breaking news

ไร้แรงผลักดัน ไทยเมิน Green Packaging สวนกระแสโลก

เมษายน 3rd, 2015 | by administrator
ไร้แรงผลักดัน ไทยเมิน Green Packaging สวนกระแสโลก
Special Report
0

       บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Packaging)นับว่าเป็นอีกหนึ่งในคำตอบของการช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อน

ผู้ผลิตสินค้าในต่างประเทศเริ่มที่จะสนใจในการผลิตตัวบรรจุภัณฑ์ชนิดนี้ เพราะถือว่าเป็นเรื่องที่ประชาชนในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วให้ความสนใจ และให้ความสำคัญกับการที่จะช่วยดูแลรักษาโลก ด้วยการลดมลภาวะต่างๆเท่าที่พวกเขาจะส่งเสริมได้ ถึงขี้นส่งเสริมในระดับนโยบายไม่ว่าจะ Tokyo-Protocal หรือ Zero-Waste ประเทศไทยแม้จะมีการพูดเรื่องบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมบ้าง แต่การใช้งานจริงยังอยู่ในกลุ่มธุรกิจที่จำกัด ความสนใจ กระแส และการสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชนอย่างจริงจังคือสิ่งที่สังคมยังถามหา…ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น?

.

green_info

  • Green Packaging บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

……….          บรรจุภัณฑ์เป็นที่นิยมของคนในสังคม ทำให้การใช้บรรจุภัณฑ์มีมากขึ้น จนก่อให้เกิดปัญหาขยะที่ไม่สามารถย่อยสลายเองได้ตามธรรมชาติซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังส่งผลให้สัตว์ล้มตาย และในทุก 1 นาที ทั่วโลกจะมีการใช้ถุงพลาสติกกว่า 1 ล้านใบ จากบรรจุภัณฑ์ที่ช่วยทำหน้าที่ปกป้องสินค้า กลับกลายเป็นปัญหาทางมลภาวะของสิ่งแวดล้อม จึงมีแนวคิดในการออกแบบ Green Packaging  หรือ บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นการเลือกใช้วัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ อาจจะเป็นวัสดุที่มาจากธรรมชาติก็ได้ เช่น ใบตอง ซึ่งการใช้บรรจุภัณฑ์รักษ์โลกจะทำให้เราตระหนักถึงภาวะโลกร้อนกันมากขึ้น เพราะปัจจุบันนี้โลกของเราถูกทำลายมายาวนานจากปริมาณขยะที่เกิดจากบรรจุภัณฑ์ที่ไม่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติหรือใช้ระยะเวลานานในการย่อยสลาย

.

……….          ปัจจุบันบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้มีทางเลือกในวัสดุที่จะนำมาใช้ผลิตที่หลากหลาย อาทิเช่น เห็ด, ชานอ้อย, ใบตอง หรือวัสดุจำพวกย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ

.

……….          บริษัท บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม จำกัด ผู้ให้กำเนิดบรรจุภัณฑ์ชานอ้อย นวัตกรรมสีเขียวนี้ คือ ซึ่งเปิดตลาดบรรจุภัณฑ์จากชานอ้อยตรา “ไบโอ” ในต่างประเทศมากว่า 6 ปีแล้ว โดยมีสหรัฐฯ อังกฤษ ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น เป็นตลาดหลัก โดยผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์อาหารหลากหลายประเภททั้งจาน ชาม ถ้วย แก้ว กล่องใส่อาหาร ถาดหลุม สามารถขึ้นรูปได้ตามที่ต้องการกว่า 70 แบบ ทำจากเยื่อกระดาษชานอ้อยธรรมชาติ ซึ่งเป็นของเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมผลิตน้ำตาล

……….          สำหรับกระบวนการผลิตบรรจุภัณฑ์ชานอ้อยนั้นไม่ได้ซับซ้อน นอกจากนี้ยังประหยัดพลังงานกว่าการผลิตวัสดุอย่างพลาสติก เพราะลดการใช้พลังงานไฟฟ้าแต่ใช้พลังงานไอน้ำแทน อีกทั้งยังไม่ก่อให้เกิดของเสียจากกระบวนการผลิต ไม่ใช้คลอรีนในการฟอกสี (เทคโนโลยี ECF) ผลิตภัณฑ์จึงมีสีน้ำตาลอ่อนตามสีชานอ้อยธรรมชาติ ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยรังสี UV จึงมั่นใจได้ว่าสะอาดและปลอดภัยต่อเราและโลก

.

