breaking news

ถอดบทเรียนปฏิบัติการสะท้านบูลลี่ 4S ต่อยอดสู่กิจกรรม On ground เพื่อสร้างแฟน Content

พฤษภาคม 4th, 2020 | by administrator
ถอดบทเรียนปฏิบัติการสะท้านบูลลี่ 4S ต่อยอดสู่กิจกรรม On ground เพื่อสร้างแฟน Content
CB59318
0

ถอดบทเรียน 4s สู่การลดการบูลลี่ที่ใช้คำพูดรุนแรงและคำที่สร้างความเกลียดชังในสังคม (Bully & Hate speech) จุดเริ่มต้นของ 4s คือ เราอยากจะนำเสนอให้ทุกคนหรือกลุ่มเป้าหมายได้รับรู้ถึงผลกระทบของการบูลลี่ด้วยถ้อยคำที่รุนแรงและสร้างความเกลียดชัง และลดการกระทำเหล่านั้นลง 4s ย่อมาจาก Stop, Speed, Strong, Start



จากปัญหาปัจจุบันมีการใช้คำพูดที่รุนแรงจนนำไปสู่การสร้างความเกลียดชังและการบูลลี่ ทั้งในชีวิตประจำวันที่มีการใช้สื่อเป็นช่องทางเพื่อสร้างความเกลียดชังด้วยคำพูดมากยิ่งขึ้น เราจึงอยากจะกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมด้วยการสร้าง เนื้อหา โดยใช้หลักการ 4s ที่พวกเราตั้งขึ้นประกอบไปด้วย

  • Stop คือ อยากจะนำเสนอสื่อที่บอกกลุ่มคนที่ใช้คำรุนแรงลดหรือว่าหยุดทำสิ่งนั้น
  • Speech คือ อยากสื่อให้คนเห็นว่าคำพูดมันเป็นดาบสองคมอยู่ที่ว่าใครจะเลือกใช้และเราก็อยากเป็นส่วนหนึ่งการใช้คำพูดที่ดีมากขึ้น
  • Strong คือ อยากสื่อถึงคนที่โดนคำพูดรุนแรงซึ่งส่งผลกระทบต่อจิตใจของผู้ถูกกระทำเป็นอย่างมากอยากจะให้ลุกขึ้นมาปกป้องตัวเองและเข้มแข็งต่อไป
  • Start คือ อยากจะสื่อไปถึงทุกคนแม้ว่าจะเป็นคนที่ใช้คำพูดในการบูลลี่ คนที่โดนทำร้ายซ้ำๆ และเยาวชนรุ่นใหม่ที่กำลังเติบโตใส่ใจเรื่องคำพูดมากยิ่งขึ้น

ซึ่งเนื้อหาไม่เพียงแต่เป็นการให้ความรู้ แต่ยังมีการสอดแทรกกิจกรรมให้ร่วมสนุกโดยไม่ใช่การให้ข้อมูลที่หนักจนเกินไป และมีเป้าหมายของการสื่อสารคือ อยากจะนำเสนอสื่อที่ไปกระตุ้นให้ทุกคนโดยเฉพาะกลุ่มมัธยมต้น อายุ 13-15 ปี ที่กำลังเริ่มจะใช้คำพูดที่รุนแรง ปรับเปลี่ยนการใช้คำพูดให้มีความรุนแรงน้อยลง สำหรับเด็กที่ถูกกระทำจากการ Bully สามารถใช้ชีวิตต่อไปได้ มีทางออกที่ดีกว่าการลดคุณค่าของตัวเอง สำหรับกลุ่มเด็กที่เพิกเฉย จะทำให้เหล่าเด็กกลุ่มเพิกเฉยสนใจต่อเหตุการณ์บลูลลี่ และไม่ให้เด็กกลุ่มนี้กลายเป็นผู้กระทำ และในฐานะสื่อควรนำเสนอรูปแบบความรุนแรงให้ลดน้อยลง ไม่ควรแบ่งฝ่ายในการเสนอข่าว ไม่นำถ้อยคำที่รุนแรงออกมานำเสนอให้ผู้รับสารเสพติดกับถ้อยคำรุนแรง โดยผลงานจะถูกนำเสนอผ่าน Photo story, Poster, คลิปวิดีโอ, บทความ

ในส่วนของงานชิ้นแรก Photo Story สร้างปฏิสัมพันธ์โดยเปิดให้คนร่วมคอมเมนต์เปิดจิ๊กซอว์ เป้าหมายในการนำเสนอคืออยากให้คนเห็นถึงผลกระทบของคนที่โดนบลูลี่ วิธีการอธิบายคือใช้จิ๊กซอว์รูปภาพ มาให้คนคอมเมนต์เปิดจิ๊กซอว์แต่ละหมายเลขเพื่อให้เห็นว่าน้องไข่จิตใจบอบช้ำกับคำพูดรุนแรงพวกนั้น ต่อมาก็ให้คนร่วมเมนต์คิดว่าควรใช้คำพูดแบบไหนที่ดีที่จะช่วยปลอบใจ สุดท้ายเราได้ทำการนำคำพูดเหล่านั้นมาต่อเป็นจิ๊กซอว์ใหม่เหมือนการช่วยปลอบและให้คนที่โดนสามารถรับรู้ถึงคนที่แคร์อยู่

