breaking news

ฝ่าวิกฤตน้ำเน่า “คลองแสนแสบ” เปิดแผนแก้อย่างยั่งยืน

พฤศจิกายน 27th, 2015 | by administrator
ฝ่าวิกฤตน้ำเน่า “คลองแสนแสบ” เปิดแผนแก้อย่างยั่งยืน
Special Report
0

“คลองแสนแสบ “ มลพิษทางน้ำในกรุงเทพมหานคร เป็นปัญหาอันดับหนึ่ง ที่ยังไม่มีหน่วยงานใดแก้ปัญหาได้ ชุมชนกมาลุลอิสลาม หนึ่งในชุมชนต้นแบบที่อาศัยอยู่ริมคลองแสนแสบสามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยแรงจากคนในชุมชน ในขณะที่หน่วยงานกรุงเทพมหานคร พยายามผลักดันโครงการบำบัดน้ำเสียให้ครอบคลุมคลองแสนแสบได้มากที่สุด

แม้จะมีมาตรการต่างๆ ของทางกรุงเทพมหานครออกมาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังแก้ปัญหาน้ำเน่าไม่ได้สักที จึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นในการลงพื้นที่สำรวจชุมชุนบริเวณคลองแสนแสบ เพื่อค้นหาชุมชนต้นแบบแห่งการแก้ไขปัญหาน้ำเสียคลองแสนแสบ

Untitled-2
ชุมชนกมาลุลอิสลาม ตั้งอยู่บริเวณคลองสามวา เป็นชุมชนที่ลุกขึ้นมา เพื่อต้องการแก้ไขปัญหาน้ำเน่าคลองแสนแสบอย่างจริงจัง  โดยมีมาตรการที่ทำอย่างสม่ำเสมอ นางสาว นภาลัย ขำมิน เลขานุการ ชุมชนกมาลุลอิสลาม เปิดเผยว่า  ทางชุมชนได้รณรงค์รักษา ดูแลบำบัดน้ำในลำคลองคลองแสนแสบมาตั้งแต่ปี 2522 โดยจุดที่ชุมชนรับผิดชอบดูแลนั้น อยู่บริเวณ เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร ระยะทาง 5 กิโลเมตร ซึ่งมาตรการที่ชุมชนได้ปฏิบัติมาตลอด คงหนีไม่พ้นในเรื่องของ การไม่ทิ้งขยะ ไม่ทิ้งน้ำเสียลงคูคลอง รวมถึงการเก็บผักตบชวาขึ้นจากคลอง นอกจากนี้ทางชุมชนได้มีการกำหนดเขตห้ามจับสัตว์น้ำ เพื่อต้องการอนุรักษ์ไว้ นอกจากนี้ยังทำน้ำหมักชีวะภาพ เพราะมองว่าสามารถบำบัดน้ำเสียได้ ซึ่งจะเห็นได้ว่า“มาตรการที่ชุมชนได้ใช้นั้น เป็นมาตรการรูปแบบ ง่ายๆ” แต่กลับประสบความสำเร็จและสามารถแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสียบริเวณคลองสามวาให้หมดไปได้
แต่อย่างไรก็ตาม ปัญหาน้ำเน่าคลองแสนแสบไม่ได้มีเพียงบริเวณคลองสามวา แต่ยังคงมีอีกหลายจุดที่ยังคงมีปัญหา เนื่องจากคลองแสนแสบในกรุงเทพมหานครนั้นมีความยาวถึง  45.45 กิโลเมตร และคลองสาขาเชื่อมกว่า 101 สาย ซึ่งข้อมูลจากหน่วยงานสำนักงานจัดการคุณภาพน้ำ กรุงเทพมหานคร เผยว่า แต่ละวันจะมีปริมาณน้ำเสียถึง 2,505,080 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งทางกทม. สามารถบำบัดน้ำเสียได้เพียง 1,136,800 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน หรือ คิดเป็น 45.38 % เท่านั้น

 

