breaking news

กรมสุขภาพจิต เผยทางออก บทสรุปแก้ปัญหาคนไทยหัวร้อน

มกราคม 27th, 2018 | by administrator
กรมสุขภาพจิต เผยทางออก บทสรุปแก้ปัญหาคนไทยหัวร้อน
About Prototype
0

       “รู้สึกผิดที่ทำไปเพราะว่าอารมณ์ร้อน โกรธแทนเพื่อน…” คำพูดของโจ๋การต่อยหน้าผู้หญิงที่เป็นข่าวโด่งดังในสื่อ หนึ่งในตัวอย่างที่ใช้ความรุนแรงยุติปัญหาที่เริ่มต้นจากอุบัติเหตุแต่จบด้วยการทะเลาะวิวาทบนท้องถนน ซึ่งมีอีกหลายเหตุการณ์ในลักษณะเดียวกันที่ยังปรากฏให้เห็น และทวีความรุนแรงมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนคนในสังคมตั้งคำถามว่าเราจะหยุดสิ่งเหล่านี้ได้อย่างไร?

·       ประมวลข่าวแรงคนไทยหัวร้อนบนท้องถนน

ถือเป็นช่วงฤดูหนาวที่ร้อนแรงเป็นอย่างมาก เมื่อพูดถึงเหตุการณ์การทะเลาะวิวาทบนท้องถนน เพราะเพียง 1เดือนกลับพบเหตุการณ์ ที่ปรากฏเป็นข่าวและถูกพูดถึงเป็นวงกว้าง ทั้งสื่อหลักและสื่อโซเชียล รวม 8 เรื่องทีมข่าวได้รวบรวมและสรุปเป็น Timeline ไว้ดังนี้

1.วันที่19 ธ.ค 60 ข่าวโจ๋กร่างต่อยหน้าผู้หญิง อ้างโกรธแทนเพื่อนที่ถูกรถชน

2.วันที่ 20 ธ.ค 60 ข่าวตำรวจจับ 3 หนุ่ม กระหน่ำยิงช่างรับเหมาดับคาพวงมาลัย เหตุขับรถเฉี่ยวซาเล้งของพ่อ หนึ่งในผู้ก่อเหตุ

3.วันที่ 30 ธ.ค 60 ข่าวหนุ่ม BMW คว้าดาบไล่ฟันคู่กรณีกลางลานจอดรถห้างดัง เหตุไม่ยอมให้รถออกก่อน

4.วันที่ 4 ม.ค 61 ข่าวลุงหัวร้อนใช้ไม้เท้าทุบกระจกรถคู่กรณี เหตุเพราะบีบแตรใส่

5.วันที่ 8 ม.ค 61 ข่าวแท็กซี่หัวร้อนยิงหนังสติ๊กใส่กระจกรถดาราดัง ‘มาริโอ้ เมาเร่อ’ เพราะดาราดังขับรถปาดหน้า

6.วันที่ 6 ม.ค 61 ข่่าวฟอร์จูนเนอร์หัวร้อนไม่พอใจแท็กซี่ขับปาดหน้า โชว์ปืนขู่ยิง

7.วันที่ 8 ม.ค 61 ข่าวชายหัวร้อนใช้ขวานข่มขู่เจ้าหน้าที่กู้ภัย เหตุไม่พอใจรถฉุกเฉินบีบแตรไล่ขอทางส่งคนเจ็บ

8.วันที่ 14 ม.ค 61 ข่าวสาวกรีดรถนักร้องดัง ‘โด่ง AF’ โมโหรถไม่ปลดเบรกมือค้างรีบไปสอบ

·       กรมสุขภาพจิตชี้ ภัยโซเชียลชนวนเหตุคนไทยหัวร้อน

      ในยุคที่ สมาร์ทโฟน และโซเชียลมีเดีย เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของคนไทย ด้านหนึ่งทำให้การติดต่อสื่อสารเป็นเรื่องง่ายขึ้นแต่ในทางกลับกันสิ่งเหล่านี้ก็เป็นตัวหล่อหลอมพฤติกรรมความรุนแรงของคนได้เช่นกัน

       นายอภิชา ฤธาทิพย์ นักจิตวิทยา คลินิกชำนาญการสำนักบริหารระบบบริการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุขเผยว่า ในยุคที่คนเข้าโซเชียลได้ง่าย การหยิบกล้องโทรศัพท์ขึ้นมาถ่ายคลิปหรือภาพต่างๆ เป็นการกระตุ้นอารมณ์ของคู่กรณี เพราะจะทำให้เกิดการไม่ไว้ใจกัน มีความกลัว กังวลว่าจะนำคลิปที่ถ่ายไปทำอะไร ทำให้ในหลายๆเหตุการณ์ที่ปรากฏในคลิป จะแสดงถึงการใช้ความรุนแรงทั้งทางร่างกายและคำพูดในทางที่ดีควรใช้วิธีคุยและเจรจากัน หรือเปลี่ยนจากการหยิบกล้องโทรศัพท์มาถ่าย เป็นการติดกล้องหน้ารถแทน

