ยังไม่มีที่แน่ชัดทางในประวัติศาสตร์แต่มีความเชื่อกันว่าในสมัยพุทธกาลว่า เวลาที่พระพุทธเจ้าโคดมยังทรงพระชนม์อยู่นั้นมีหลักฐานทั้งจากพระไตรปิฎกและหนังสือรุ่นหลังๆที่เรียกว่าอรรถกถาได้ยืนยันชัดเจนว่า “คนอินเดียใช้ผ้านุ่งผ้าห่มเป็นผืน ๆ แบบเดียวกันทั้งชายและหญิง” พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาเวลานั้นก็เช่นกันกับชาวบ้านใช้ผ้านุ่งผ้าห่มแบบเดียวกัน แต่จะใช้สีต่างกัน ก่อนหน้าที่เจ้าฟ้ามงกุฏจะทรงผนวชนั้น พระไทยสมัยรัชกาลที่ 2 นั้นได้มีการครองผ้า “พาดมังกร” แบบที่พระมหานิกายในวัดใหญ่ ๆ นิยมห่มกัน เมื่อเจ้าฟ้ามงกุฏทรงผนวชแล้ว ภายหลังทรงไปทำอุปสมบทซ้ำในนิกายพระมอญ แล้วทรงให้พระสงฆ์ในสังกัดของพระองค์เปลี่ยนไปครองจีวรแบบพระมอญจนเป็นปัญหาทางด้านการเมือง เมื่อถูกตำหนิจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว พระภิกษุวชิรญาณจึงมีการออกคำสั่ง ให้พระธรรมยุติทั้งหมดกลับมาครองผ้าแบบพระไทยตามเดิม แต่ภายหลังพระองค์ทรงขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ซึ่งมีพระสงฆ์ธรรมยุติทำเรื่องร้องเรียนเรื่องการครองผ้า เวลานั้นรัชการที่ 4 ทรงเลี่ยงบาลีว่า “การครองผ้าเป็นเรื่องของพระสงฆ์ โยมเป็นฆราวาสไม่สามารถออกความเห็นได้” พระสงฆ์นิกายธรรมยุติเลยดีอกดีใจรีบเปลี่ยนมาใช้สไตล์มอญกันจนเอ่อล้นกันทั่วเมืองไทยในปัจจุบันนี้ ในประเทศไทย รัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดให้มีการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 9 และถือเป็นครั้งที่ 2 ในดินแดนประเทศไทยปัจจุบัน ณ วัดมหาธาตุทรงตรากฎหมายคณะสงฆ์ขึ้น เพื่อจัดระเบียบการปกครองของสงฆ์ให้เรียบร้อย
ผ้าที่จะใช้ทำเป็นจีวรได้นั้นต้องทำด้วยวัตถุหกชนิดคือ ทำด้วยเปลือกไม้ ทำด้วยฝ้าย ทำด้วยใยไหม ทำด้วยขนสัตว์ ขนหางสัตว์ ยกเว้นผมและขนมนุษย์ การทำผ้าจีวรนั้นให้ย้อมด้วยของหกอย่างคือ ราก หรือเหง้า ต้นไม้ เปลือกไม้ ใบไม้ ดอกไม้ และผลไม้ จีวรย้อมแล้วเรียกว่า กาสายะ บ้าง กาสาวะ บ้าง ซึ่งจะแปลว่า ย้อมด้วยน้ำฝาด และห้ามสีบางอย่างไว้คือ สีคราม สีเหลือง (เช่นสีดอกบวบ หรือดอกคูน) สีแดง สีบานเย็น สีแสด สีชมพู และสีดำ