Somchana-Prompt-Design-Packaging

IMG_5783.

……….          นายสมชนะ กังวารจิตต์ นักออกแบบบรรจุภัณฑ์ เจ้าของบริษัท Prompt Design ที่มีผลงานด้านบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก อธิบายเพิ่มเติมถึงบรรจุภัณฑ์สีเขียวว่า Green Packaging มีปัจจัยหลักอยู่  6 หัวข้อ  1.Material ลดวัสดุที่เปลี่ยนจากพลาสติกมาใช้ plant bottle 2. transport คือ การออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ในการขนส่งที่คุ้มค่าประหยัดเนื้อที่ 3. Use เป็นเรื่องของการใช้งานบรรณจุภัณฑ์ที่สามารถใช้วนกันได้หลายรอบ 4. การจัดการขยะ (disposel) คือการแยกขยะก่อนทิ้งตามชนิดของขยะ 5. โรงงาน (manufacture) เป็นเรื่องของที่จะมีวิธีการพัฒนาเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ 6.  communication คือการสื่อสารที่จะทำให้ผู้คนตระหนักถึงภาวะโลกร้อน

.

……….          แม้ในประเทศไทยจะยังไม่พร้อมในเรื่องของเครื่องจักรและผู้ผลิตที่กล้าจะลงทุน แต่หากคนในประเทศรวมถึงรัฐบาลเกิดความตระหนักถึงปัญหาโลกร้อนที่เริ่มส่งผลต่อชีวิตขึ้นทุกวัน ไม่แน่อีกไม่นานประเทศไทยอาจได้เป็นหนึ่งในประเทศที่มี Green Packaging สมบูรณ์แบบก็เป็นได้  
สำหรับในต่างประเทศนั้นบรรจุภัณฑ์สีเขียวถือเป็นเรื่องที่ประเทศต่างๆนั้นกระตือรือร้นและเห็นความสำคัญเป็นอย่างมากโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่หากมองกลับมาที่ประเทศไทยถึงการที่จะทำให้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเข้ามามีบทบาทในสังคมไทย นายสมชนะ ได้ให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า ในประเทศไทยผู้ผลิตที่จะมาสนใจดูแลเรื่องการผลิตเพื่อสิ่งแวดล้อม ยังไม่มีบริษัทไหนที่สนใจจะทำอย่างจริงจัง  เนื่องจากต้องเพิ่มภาระให้กับตนเองในด้านต้นทุน  แต่ในขณะที่ต่างประเทศมีผู้ผลิตที่พร้อมจะทำ แต่ในเมืองไทยกลับไม่มีบริษัทไหนให้ความสนใจ เพราะการผลิตบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะต้องมีการเปลี่ยนระบบการผลิตใหม่ทั้งหมด ก็คือต้องใช้เครื่องมือในการผลิตใหม่ทั้งหมดจากเดิมใช้แต่พลาสติกก็จะมีการผสมผสานพืชเข้าไป ซึ่งความเป็นไปได้ของประเทศไทยยังถือว่าน้อยมาก เพราะไม่มีบริษัทไหนสนใจที่จะลงทุนในการซื้อเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตบรรจุภัณฑ์แบบนี้

.

  • Green Consumer ผู้บริโภคใส่ใจสิ่งแวดล้อม

……….Green Packaging           ในต่างประเทศค่อนข้างเป็นที่นิยม ซึ่งประชาชนจะให้ความสำคัญกับเรื่องการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม อาทิ Coca Cola ที่เป็นบริษัทขายน้ำอัดลมที่ใหญ่ที่สุดในโลก ผลิตขวดเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน ได้ตระหนักถึงการใช้ Green Packaging พร้อมพัฒนานวัตกรรมจากเดิมที่ใช้พลาสติกเป็นวัตถุดิบในการผลิตขวดเป็นหลัก ก็พัฒนามาเป็นการนำเอาพลาสติกกับชานอ้อยมาผสมกันแทนพลาสติก นับตั้งแต่วันแรกที่ทาง Coca Cola ได้ตระหนักถึงเรื่องนี้ ได้ทำการผลิตขวดที่ทำจากพืชไปแล้วกว่า 14,000 ล้านขวด

