 | by administrator
กฎหมายควบคุมและคุ้มครองจากการถูกกลั่นแกล้งผ่านทางโซเชียล Cyber bullying
Media Literacy
0

ในปัจจุบันเทคโนโลยีเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมาก ซึ่งเป็นสิ่งที่เข้ามามีบทบาทในชีวิตของเรามากยิ่งขึ้น สังเกตได้จากการที่เราตื่นนอนก็กดเปิดเฟซบุ๊กเป็นอย่างแรก ดูว่าใครทำอะไร ที่ไหน มีข่าวอะไรอัพเดทบ้าง ยิ่งเทคโนโลยีโตเร็วมากแค่ไหนก็ยิ่งมีภัยร้ายจากโลกออนไลน์ที่เราอาจพบเจอ เพียงแค่ปลายนิ้วมือ ก็อาจพลิกชีวิตของคนหนึ่งคนได้

Cyber bullying หรือการกลั่นแกล้งในโซเชียล กลายเป็นเรื่องใหญ่ที่ไม่สามารถมองข้ามได้ เพราะเป็นประเด็นที่กระทบถึงเยาวชน และหลายคนกำลังมองเป็นเรื่องปกติ นั่นทำให้เกิดการใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างผิดๆ เช่น อีเมล, การส่งข้อความ, บล็อก, เว็บไซต์, ชุมชนออนไลน์, ข้อความ, และโทรศัพท์ สิ่งที่นักเลงไซเบอร์ตั้งใจคือการแสดงความเป็นศัตรูหรือแสดงออกในแง่ลบต่ออีกฝ่ายนั่นเอง โดยวิธีการนั้น อาจรวมถึงการเปิดเผยสิ่งพิมพ์หรือการส่งผ่านข้อมูลที่เป็นเรื่องส่วนตัวของคนหนึ่งไปยังสถานที่สาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของ กำลังแพร่กระจายออกไป โดยที่ไม่รู้ว่ามีผลเสียรออยู่ในอนาคต

พ่อเชิญคนที่เคยกลั่นแกล้งมางานศพลูกสาว เพื่อดูผลของสิ่งที่พวกเขาคิดว่าเป็นเรื่องสนุก

Cyberbullying ภัยใกล้ตัวบนโลกออนไลน์ที่ไม่ควรมองข้าม

คุณเคยแกล้งเพื่อนใน Facebook ไหม?

“นักจิตวิทยา” เผย Cyberbullying นำพาสู่โรคซึมเศร้า

หากพูดถึงในด้านกฎหมายนั้น ยังไม่มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยตรง แต่ยังสามารถนำกฎหมายที่มีอยู่มาปรับใช้ได้ เช่น กฎหมายประมวลผลอาญา มาตรา 397 ผู้ใดกระทำด้วยประการใดๆ ต่อผู้อื่น อันเป็นการรังแก ข่มเหง คุกคาม หรือกระทำให้ได้รับความอับอายหรือเดือดร้อนรำคาญ ต่อหน้าสาธารณะ หรือธารกำนัล มีโทษต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ความผิดนี้ อาจแยกได้เป็น 2 ความผิด

ความผิดที่ 1 องค์ประกอบภายนอก คือ กระทำด้วยประการใดๆ ในที่สาธารณสถาน หรือต่อหน้าธารกำนัล อันเป็นการรังแกหรือข่มเหงผู้อื่น และประกอบด้วยองค์ประกอบภายในคือเจตนา ธรรมดา

ความผิดที่ 2 องค์ประกอบภายนอกคือ กระทำให้ผู้อื่นได้รับความอับอายหรือเดือดร้อนรำคาญ ในสาธารณสถานหรือต่อหน้าธารกำนัล

แต่หากมีการแกล้งกลั่นแกล้งในโลกออนไลน์ จนทำให้เกิดอาการกลัวหรือมีการขู่เข็ญไม่ว่าจะเป็นในทางด้านใดก็ตามจะมีความผิดตามกฎหมายอาญา มาตรา 293 ผู้ใดช่วยหรือยุยงเด็กอายุยังไม่เกิน 16 ปีที่ไม่สามารถเข้าใจว่าการกระทำของตนมีสภาพหรือสาระสำคัญอย่างไร หรือทำให้ตนเองดูด้อยค่า จนไปถึงการฆ่าตัวตาย มีโทษต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่มาตรา 293 มีข้อจำกัดสำหรับกรณีเด็กอายุไม่เกิน 16 ปี ดังนั้น จึงไม่ครอบคลุมถึงการคุ้มครองบุคคลอายุเกิน 16 ปีที่ยังอาจมีจิตใจที่ละเอียดอ่อนและฆ่าตัวตายจากการถูกกลั่นแกล้งรังแกบนโลกออนไลน์ นอกจากนี้ การฆ่าตัว ตายเป็นเพียงผลสืบเนื่องประการหนึ่งของการกลั่นแกล้งรังแกบนโลกออนไลน์เท่านั้น การกลั่นแกล้งรังแกทางอินเทอร์เน็ต อาจส่งผลกระทบในเชิงรูปธรรมอื่นที่มิใช่การฆ่าตัวตาย ซึ่งไม่อาจปรับใช้มาตรา 293 ได้

สำหรับความผิดในทางกฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์จะเน้นเกี่ยวกับข้อมูลด้านความมั่นคง และการให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ หรือหลอกลวงเพื่อให้ตนเองได้ประโยชน์ ซึ่งกฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ได้มีการปรับเปลี่ยนเป็น พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 เพื่อแยกความผิดเกี่ยวกับการหมิ่นประมาท แต่หากมีความผิดในข้อหาหมิ่นประมาท จะไม่มีความผิดในกฎหมายคอมพิวเตอร์

“การเปลี่ยนแปลงเริ่มจากอะไรบางอย่างที่เรียบง่ายในโลกออนไลน์ เช่น ความเห็นอกเห็นใจ หยุดการกลั่นแกล้งกัน ถึงแม้จะเริ่มจากคนเพียงคนเดียว ก็สร้างความแตกต่างได้”

Share This:

Comments are closed.