breaking news

ผลวิจัยพบว่า “สื่อสังคมออนไลน์ละเมิดสิทธิเด็ก!!!”

มิถุนายน 12th, 2018 | by administrator
ผลวิจัยพบว่า “สื่อสังคมออนไลน์ละเมิดสิทธิเด็ก!!!”
Media Literacy
0

ผลวิจัย “รู้ทัน ป้องกันเด็กและเยาวชนผ่านโลกสื่อออนไลน์” เผยว่า ข่าวและการแสดงความคิดเห็นของสื่อสังคมออนไลน์ได้ละเมิดสิทธิเด็กเป็นจำนวนมาก ซึ่งสื่อมวลชนที่มีการนำเสนอข่าวเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนต่ำกว่า 18 ปี โดยไม่คำนึกถึงความสำคัญในการปกป้องสิทธิเด็ก และไม่คำนึกถึงผลประโยชน์ของเด็ก รวมทั้งสิน 1,617 ข่าว

อาจารย์ปาจารีย์ ปุรินทวรกุล ประจำคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ศึกษาเรื่อง “บทบาทหน้าที่ของปฏิกิริยาตอบกลับของผู้ใช้ facebook ต่อการนำเสนอข่าวเกี่ยวกับสิทธิเด็กผ่านทาง facebook สำนักข่าวออนไลน์” ซึ่งได้เผยงานวิจัย “รู้ทัน ป้องกันเด็กและเยาวชนผ่านโลกสื่อออนไลน์” พบว่า การนำเสนอข่าวเด็กบนช่องทางเพจเฟสบุ๊กของสำนักข่าวยอดนิยม 3 แห่ง (อ้างอิงจากผู้ติดตามสูงสุด) ในระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่ กรกฏาคม จนถึง ธันวาคม ของปี 2560 มีข่าวเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนต่ำกว่า 18 ปี รวมทั้งสิน 1,617 ข่าว พบว่ามีข่าวที่มีการละเมิดสิทธิเด็กเป็นจำนวนมาก ที่ผิดต่ออนุสัญญาสิทธิเด็กที่สะท้อนบทบาทที่ไม่พึงประสงค์ค่อนข้างสูง ข่าวที่ละเมิดสิทธิเด็กสูงสุด คือ ข่าวที่มีการทารุณกรรมต่อจิตใจเด็ก 780 ชิ้น รองลงมาการนำเสนอข่าวโดยไม่คำนึกถึงผลประโยชน์เด็ก 711 ชิ้น และไม่เลือกปฏิบัติต่อเด็กที่ไม่เป็นธรรม 16 ชิ้น ข่าวที่พึงปรารถนา 110 ชิ้น ซึ่งไม่ได้มีเพียงสื่อมวลชนที่ละเมิดสิทธิเด็ก ผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ก็ละเมิดสิทธิเด็กด้วย จากการแชร์ข้อมูลข่าวสาร การแสดงอารมณ์ด้วยการไลค์ และการแสดงความคิดเห็น อาจเป็นการละเมิดสิทธิเด็กโดยไม่รู้ตัว

 

ผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ส่วนใหญ่ได้แสดงความคิดเห็นโดยไม่คำนึกงถึงผลประโยชน์ต่อเด็ก เช่น สื่อมวลชนนำเสนอข่าวเด็กโดยไม่เปิดเผยชื่อและปิดบังใบหน้าของเด็กเพื่อผลประโยชน์ต่อเด็ก แต่มีผู้ใช้เฟสบุ๊กได้ไปค้นหารูปภาพของเด็กที่ตกเป็นข่าวนั้น จึงเป็นการแสดความคิดเห็น ที่ทำให้เด็กเสียประโยชน์ และอาจเป็นการทรุณากรรมต่อจิตใจเด็ก แม้จะตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจก็ตาม เพราะฉนั้น ผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ได้ก้าวเข้ามาเป็นผู้ส่งสาร เทียบเท่ากับสื่อมวลชน จะต้องตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเด็ก

ทั้งนี้อาจารย์ปาจารีย์ ปุรินทวรกุล ย้ำว่า ผู้ที่ใช้สื่อออนไลน์ที่ก้าวมาเป็นผู้ส่งสาร สามารถปฏิบัติตาม อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก CRC โดยองค์กรยูนิเซฟ ในการแสดงข้อมูลหรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเด็ก ประกอบไปด้วย 1. เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และสิทธิเด็กในทุกสถานการณ์ 2. ให้หลักประกันต่อสิทธิต่าง ๆ ของเด็กเป็นพิเศษ เช่น สิทธิในความเป็นส่วนตัว สิทธิในการไม่เปิดเผยข้อมูล สิทธิในการปกป้องจากผลกระทบ 3. ปกป้องประโยชน์สูงสุดของเด็กในทุกสถานการณ์ 4.เมื่อต้องตัดสินใจเกี่ยวกับประโยชน์สูงสุดของเด็กต้องเปิดโอกาสให้เด็กใช้สิทธิในการแสดงความคิดเห็น 5. ปรึกษาผู้ใกล้ชิดกับเด็กผลกระทบทางการเมือง สังคม วัฒนธรรมที่อาจเกิดจากการรายงานข่าว และ 6. อย่านำเสนอเรื่องหรือภาพที่อาจทำให้เด็ก ญาติ หรือเพื่อนๆ ของเด็กต้องตกอยู่ในอันตราย แม้จะปกปิดตัวตนของเด็กในข่าวแล้วก็ตาม

Share This:

Comments are closed.