12271129_888169591258993_1174135248_o

ขณะที่นโยบายทางกทม. พยายามผลักดันในเรื่องการสร้างโครงการบำบัดน้ำเสีย นางสุทธิมล เกษสมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานจัดการคุณภาพน้ำ กรุงเทพมหานคร กล่าวว่า มาตรการที่ดีที่สุดในการบำบัดน้ำเสียคือ การนำน้ำเน่าเสียจากแหล่งต่างๆมาเข้าโรงบำบัดน้ำให้ได้มากที่สุด แต่เนื่องด้วยคลองแสนแสบมีขนาดคลองที่ยาว หากจะเก็บน้ำเสียทั้งหมดมาบำบัด ก็จะต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม กทม. ก็ได้พยายามเก็บน้ำเสียเข้าโรงบำบัดให้ได้มากที่สุด ตั้งแต่จุดดินแดน พญาไท แม้กระทั้งบริเวณใจกลางเมือง เพื่อนำเข้าสู่โรงบำบัดน้ำเสียดินแดน ซึ่งเป็นโรงบำบัดน้ำเสียโรงเดียวในพื้นที่ของคลองแสนแสบ นอกจากนี้ในอนาคตจะมีแผนการสร้างโรงบำบัดน้ำเสียเพิ่มขึ้นอีก 3  แห่ง ได้แก่ โครงการบำบัดน้ำเสียคลองเตย มีนบุรี บึงหนองบอน และโครงการบำบัดน้ำเสียธนบุรี เพื่อผลักดันให้เกิดการก่อสร้างโรงบำบัดน้ำเสียให้ครอบคลุมมากที่สุด เนื่องจากมองว่าวิธีนี้เป็นวิธีที่เด็ดขาดในการกำจัดน้ำเน่าเสียให้เห็นผลชัดเจน โดยเฉพาะในจุดที่มีชุมชนหนาแน่น

12279471_916471088446323_797805074_o

 

ซึ่งสำหรับประสิทธิภาพของโรงบำบัดน้ำเสีย กทม. มองว่าหากน้ำที่ถูกบำบัดนั้นมีคุณภาพน้ำที่ดีขึ้น เมื่อปล่อยลงไปก็จะไปเจือจางน้ำเสียได้ แต่คลองแสนแสบมีคลองสาขาเชื่อมโยงกว่า 100 สาขา เพราะฉะนั้นผลของ มาตรการที่ทำอยู่จากการวัดมาตรฐานน้ำจากค่าความสกปรก พบว่า เริ่มเห็นผลดีขึ้นกว่าอดีต คือในอดีตวัดค่า BOD ได้ 14 มิลลิกรัมต่อลิตร แต่ในปัจจุบันวัดได้ 11.5 มิลลิกรัม  ซึ่งโดยทั่วไปแล้วน้ำที่มีคุณภาพดีจะมีค่า BOD ที่ต่ำประมาณ 2-3  มิลลิกรัมต่อลิตร
12255226_973303259401565_31071199_o

นางสุทธิมล กล่าวต่อว่า สาเหตุหลักของการเกิดน้ำเน่าเสียมาจากชุมชนถึง 75% และโรงงานอุตสาหกรรม และอื่นๆ 25 % สำหรับแนวทางการแก้ปัญหาในส่วนตรงนี้จริงๆ ต้องให้ชาวบ้านที่อยู่บริเวณริมคลองนำน้ำเสียเข้าโรงบำบัดน้ำก่อนที่จะปล่อยน้ำทิ้งลงคลอง ซึ่งทาง กทม. ได้มีส่วนร่วมกับชุมชนอยู่อย่างต่อเนื่อง แต่สิ่งสำคัญคือ จะต้องทำให้ประชาชนทำความเข้าใจและยอมรับว่าตัวเองเป็นคนก่อปัญหา พร้อมกับให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนว่า พฤติกรรมของชุมชนที่เป็นอยู่ในนั้นส่งผลกระทบต่อน้ำในลำคลองอย่างไร น้ำที่เสียที่มาจากชุมชนนั้นเกิดขึ้นได้จากอะไร รวมไปถึงการชี้แนวทางในการแก้ไขปัญหาให้กับชุมชน เพราะ สิ่งที่ กทม. คาดหวังกับชุมชนคือ ต้องการทำให้คนในชุมชนสามารถดูแลบำบัดน้ำเสียด้วยเองให้ได้

