นิธิพัฒน์ สมสมาน กรรมการผู้จัดการ บริษัท เดอะ มังค์ สตูดิโอ จำกัด กล่าวถึงเทคนิคของการสร้างแอนิเมชั่นไทยว่า “นักแอนิเมเตอร์ของไทยต้องมีความสามารถรอบด้าน และจะต้องมีด้านใดหนึ่งด้านที่ตนถนัด และมีความชำนาญในด้านๆนั้น เช่นอาชีพหมอ ที่ไม่จำเป็นต้องเก่งทุกอย่าง อาชีพหมอมีทั้ง หมอผ่าตัด หมอทันตกรรม อาชีพนักแอนิเมเตอร์ ก็เช่นเดียวกัน ที่มีหลากหลายแผนกเช่น Modelling Texture ดังนั้นการสร้างแอนิเมชั่นหนึ่งเรื่อง ไม่ได้สร้างด้วยคนๆเดียว แต่สร้างกันเป็นทีม ดังนั้นผลงานที่ออกมาคือผลงานของคนทั้งทีม”
ในด้านการสร้างเอกลักษณ์ของแอนิเมชั่นไทยไม่ใช่เรื่องยาก แต่จำเป็นต้องใส่ความเป็นสากลลงไปในเนื้อหา เพราะแอนิเมชั่นหนึ่งเรื่องสร้างเพื่คนดูทั้งโลก และต้องพิจราณาดูว่าคนไทยสนใจแอนิเมชั่นไทยแค่ไหน ความเป็นสากลจึงต้องมาก่อน เพื่อเข้าถึงทั่วประเทศ ในเรื่องของความเป็นเอกลักษณ์ไทยนั้นอาจจะมีอยู่บ้างแต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมดซึ่งอาจจะสอดแทรก ดนตรีประกอบฉาก หรือตัวละครที่มีศิลปะมวยไทยก็ได้
อันดับของแอนิเมชั่นไทยในปัจจุบัน อยู่ในอันดับ 3 ของโลก ซึ่งต้องยกผลงานที่หนึ่งด้าน 2Dให้กับญี่ปุ่น โดยผลงานของไทยจะเน้นไปทาง 3D ผลงานที่ออกมาล้วนประสบผลสำเร็จ และยอมรับว่านักแอนิเมเตอร์ไทยเก่งๆ มีจำนวนมาก แต่ยังเทียบเท่ากับผลงานต่างประเทศไม่ได้มากเท่าไหร่ เพราะต่างประเทศนั้นใช้งบประมาณในการลงทุนสูงมากกว่าของไทย
ในด้านการสร้างอุตสาหกรรมสินค้าของแอนิเมชั่นที่ผ่านมา พบว่าสามารถทำรายได้จำนวนมาก หลังจากมีผลงานแอนิเมชั่นที่เข้าฉายให้เป็นที่รู้จักแล้ว สินค้าทางด้านอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น ฟิกเกอร์ หรือ สินค้าต่างๆที่มีลวดลายของแอนิเมชั่นวางขายตามท้องตลาดอย่างถูกลิขสิทธิ์ สามารถทำรายได้ดีกว่าแอนิเมชั่นทั้งเรื่องก็เป็นได้
แอนิเมชั่นไทยที่จะตีตลาดสากล นักแอนิเมชั่นไทยจำเป็นต้องมีความสามารถรอบด้าน อีกทั้งต้องเน้นการชำนาญในด้านใดด้านหนึ่งที่จะสามารถทำให้แอนิเมชั่นมีความสมบูรณ์สูงสุดและประสบผลสำเร็จ ถึงแม้ด้านการลงทุนของแอนิเมชั่นไทยนั้นจะมีงบประมาณในการลงทุนที่น้อยแต่ผลงานก็ประสบผลสำเร็จมาแล้ว
ถึงแม้ตอนนี้แอนิเมชั่นไทยยังอยู่เพียงอันดับ 3 ของโลก แต่ไทยจะไม่หยุดพัฒนาแอนิเมชั่น จากเป็นที่รู้จักสำหรับคนไทย ก็ไปไกลถึงต่างประเทศการสร้างเป้าหมายในการตีตลาดสากลโลกเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะทำให้แอนิเมชั่นไทยก้าวไกลไปสู่สากลอย่างแน่นอน