.
……….พ.ต.อ.สมพร แดงดี รองผู้บังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี กล่าวว่า เงินกู้นอกระบบที่โฆษณาผ่านเว็บไซต์หรือหลอกลวงผ่านเว็บไซต์จะมีความผิดอาญาแผ่นดินคือมีโทษจำคุกไม่เกิน 5ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำและปรับ โดยมีมาตรการป้องกันและปราบปรามซึ่งจะตรวจทางเว็บไซต์ หากพบผู้กระทำผิดจะเตือนให้หยุดการกระทำ หรือหากไม่หยุดจะเรียกมาเสียค่าปรับ อีกทั้งยังประชาสัมพันธ์ขึ้นเว็บไซต์ข่าวสาร www.cleanweb-thailand.com
“เรื่องโฆษณาชวนเชื่อผ่านทางเว็บไซต์นั้นผู้บริโภคอย่าเพิ่งตัดสินใจจนกว่าจะตรวจสอบได้ว่าเชื่อถือได้ เพราะบางครั้งกลุ่มมิจฉาชีพอาจนำข้อมูลส่วนตัวของท่านไปใช้ทางมิชอบ หากมีกรณีดังกล่าวเกิดขึ้นให้ร้องเรียนกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อดำเนินการในขั้นตอนต่อไป”
.
.
.
……….ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.) ชี้แจงว่า การกู้เงินผ่านเว็บไซต์ ไม่มีเอกสาร หลักฐาน และการรับประกันตามรูปแบบการกู้เงิน ถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ต้องแจ้งความและให้เจ้าหน้าที่ตำรวจให้ดำเนินการตามความผิดฐานฉ้อโกง
.
.
โดย ร.ต.ไพโรจน์ คะนึงทรัพย์ ผู้อำนวยการกองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สคบ. ย้ำว่าการกู้เงินที่ถูกต้องตามกฎหมายต้องมีหนังสือเพื่อที่จะชัดเจนเรื่องจำนวนเงินกู้ กำหนดการชำระเงิน และดอกเบี้ยต้องไม่เกินร้อยละ 15 บาทตามที่กฎหมายกำหนด หากมีผู้บริโภคถูกหลอกด้วยวิธีดังกล่าว ให้แจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจเพราะเป็นความผิดฐานฉ้อโกงยิ่งมีผู้ตกเป็นเหยื่อเกิน 10 ราย โดยผู้หลอกลวงเจ้าเดียว โทษทางกฎหมายจะหนักยิ่งขึ้น
.
.
.
……….น.ส.มิน (นามสมมุติ) เหยื่อกู้เงินนอกระบบผ่านทางสื่อออนไลน์ เล่าว่าพบเห็นโฆษณาบริการเงินด่วนบนหน้าเว็บไซต์จึงติดต่อผู้ให้กู้ผ่านอีเมลล์พร้อมทั้งส่งเอกสารสำคัญเช่นสำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาหน้าแรกธนาคาร เอกสารเงินเดือนและสูญเสียเงินค่าทำสัญญากู้เงิน 550 บาท แต่พอจะติดต่อผู้ให้กู้กลับเงียบหาย จึงแจ้งความลงบันทึกประจำวันแต่เรื่องไม่คืบหน้า นอกจากนี้ยังมีเพื่อนที่โดนลักษณะคล้ายกันแต่สูญเสียเงิน 1,200 บาท และยังไม่มีการดำเนินการช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่
“อยากให้มีหน่วยงานเข้ามาดูแลเรื่องนี้เพราะเชื่อว่ายังมีเหยื่อที่หลงเชื่ออีกมาก และหลายคนไม่กล้าออกมาเรียกร้องเนื่องจากจำนวนเงินไม่เยอะและกลัวสังคมจะประณามในทางไม่ดี”
.
.
ทั้งนี้ ด้านพ.ต.ท.วิชัย สุวรรณประเสริฐ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านคดีพิเศษ รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาเฉพาะด้านนโยบาย เลขานุการศูนย์ช่วยเหลือลูกหนี้และประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม กล่าวว่า
.
“การควบคุมสื่อในยุคปัจจุบันเป็นเรื่องยาก ซึ่งการกู้เงินโดยให้โอนเงินไปก่อนนั้นตามข้อเท็จจริงเป็นไปไม่ได้และหากกู้เงินเกิน2,000บาท ต้องมีลายมือชื่อและพยานหลักฐาน เพื่อที่จะฟ้องร้องดำเนินคดีได้ ทั้งนี้หลักการกู้เงินที่ดีควรกู้กับสถาบันการเงินของรัฐ เพราะจะถูกควบคุมโดยสถาบันการเงินแห่งประเทศไทย ซึ่งผู้บริโภคจะไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบอย่างแน่นอน”
.
.
.
.
ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ : http://issuu.com/theprototype/docs/issue1
.
.