“ธุรกิจนี้เกิดจากเรามองว่า เมืองไทยมีอีเวนท์เกิดขึ้นเยอะมาก ซึ่งเวลาคนไปงานก็ต้องมีการถ่ายรูปและแชร์ขึ้น Instagram แต่จะทำอย่างไรให้รูปที่ทุกคนถ่ายออกมานั้น สามารถเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดได้ และทุกคนอยากมีส่วนร่วมกับงานมากขึ้น”
………. “ณัชพล ไตรวงศ์วรนาถ” ผู้อำนวยการฝ่ายบริการลูกค้า บริษัท 9Zebra จำกัด วัย 26 ปี บอกที่มาของธุรกิจบริการเช่าเครื่องปริ๊น “Insta.Printa” ที่เขาร่วมกับเพื่อนคนไทย 4 ชีวิต และเพื่อนชาวต่างชาติ อีก 2 ชีวิต ช่วยกันพัฒนาขึ้น โดยที่ไม่ได้มีแค่เรื่องปริ๊นภาพ และการถ่ายภาพ แต่คือการตกผลึกทางความคิด เรื่องการสร้างแบรนด์และการตลาดผ่านเครื่องพิมพ์ภาพจาก Instagram
.
.
.
………. ธุรกิจสตาร์ทอัพของคนรุ่นใหม่ ที่ใช้เวลาเพียงไม่นาน ขยับมามีรายได้นับสิบล้านบาท และไม่ใช่เติบโตแค่เมืองไทย แต่กำลังสยายปีกไปทั่วโลก ทั้ง สิงคโปร์ อังกฤษ สวีเดน และตุรกี เพียงแค่ถ่ายภาพ อัพขึ้น Instagram ติด hashtag (#) ที่กำหนด อีกแค่อึดใจเดียว ไม่เกิน 1 นาที ภาพสวยๆ ก็จะถูกพิมพ์ออกมา เป็นภาพถ่ายแห่งความทรงจำที่เก็บไว้ได้นานแสนนาน
นี่คือความอัจฉริยะ ของเครื่อง “Insta.Printa” เครื่องปริ๊นภาพจาก “อินสตาแกรม” ที่กำลังฮอตฮิตติดลมบนในกลุ่มนักจัดอีเวนท์ และเจ้าของแบรนด์สินค้า ที่นำไปสร้างความสนุกสนานให้กับผู้ร่วมงาน ใช้เป็นกลยุทธ์ด้านการสร้างแบรนด์ และเครื่องมือการตลาด “ขั้นเทพ”
.
………. ความน่าสนใจของแบรนด์ที่เลือกใช้ Insta.Printa ในงานอีเวนท์ และยังคงไม่หยุดนิ่งด้วยการพัฒนา Function ใหม่ๆ เพื่อเพิ่มความน่าสนใจของงานให้มากขึ้น เช่น สามารถตอบ Comment หรือขอบคุณลูกค้าได้ รวมทั้ง function เกม เพื่อสุ่มจับรางวัล เป็นต้น ตลอดจน การขยายไปในกลุ่มงานแต่งงานในอนาคตอีกด้วย
‘ถ้าเราไม่ทำความฝันของตัวเอง คนอื่นก็จะจ้างเราไปทำตามความฝันของเขา
“ถามว่ากลัวไหม ก็กลัวนะ และไม่ใช่ว่าทำมาแล้วไม่เคยพลาด พวกผมเคยโดนโกงมาก็เยอะ แต่สิ่งหนึ่งคือ เราทำ ถ้าพลาด เราจำ และไม่ทำซ้ำเดิมอีก และถ้าพลาดตั้งแต่เด็ก เมื่อโตขึ้นมา เราก็จะไม่พลาดในสิ่งนั้นอีก การพลาดจึงเป็นสิ่งที่ดี แต่อย่าพลาดให้หนักเกินไป ก็แล้วกัน ธุรกิจสตาร์ทอัพ เราทำเป็นดิจิทัล ข้อดีคือ เงินลงทุนไม่เยอะ ถ้าสมมติจะต้องเสียอะไรบ้าง ก็คงแค่ เสียเวลา”
.
แต่สำหรับเขา “ไม่กลัวเสียเวลา” และต่อให้ต้องเลือกใหม่ ก็ยังคงยืนยันในเส้นทางนี้ เพราะยังมองว่าการเป็นลูกจ้างในบริษัท เราจะได้เรียนรู้แค่ด้านเดียว แต่การทำธุรกิจของตัวเอง เราจะรู้ในหลายๆ ด้าน
“ข้อดีคือ ผมรู้ว่าผมชอบอะไร ผมไม่ได้ชอบการเงิน เหมือนที่เรียนมา บางคนเลือกเรียนต่อโททั้งๆ ที่ ยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตัวเองชอบหรือไม่ชอบอะไร แบบนั้นผมเรียกว่า
เสียเวลา แต่การมาทำธุรกิจ ผมมองว่า มันเหมือน มหาลัยชีวิต”
.
.
ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ : http://issuu.com/theprototype/docs/issue1
.
.