……….          และยังเป็นที่น่าสนใจว่า จากบทวิเคราะห์ในนสพ.ลอสแองเจลิสไทม์ในปี 2012 ชี้ว่า ผู้บริโภคได้นำเอาบรรจุภัณฑ์มาเป็นประเด็นในการพิจารณาก่อนการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้ามากขึ้นกว่าเดิม จากประมาณร้อยละ 29 ในปี 2010 เป็นร้อยละ 36 ในปี 2011 เพื่อให้มั่นใจว่าได้เลือกบรรจุภัณฑ์ประเภทที่มีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และทั้งนี้ผู้บริโภคเกินกว่าร้อยละ 50 ตอบแบบสอบถามว่า ยินดีที่จะจ่ายค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าเพิ่มขึ้น หากเห็นว่าบรรจุภัณฑ์สินค้านั้นเป็นบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก(green packaging) นับได้ว่าเป็นแนวโน้มที่น่าสนใจว่าจากฝั่งผู้บริโภค ที่เริ่มตอบรับกับการเป็น Green Consumer ด้วยการยอมรับภาระรายจ่ายเงินที่มากขึ้นของตนเอง ซึ่งถือว่าเป็นแนวโน้มที่เป็นบวกของผู้บริโภค และบ่งบอกถึงสัญญาณ ความใส่ใจและเอาจริงเอาจังต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นจากผู้บริโภค

……….          แต่หากมองกลับมาที่ประเทศไทยจะเห็นได้ว่า คนไทยไม่มีความสนใจในเรื่องของ Green Packaging เพราะแบรนด์ Coca Cola ที่ออกแบบขวดน้ำดื่มยี่ห้อน้ำทิพย์ให้เป็นบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมออกมา คนไทยส่วนใหญ่ก็ไม่ได้สนใจในตัวบรรจุภัณฑ์ดังกล่าว อีกทั้งแคมเปญที่ออกมาช่วยรณรงค์ลดโลกร้อนและสุดท้ายก็ไม่ประสบผลสำเร็จ อีกทั้งน้ำทิพย์ก็ไม่ได้ยอดขายเพิ่มขึ้นมากนัก

.

.

  • Green Packaging Trend แนวโน้มของบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

……….          เมื่อถามในมุมมองของนักออกแบบถึงความพร้อมของประเทศไทยต่อบรรจุภัณฑ์สีเขียวนั้น นายสมชนะกล่าวว่า “ผมว่าเรื่องนี้มันเป็นเรื่องระดับประเทศนะ เป็นเรื่องที่ต้องมีความรับผิดชอบร่วมกัน ผมว่ามันน่าจะเป็นเรื่องของรัฐบาลที่จะต้องเข้ามาสนับสนุนอย่างเต็มรุปแบบ ไม่ใช่เฉพาะหน่วยงาน เพราะรัฐบาลจะดูแลเกี่ยวกับระดับประเทศ ภาครัฐต้องมาดูแลเพราะมันช่วยประเทศ ช่วยโลก รัฐบาลก็ควรที่จะต้องมีนโยบายบางอย่างที่ให้การช่วยเหลือไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการงดใช้กล่องโฟม กล่องโฟมเป็นวัสดุที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมมาก เป็นตัวที่ทำลายมลภาวะ ก็เลยมีคนคิดค้นพลาสติกชีวภาพเกิดขึ้น สามารถฝังกลบ และย่อยสลายภายใน 45 วัน ซึ่งที่บางแสนจะใช้วัสดุแบบนี้ ทั้งบางแสนเลย มันก็มีบางพื้นที่เขาเริ่มตระหนักแล้ว เพราะนั้นผมว่าน่าจะเป็นภาครัฐแหละที่จะต้องช่วยกันทำนโยบายอะไรบางอย่างในการช่วยสิ่งแวดล้อมของประเทศ”