      ส่วนใหญ่ประชาชนทั่วไปจะมองว่าสาเหตุหลักของการเกิดน้ำเน่าเสียนั้นมาจากโรงงานอุตสาหกรรม แต่ความจริงแล้วโรงงานอุตสาหกรรมถือเป็นสาเหตุรองที่ก่อให้เกิดปัญหาดังกล่าว เนื่องจากมีกฎหมายควบคลุมอย่างเข้มงวดในเรื่องของการบังคับให้โรงงานอุตสาหกรรมมีเครื่องบำบัดน้ำ ในขณะเดียวกันหากเปรียบเทียบน้ำเน่าเสียที่ปล่อยลงสู่คลองระหว่างโรงงานอุตสาหกรรมกับชุมชน พบว่า น้ำที่ปล่อยจากโรงงานอุตสาหกรรมนั้นจะมีค่าความสกปรกเข้มแต่ปริมาณน้ำน้อย ในขณะที่ชุมชนนั้นมีค่าความสกปรกต่ำ แต่มีปริมาณน้ำมาก หากชุมชนตระหนักในเรื่องปัญหาน้ำเน่าพอสมควรก็อาจจะช่วยได้ในระดับหนึ่ง เพราะหากจะให้ กทม. แก้ปัญหาฝ่ายเดียว การทำงานก็จะล่าช้า

kojioj
ทางกทม. จะมีการตรวจวัดคุณภาพน้ำในคลองแสนแสบทั้งหมด 11 จุด จะตรวจเดือนละครั้ง ซึ่งข้อมูลการตรวจวัดคุณภาพน้ำปี 2557 พบว่า โดยเฉลี่ยแล้วคลองแสนแสบมีปริมาณออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำ(DO) 1.9  ซึ่งมาตรฐานของน้ำที่มีคุณภาพดีโดยทั่วไปจะมีค่า DO ประมาณ 5-8 ppm ส่วนน้ำเสียจะมีค่า DO ต่ำกว่า 3 ppm ซึ่งค่า DO มีความสำคัญในการบ่งบอกว่าแหล่งน้ำนั้นมีปริมาณออกซิเจเพียงพอต่อความต้องการของสิ่งมีชีวิตหรือไม่ ซึ่งจะเห็นได้ว่าคุณภาพของคลองแสนแสบนั้นอยู่ต่ำกว่า 3 ppm ดังนั้นน้ำในคลองแสนแสบยังอยู่ในสถานะน้ำเสีย และมีจุดที่มีคุณภาพน้ำต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานมากในช่วงจากคลองตันไปจนถึงบางกะปิ ระยาทาง 6 กิโลเมตร

123

สำหรับมาตรการที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสียคลองแสนแสบนั้น จะต้องหาแนวทางให้เหมาะสมกับพื้นที่ในแต่ละจุดของคลอง เนื่องจากการดำรงชีวิตของชุมชนริมคลองในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน

นางสาว นภาลัย ขำมิน เลขานุการ ชุมชนกมาลุลอิสลาม กล่าวว่า หากจะนำมาตรการที่ชุมชนทำอยู่ตอนนี้ ไปใช้ตามจุดต่างๆของคลองแสนแสบ มองว่าอาจจะช่วยได้บ้างแต่คงไม่เห็นผลชัดเจน เนื่องจากการจะไปบังคับคนไม่ให้ปล่อยน้ำเสียนั้นมองว่าเป็นเรื่องยาก เพราะเป็นชุมชนเมือง ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ชาวบ้านที่อยู่ในบริเวณแต่ละจุดของคลองแสนแสบเขาไม่มีทางเลือกในการปล่อยของเสียไปแหล่งอื่น นอกจากในคลอง อย่างเช่น บริเวณช่วงตลาดมีนบุรีไปจนถึงบางกะปิ หรือบางกะปิไปจนถึงผ่านฟ้า ซึ่งบริเวณดังกล่าวเป็นเขตของโรงงานอุตสาหกรรม ตลาด หมู่บ้าน ที่ประชาชนจะต้องปล่อยของเสียลงคลองอย่างเช่น ท่อน้ำทิ้ง ซึ่งทางชุมชนเอง ก็ไม่สามารถจะไปบังคบไม่ให้ปล่อยของเสียลงคลองได้ แต่สิ่งหนึ่งที่ทำได้นั้นก็คงทำได้เพียงบำบัดโดยอาศัยออกซิเจนที่ได้มาจากเรือวิ่ง หรือ การรณรงค์ไม่ทิ้งขยะลงในคูคลอง ดังนั้นปัญหาน้ำเน่าคลองแสนแสบในบริเวณชุมชนเมือง จึงเป็นเรื่องยากในการแก้ปัญหา

