breaking news

ความแตกต่างของ “วัดจีน VS วัดญวณ” ในเยาวราช

มกราคม 30th, 2019 | by administrator
ความแตกต่างของ “วัดจีน VS วัดญวณ” ในเยาวราช
About Prototype
0

วัดจีนVSวัดญวน” ต่างกันอย่างไร แทบจะแยกไม่ออกกันเลยทีเดียวว่าวัดจีนหรือวัดญวน


     ในอดีตชาวจีนได้อพยพลี้ภัยจากแผ่นดินจีนเข้าสู่ประเทศไทย เพื่อเข้ามาตั้งถิ่นฐานทำมาหากินในเกาะรัตนโกสินทร์ ชาวจีนเป็นชนชาติที่เชื่อในเรื่องของโชคลาง จึงทำให้เกิดการก่อตั้ง วัดจีนเล็ก ๆ (จีนนิกาย)ขึ้นและสร้างองค์พระพุทธรูปขึ้นมา ภายหลังได้สร้างเทพเจ้าต่าง ๆ ขึ้นตามมาเรื่อย ๆ เพื่อเป็นสถานที่ให้ชาวจีนได้สักการะ ทำบุญ ทั้งยังเป็นสถานที่ยึดเหนี่ยวจิตใจให้กับชุมชนชาวจีนอีกด้วย ในขณะนั้นประเทศเวียดนามได้แผ่ขยายศาสนามาถึงประเทศไทย ทำให้เกิดการเลื่อมใสและสร้างวัดเวียดนาม หรือ วัดญวณ(อนัมนิกาย) ขึ้นในเกาะรัตนโกสินทร์ด้วยเช่นกัน จนทำให้เกิดการแบ่งวัดได้อย่างชัดเจนคือ วัดจีน และ วัดญวน ซึ่งวัดจีนจะถูกเรียกว่า “จีนนิกาย” ส่วนวัดญวนจะถูกเรียกว่า “อนัมนิกาย” ซึ่งหากเราสังเกตโดยทั่วไปแล้วทั้ง 2  วัดจะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันหรืออาจจะเหมือนกันจนทำให้ไม่สามารถแยกกันได้ แต่โดยหลัก ๆ แล้วจะสามารถเห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจน อยู่ 4 ข้อ ดังนี้
1. สีของจีวรหรือเครื่องนุ่งห่ม
    – จีนนิกาย จะเป็นสีแดง
    – อนัมนิกาย จะเป็นสีแสดหรือสีที่ใกล้เคียงกับจีวรพระสงฆ์ทางพระพุทธศาสนา
2. การปฏิบัติพิธีกรรมของทั้งสองนิกายนี้จะคล้ายกันทุกประการ แต่ทางอนัมนิกายจะมีพิธีบวช เข้าพรรษา สรงน้ำพระพุทธรูป คล้ายกับพระพุทธศาสนา ซึ่งในฝ่ายจีนนิกายจะไม่มี
3. การสวดมนต์
    – จีนนิกายจะสวดมนต์เป็นสำเนียงจีน ออกไปทางแต้จิ๋ว
    – อนัมนิกายจะสวดมนต์เป็นสำเนียงเวียดนาม หรือภาษาจีนใช้สำเนียงเวียดนาม
4. การฉันท์อาหาร
    – จีนนิกาย พระสงฆ์จะฉันท์ภัตตาหารเป็นเจ หรือมังสวิรัติเท่านั้น
    – อนัมนิกาย พระสงฆ์จะฉันท์ภัตตาหารเป็นปกติ สามารถฉันท์ได้ทั้งเจ มังสวิรัติ หรือเนื้อสัตว์ก็ได้

ตั้งอยู่ที่ถนนเจริญกรุง เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 มีอายุกว่า 140 ปี ต่อมาได้รับพระราชทานนามจากรัชกาลที่ 5 ว่า “วัดมังกรกมลาวาส” อย่างเป็นทางการจนถึงปัจจุบัน และมีประชากรจำนวนมากมาไหว้ปีชงเพื่อเสริมดวงขอความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตที่วัดมังกรกมลาวาส

 

ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2384 และต่อมาปีพ.ศ. 2400 ได้รับพระราชทานนามจากรัชกาลที่ 5 เป็นภาษาอนัมว่า ซัก ต๊า อึง เกวิก โผว เพือก ตื่อ หรือภาษาจีนเรียกว่า โผว ฮก หยี่ ส่วนภาษาไทย คือ วัดกุศลสมาคร มีความหมายว่า ความดี ความบริสุทธิ์ถึงน้ำใสในสาครอีกทั้งยังเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวจีนชาวไทยและชาวไทยเชื้อสายจีนจากอดีตจนถึงปัจจุบัน

 

 

ตั้งอยู่ย่านตลาดสำเพ็ง สร้างขึ้นเมื่อสมัยรัชกาลที่ 3 โดยพ่อค้าชาวจีนและชาวมอญ เคยเป็นสำนักสงฆ์มาก่อน ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เปลี่ยนจากสำนักสงฆ์มาเป็นวัด และพระราชทานนามว่า “วัดโลกานุเคราะห” ในปัจจุบัน

ตั้งอยู่ถนนพลับพลาไชย เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร มีอายุกว่า 110 ปี เป็นศาลเจ้าที่เผยแพร่คำสอนต่าง ๆ ของชาวจีนอีกทั้งยังเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจให้แก่คนจีนและคนไทยเชื้อสายจีนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและยังเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจอีกด้วย นั่นคือ การเสียงเซียมซีที่แม่นยำนั่นเอง

 

เป็นศาลเจ้าที่เก่าแก่มากแห่งหนึ่งของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2201 ล้อมรอบไปด้วยตลาดสดในย่านเยาวราช และยังเป็นศาลเจ้าที่เก็บรักษาของเก่าแก่ล้ำค่ามากมาย อาทิ กระถางธูปพระราชทานจากรัชกาลที่ 5 เป็นต้น

ข้อมูลเพิ่มเติมที่น่าสนใจ

https://www.facebook.com/ThePrototype.CA.PIM/?epa=SEARCH_BOX

INSTRAGRAM : prototypecapim

 

Share This:

Comments are closed.