……….          นายสมชนะ ยังกล่าวอีกว่า สิ่งสำคัญที่ทำให้คนไทยหันมาตระหนักถึงเรื่อง Green Packaging คือรัฐบาลควรให้ความรู้ เพราะบางคนอาจไม่เข้าใจในเรื่องนี้ อาทิ “ณ วันนี้ควรเข้าใจเรื่องบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม เนื่องด้วยตอนนี้ขยะมีมากมาย และย่อยไม่ทัน และอีกอย่างบรรจุภัณฑ์ที่ช่วยดูแลโลก สามารถดูแลเรา ให้เรามีชีวิตที่ดีขึ้น และต้องออกแคมเปญที่สามารถให้คนทุกชนชั้นเข้าใจได้” นายสมชนะ กล่าว

……….          ด้าน ดร.ชนะ เยี่ยงกมลสิงห์ กรรมการ วิชาการฝ่ายเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์ สมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย ได้ให้ความเห็นในเรื่องบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในงานสัมมนา “สร้างแบรนด์ดิ้ง ขยายโอกาสธุรกิจ ต่อยอดแนวคิด CSR ด้วยเทรนด์บรรจุภัณฑ์สีเขียว (Green Packaging)” ณ งาน COSMEX 2014 ที่จัดโดย รี้ด เทรดเด็กซ์ เมื่อวันที่ 4 พฤษจิกายน 2557 ว่า “ขณะที่หลายคนแอบขยาดกับคำว่า “กรีน” เพราะมองว่า เป็นเรื่องที่ “ต้องลงทุน” แต่เขากลับย้ำชัดว่า บางครั้งความกรีนก็ไม่ต้องลงทุน ตรงกันข้ามกลับจะช่วยลดต้นทุน เพิ่มผลกำไรให้แบรนด์ได้ด้วย”

 .

.

          “จริงๆ แล้ว เราอาจเริ่มความกรีนได้โดยไม่ต้องลงทุนอะไรเลย กรีนที่ถูกที่สุดก็คือ การลดวัสดุ อย่าง กล่องกระดาษที่บรรจุเครื่องสำอาง แทนที่จะทำให้มันหลวม ก็แค่ทำให้พอดี เขย่าแล้วไม่ขยับ โดยทำให้มีขนาดเล็กลง ใช้วัสดุน้อยลง เท่านี้ก็ถือว่า เป็นการช่วยโลกแล้ว”

ระหว่างความชั่งใจของหลายแบรนด์ ว่าจะโกกรีนหรือไม่โกกรีน แต่ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วในตลาดโลก ก็คือการขยับตัวของหลายแบรนด์ดัง ที่เลือกอยู่ข้างสิ่งแวดล้อมและโลก

.

.

  • Green Global Policy นโยบายสิ่งแวดล้อมสากล

……….          หัวใจหนึ่งที่สำคัญ การพัฒนาบรรจุภัณฑ์สีเขียว คือการใช้วัสดุที่สามารถรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์หลังใช้แล้วได้ ในปัจจุบันประเทศ เยอรมนี แคนาดา ฮอลแลนด์ ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ นอร์เวย์ นิวซีแลนด์ ได้ก้าวสู่แนวคิดการรีไซเคิลแบบใหม่คือ Recycling 2.0 ที่เน้นการคัดแยกอย่างสมบูรณ์ และด้วยวิธีการอัจฉริยะไม่ใช่แบบหยาบๆ และแบบง่ายๆ อย่างเช่นแต่ก่อน และดินทุกก้อน ขยะทุกชิ้นจะต้องผ่านกระบวนการคัดกรองจนกลับเป็นวัตถุดิบที่สกัดแยกพร้อมนำกลับมาใช้ใหม่ โดยให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าด้วยแนวคิดในการรีไซเคิลเริ่มพัฒนาตั้งแต่ทศวรรษ 1980 จนถึงวันนี้นานหลายสิบปีทุกอย่างจึงเปลี่ยนไปมาก ปริมาณขยะของเสียที่สามารถรีไซเคิลได้เพิ่มขึ้น แต่ยังขาดวิธีการดำเนินการอย่างได้มาตรฐานทั้งด้านผู้บริโภคและผู้ประกอบการ อุตสาหกรรมรีไซเคิล โดยเฉพาะขยะจากพลาสติกที่ผลิตขึ้นจากสูตรและส่วนผสมทางเคมีที่แตกต่างกัน หลากหลาย สำหรับประเทศที่ประสบความสำเร็จในการใช้แนวคิดยุคที่ 2 ของการบริหารจัดการ ที่เรียกว่า Recycling 2.0 สามารถกำจัดขยะได้ในสัดส่วนสูงถึง 80% ของปริมาณขยะที่มี