      เสียงสะท้อนจากประชาชนที่สัญจรไปมาโดยใช้เส้นทางเรือ ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า สกปรกมาก อยากให้มีการพัฒนาให้ดีขึ้น  อย่างเช่นนายวรวัฒน์ อยู่รอด ให้ความเห็นว่า สภาพน้ำในลำคลองแสนแสบนั้นทั้งสกปรก และมีกลิ่นเหม็นเน่ามาก และยิ่งถ้าเป็นช่วงฝนตกหนัก น้ำจะส่งกลิ่นเหม็นมากกว่าเดิม ในขณะเดียวกันบางครั้งระหว่างนั้นเรือ ก็เคยพบเห็นชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณคลองแสนแสบโยนเศษอาหาร ทิ้งขยะลงในคูคลอง ในขณะที่ชาวบ้านบริเวณริมคลองก็ให้ความเห็นว่า คลองแสนแสบยังมีสภาพน้ำที่เน่าเสีย ส่งกลิ่นเหม็นรบกวนประชาชน นอกจากนี้บางวันสีของน้ำจะเปลี่ยนเป็นสีดำด้วย

12294938_514964575332052_1922602287_o

      ด้านกรุงเทพมหานคร ได้มีมาตรการที่ทำร่วมกับภาคประชาชน  โดยการใช้มาตรการระยะสั้นจัดระบบไหลเวียนน้ำใหม่ และจะช่วยในกรณีบางพื้นที่ที่ระบบไหลเวียนน้ำไม่ดีที่ก่อให้เกิดน้ำเน่าเสีย ซึ่งทาง กทม. จะใช้วิธีการสูบน้ำ ระบายน้ำ ส่งต่อน้ำ  เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนของน้ำในคลองแสนแสบ โดยจะเลือกทำเฉพาะจุดและหากในกรณีที่คลองบริเวณนั้นอยู่ใกล้กับแม่น้ำเจ้าพระยา  ก็จะทำการสูบน้ำในแม่น้ำมาใส่คลอง เพื่อนำน้ำดีเข้ามาเจือจางน้ำเสียคลองแสนแสบในบริเวณนั้น รวมไปถึงการสร้างเขื่อนริมคลอง ที่จะสกัดไม่ให้ปล่อยน้ำเสียลงในลำคลองโดยตรง นอกจากนี้ทาง กทม. ยังได้มีการจัดรณรงค์ร่วมกับชุมชน ไม่ให้ทิ้งขยะลงในคลอง แนะนำวิธีการไม่ทำให้น้ำในคลองเน่าเสีย เช่น การติดตั้งบ่อดักไขมัน หรือติดตั้งเครื่องบำบัดน้ำขนาดเล็ก

12290452_514978585330651_211486605_o
อุปสรรคของทาง กทม. คือโครงสร้างผังเมืองที่วางไม่เป็นระเบียบ อีกทั้งบ้านเรือนส่วนใหญ่ที่อยู่บริเวณริมคลองไม่มีท่อระบายน้ำ ซึ่งประชาชนไม่ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องนี้ในฐานะที่อยู่ในบริเวณริมคลองซึ่งเป็นกลายเป็นอุปสรรคในการจัดการปัญหาน้ำเน่าได้ยาก ยกตัวอย่างเช่น ในกรณีคลองลาดพร้าว ที่ทาง กทม. พยายามจัดระเบียบชุมชนให้ใหม่ จัดโครงสร้างให้เรียบร้อยมีระบบท่ออะไรใหม่ อีกเรื่องคือระเบียบวินัยของคนคือจะทำยังไงให้คนร่วมมือกัน ซึ่งทางกทม.ได้จัดให้มีการรณรงค์ให้คนในชุมชนช่วยกันดูแลรักษาบำบัดน้ำคลองแสนแสบให้มีแนวทางที่ยั่งยืน

“กทม. ว่า ชุมชนจะต้องมีระบบใดระบบหนึ่ง ที่ต้องอาศัยการเรียนรู้และการดูแลรักษา อย่างมีกลไกที่เป็นระบบ ในการที่ทำให้น้ำใส”

 