       ในส่วนของการเสพสื่อหรือดูคลิปความรุนแรงบนท้องถนน ควรดูเป็นครั้งคราวไม่ใช่เสพอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าจะมีเจตนาดูเพื่อวิพากษ์วิจารณ์หรือติดตามความเคลื่อนไหวในสังคมแต่ การเลือกดูคลิปหรือเสพสื่อในลักษณะ ที่มีความรุนแรงบ่อยครั้งจะทำให้คนที่ดูเกิดภาพจำและอาจนำไปสู่การเรียนแบบเมื่อเกิดสถานการณ์เดียวกันขึ้น

” เราต้องดูสื่อเพื่อเรียนรู้และนำมาปรับใช้ในชีวิตให้คิดว่าถ้าเกิดเหตุการณ์นั้นขึ้นกับเราจะมีวิธีการแก้ไขอย่างไรไม่ใช่ดูเพื่อวิพากษ์วิจารณ์อย่างเดียว”

·       นักจิตแนะตรวจสุขภาพจิตก่อนทำใบขับขี่ลดความรุนแรงได้จริง!

       นายอภิชา ฤธาทิพย์ กล่าวต่อว่า โดยทั่วไปการขอออกในอนุญาตขับขี่จะต้องมีการตรวจสุขภาพก่อนอยู่แล้วโดยจะมีข้อกำหนดว่าโรคที่ไม่ควรขับรถมีอะไรบ้าง และนอกเหนือจากโรคที่ไม่ควรขับรถ ยังมีปลีกย่อยแยกมาเพื่อพิจารณาการออกใบอนุญาติขับขี่คือ เรื่องของสภาวะอาการ เช่น ความเครียด ความผิดปกติทางจิต ซึ่งสภาวะอาการแพทย์จะเป็นคนพิจารณาเป็นหลัก

       โดยหลักแล้วการตรวจสุขภาพจิตไม่ใช่นำไปใช้ในการขับขี่รถส่วนบุคคลอย่างเดียว ผู้ที่ต้องประกอบอาชีพขนส่งต่างๆ เช่นพนักงานขับรถ ยิ่งมีความจำเป็นที่จะต้องตรวจ เพราะจะได้รู้ว่าพนักงานที่ใช้รถใช้ถนนในการประกอบอาชีพ มีสภาวะทางอารมรณ์เป็นอย่างไร ซึ่งตรวจส่วนนี้องค์กรที่มีพนักงานขับรถเห็นความสำคัญและจัดให้พนักงานได้มีการตรวจสุขภาพจิตด้วย ไม่ใช่เพียงตรวจสุขภาพกายประจำปีเท่านั้น

       ซึ่งการขอต่อใบอนุญาตขับขี่จะต้องใช้ใบรับรองแพทย์ ทางแพทย์สภากำลังปรับรูปแบบและเพิ่มการพิจารณาโรคที่ไม่ควรขับรถระบุลงไปด้วย รวมไปถึงสภาวะอาการที่ไม่ควรขับรถพ่วงเข้าไปด้วย

โดยการตรวจสุขภาพจิตไม่จำเป็นต้องมาตรวจกับแพทย์เพียงอย่างเดียว สามารถที่จะประเมินด้วยตนเองได้เบื้องต้น

       ซึ่งแบบประเมินสามารถให้ผลชี้วัดได้แม่นยำในระดับหนึ่งประมาณ 80 เปอร์เซ็น เมื่อผลการประเมินออกมาแล้วจะทำให้รู้ว่าเรามีระดับความเครียดและการจัดการอารมณ์อยู่ในระดับใด อย่างเช่นถ้าผลชี้วัดออกมาว่ามีระดับความเครียดที่ไม่ปกติ ก็ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชียวชาญที่จะสามารถช่วยแก้ปัญหาหรือหาทางอออกให้คำแนะนำกับเราได้ แต่การใช้แบบประเมินเพียงอย่างเดียวจะไม่เพียงพอ ต้องมีการสังเกตจากคนรอบข้างด้วย หรือแพทย์ผู้เชียวชาญเป็นคนพิจารณา

       ดังนั้นถ้าถามว่าการตรวจสุขภาพจิตสามารถช่วยลดการทะเลาะวิวาทได้ไหม คำตอบคือ ช่วยทำให้เหตุการณ์ไม่รุนแรงบานปลายมากขึ้น เพราะผู้ที่ใช้รถใช้ถนนก็ผ่านการตรวจสุขภาพจิตมาแล้ว คือสามารถควบคุมอารฒณ์ได้ระดับหนึ่งแม้มีสิ่งเร้ามากระตุ้น จึงควรมีการตรวจ และการตรวจจะเป็นการคัดกรองจากแบบสอบถามของกรมสุขภาพจิตในเบื้องต้น และควบคู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ ซึ่งเราพยายามขับเคลื่อนให้มีอยู่ คาดการณ์ว่าจะประกาศใช้ในปีหน้าประมาณกลางปี หรือปีถัดไป

Share This:

Comments are closed.