……….Recycling 2.0           เป็นที่มาของคำว่า  Zero waste Program เป็นเป้าหมายที่รับรู้กันทั่วโลกเพื่อทำให้ทุกสังคมใช้การReuse และ Recycle อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะฝ่ายของผู้บริโภคที่ต้องใส่ใจกับพฤติกรรมของตนเองมากขึ้น แทนที่จะพยายามปฏิเสธ ไม่รับรู้อย่างเช่นในอดีต
       แนวคิดของ Recycling 2.0 ที่เปลี่ยนไปจากเดิม คือ เปลี่ยนแปลงและยกระดับจากการบริหารขยะและของเสีย (Manage waste) เป็นการกำจัดขยะและของเสียทั้งหมด (Zero waste)

……….          ส่วนของประเทศไทย แม้จะมีการรณรงค์เรื่องการรีไซเคิล แต่การปฏิบัติร่วมกันอย่างจริงจัง รวมถึงการเลือกวัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้มาใช้งานยังไม่เกิดขึ้นเป็นภาพรวมจากทุกส่วนในสังคม หากประเทศไทยต้องการลดปริมาณขยะ ควรจะกระตุ้นให้ประชาชนใช้หลักการ “3R” อย่างจริงจัง คือ Reduce ลดการใช้  Reuse ใช้ซ้ำ และ Recycle นำกลับมาใช้ใหม่ โดยคำนึงถึงปัจจัย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผลิตได้ และต้นทุนที่ไม่แพง ตลอดจนสื่อสารไปยังผู้บริโภคเพื่อให้เกิดความเข้าใจในตัวบรรจุภัณฑ์

.

……….          วิเชียร จุ่งรุ่งเรือง อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กล่าวว่า เนื่องจากวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปของคนไทยทำให้ปริมาณขยะเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งถุงพลาสติกและโฟม ซึ่งผลจากการศึกษาของ คพ.พบว่า ช่วง 5 ปีที่ผ่านมา คือตั้งแต่ปี 2552 – 2556 ปริมาณโฟมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากวันละ 34 ล้านใบ เป็นวันละ 61 ล้านใบ หรือโดยเฉลี่ยแล้วคนไทยสร้างขยะประเภทโฟมเพิ่มขึ้นวันละ 1 ใบ

……….          ทั้งนี้อธิบดีคพ. กล่าวถึงนโยบายของกรมควบคุมมลพิษ มีแนวทางเพื่อลดปริมาณการใช้โฟมและถุงพลาสติกให้ได้ ว่าเวลานี้ พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว. ทส. มีนโยบายออกมาชัดเจนแล้วว่า สำหรับร้านค้าภายในหน่วยงานของ ทส.ทุกพื้นที่ ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด โดยเฉพาะกรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช และสวนสัตว์ จะต้องไม่ใช้โฟม หรือถุงพลาสติกในการบรรจุอาหารเด็ดขาด
       อย่างไรก็ตาม เรายอมรับว่าเรื่องของถุงพลาสติกนั้นบางแห่งยังมีการใช้กันอยู่บ้าง เพราะยังหาวัสดุมาทดแทนไม่ได้ สิ่งที่คพ.จะต้องทำ คือการไปจัดการที่ต้นเหตุ คือ ผลักดันให้มีการลดภาษีกล่องพลาสติกที่ผลิตจากชานอ้อย เยื่อไผ่ มันสำปะหลัง ซึ่งสลายตัวได้ทางชีวภาพ เพื่อให้ราคาถูกลง จะได้มีคนใช้มากขึ้น โดยในส่วนของ คพ.ได้รณรงค์เรื่องนี้เพื่อเป็นตัวอย่างแก่ประชาชน ร้านค้าในสำนักงาน คพ.เวลานี้ปลอดทั้งโฟมและถุงพลาสติก 100%

.

000344

.

.

ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ :  http://issuu.com/theprototype/docs/issue1

Share This:

Comments are closed.