ความคิดเห็นของภาคชุมชนที่มีแต่ต่อมาตรการของ กทม.
ในส่วนมาตรการรัฐที่เข้ามาช่วยนั้นยังไม่เห็นเป็นรูปธรรมเท่าไหร่ เพราะส่วนใหญ่ กทม. จะเข้ามาช่วยเหลือในเรื่ององค์ความรู้ และแนวทางการแก้ไขบำบัดน้ำเน่า โดยจะมีการจัดอบรมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม การทำลูกบอลจุลินทรีย์ ทำน้ำจุลินทรีย์ เป็นต้น แต่คงช่วยได้บ้างส่วน เพราะในบริเวณคลองแสนแสบที่เป็นชุมชนเมืองเป็นเรื่องยากในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว เนื่องจากการจัดตั้งเครื่องบำบัดน้ำเสียของโรงงานอุตสาหกรรมมีปัญหาในเรื่องของพื้นที่ที่มีจำกัด ซึ่งมองว่าเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ที่ กทม. จะสามารถมีพื้นที่ให้แก่โรงงานเหล่านั้นในการติดตั้งเครื่องบำบัดน้ำเสีย ดังนั้นน้ำที่ปล่อยออกมาจากโรงงานอุตสาหกรรมจึงไม่ได้ถูกบำบัด

“มองว่า กทม. ทำได้มากก็แค่สร้างสภาพแวดล้อมบนบกให้ดี แต่ปัญหาทางน้ำคงช่วยได้ส่วนเดียว อย่างดีก็แค่ทำเครื่องบำบัดออกซิเจน รวมไปถึงหากจะทำให้น้ำหายเหม็น ก็มองว่าเป็นเรื่องยากในการแก้ไขปัญหาน้ำเน่าคลองแสนแสบในกรุงเทพมหานคร” นางสาวนภาลัย กล่าวtwo

 

ความคิดเห็นที่ของทาง กทม. ที่มีต่อภาคชุมชน
แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่า กทม. จะเป็นผู้นำในการดูแลคลองแสนแสบแต่ ชุมชนมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งที่จะผลักดันเป้าหมายทำให้ฟื้นฟูน้ำได้ โดยอย่างแรกชุมชนจะต้องเข้าใจในสิ่งที่รัฐต้องการจะแก้ไขว่า จะทำอย่างไรให้น้ำฟื้นฟูขึ้นมาได้ และจะช่วยกันดูแลรักษาอย่างไร  แม้แต่เรื่องเล็กน้อยๆที่ชุมชนทำได้ก็คือ ไม่ทิ้งขยะลงคลองเป็นอันขาด ไม่ว่าจะชิ้นเล็กหรือใหญ่ก็ตาม อย่างที่สองคือ ดูน้ำเสียตามบ้านเรือนต่างๆ ที่เกิดขึ้น ว่า น้ำที่ถูกใช้ในกิจกรรมต่างๆ เมื่อปล่อยจากบ้านแล้วน้ำเสียจะไหลลงไปที่ไหน ถ้าลงไปสู่คลองโดยตรง จะทำอย่างไรไม่ให้ปล่อยคลองโดยตรง  เช่น  จะต้องมีการบำบัดน้ำก่อนที่จะปล่อยลงคลอง ซึ่งการดูแลในส่วนตรงนี้อาจจะยากขึ้นมาหน่อยและแน่นอนว่าการที่จะไม่ให้ประชาชนปล่อยน้ำลงคลองโดยตรง เราจะต้องติดตั้งเครื่องบำบัดน้ำเสียให้กับชุมชนเหล่านี้ และจำเป็นต้องใช้เงินเป็นกำลังสำคัญ แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่รู้ว่ามีระบบบำบัดน้ำเสียอยู่ในพื้นที่ พยายามอย่างยิ่งที่จะหาทางเอาน้ำที่เกิดจากบ้านเข้าไปเชื่อมไปต่อเข้าสู่ระบบบำบัดให้ได้ตรงนี้

one

      “ความจริงแล้วหากประชาชนช่วยกันผลักดัน ผลสำเร็จก็จะมีโอกาสเกิดได้สูงมาก หากปล่อยให้ภาครัฐทำ และจัดการอยู่ฝ่ายเดียว ปัญหามันยากและค่อนข้างจะล่าช้า แต่เมื่อไหร่ที่ชุมชนร่วมกันลุกขึ้นมาช่วยกันทำ เชื่อเลยว่าความสำเร็จจะเห็นได้ชัดกว่า”

ปัทมาพร โพจันทร์/ศศิภา รักษาภักดี/ จีรนันท์ แก้วนำ/ ธัญญา อุตธรรมชัย/ กมลชนก บุญเพ็ง

Share This:

Comments are closed.