ตัวอย่างสร้างปฏิสัมพันธ์โดยเปิดให้คนร่วมคอมเมนต์เปิดจิ๊กซอว์

ร่วมเมนต์คิดว่าควรใช้คำพูดแบบไหนที่ดีที่จะช่วยปลอบใจ

นำคำพูดเหล่านั้นมาต่อเป็นจิ๊กซอว์ใหม่เหมือนการช่วยปลอบ

Poster จะเป็นวรรคทองที่ไปกระตุ้นให้คนตระหนักถึงความร้ายแรงของการบลูลลี่ การใช้ถ้อยคำที่รุนแรงที่สร้างความเกลียดชัง นั้นส่งผลเสียต่อผู้ที่โดนกระทำ และนอกจากนี้ยังแฝงความรู้เพื่อให้คนได้รู้เท่าทันสื่อมากยิ่งขึ้น โดยเลือกนำเสนอผ่านแพลตฟอร์ม Facebook เพราะสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายและมีการตอบรับที่รวดเร็ว ส่วนทาง Twitter  นั้นเป็นเพราะเป็นช่องทางที่มีการแชร์ต่ออย่างรวดเร็ว ทำให้ข้อมูลถูกนำเสนอไปได้ไกล


โปสเตอร์ 8 ทักษะรู้เท่าทันสื่อ

Animation จะเป็นการนำเสนอข้อกฎหมายที่เป็นบทลงโทษสำหรับคนที่ทำการใช้คำพูดรุนแรงหรือไปบูลลี่คนอื่น และเพื่อบอกเป็นข้อมูล ให้คนสามารถนำมาเป็นหลักในการป้องกันตัวเอง ด้วยเนื้อหาที่อาจจะยากต่อการเข้าใจ เราจึงเลือกนำเสนอเป็น Animation สั้นๆ เพื่อให้สามารถเข้าถึงกลุ่มเด็กมัธยมต้น และเลือกนำเสนอผ่านแพลตฟอร์ม Facebook เพราะเชื่อว่าคลิปสั้นๆนี้จะสามารถแชร์ต่อได้ง่าย และคนที่เป็นเพื่อนของคนที่แชร์ก็จะสามารถเห็นคลิปนี้ต่อๆไป นอกจากนั้นลิ้งก์คลิปนี้ยังจะถูกนำไปใส่ไว้ในเว็บไซต์ที่มีการอธิบายรายละเอียด เพิ่มเติมจากสิ่งที่เขียนไว้ใน facebook  เพื่อเป็นการเพิ่มยอดของคนที่ดูอีกทางหนึ่ง


Animationนำเสนอข้อกฎหมายที่เป็นบทลงโทษสำหรับคนที่ทำการใช้คำพูดรุนแรงหรือไปบูลลี่คนอื่น

บทความ เป็นการถอดคำพูดของพี่หนึ่ง สถาพร พงษ์พิพัฒน์วัฒนา อดีตผู้จัดการโครงการการรายงานในสถานการณ์ความขัดแย้งและภัยพิบัติ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ที่ได้ทำให้เห็นว่าแม้แต่สื่อเองก็ยังมีการใช้คำพูดที่รุนแรงซึ่งอาจจะนำไปสู่การบลูลี่ ซึ่งมีการยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่มีการใช้คำพูดรุนแรง สร้างความเกลียดชังในสังคมที่เกิดจากสื่อ และสื่อเองก็มีอิทธิพลต่อสังคมเป็นอย่างมาก โดยนำเสนอในรูปแบบของบทความผ่านทางเว็บไซต์และที่จะมีข้อมูลบทความสั้นๆให้อ่าน แต่จะมีการแนบลิ้งก์ใน facebook เพื่อเชื่อมไปสู่เว็บไซต์อ่านข้อมูลที่ครบถ้วนกว่านี้

บทความแม้แต่สื่อเองก็ยังมีการใช้คำพูดที่รุนแรงซึ่งอาจจะนำไปสู่การบลูลี่

ในมุมมองของผู้ผลิตสื่อเอง มองว่าผลที่ได้จากการผลิตสื่อ ผู้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น กดไลค์ กดแชร์เนื้อหาของงานเป็นไปในทางที่ดีตรงตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ คืออยากให้คนมีส่วนร่วมในการหยุดใช้คำพูดรุนแรงที่สร้างความเกลียดชังจนนำไปสู่การบูลลี่ และหันมาให้กำลังใจซึ่งกันและกัน และมองว่าจะสามารถนำไปสร้าง content ต่อยอดงานได้ในอีกอนาคต

         ในส่วนของสื่อที่ผลิตออกมานั้น แต่ละงานผู้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น กดไลค์ กดแชร์ มีจำนวนที่แตกต่างกันออกไป

  • Photo story ยอดไลค์ของชุดที่ 1, 2, 3 จะเท่ากับ 28, 31, 21 ครั้ง ยอดคอมเมนต์ของชุดที่ 1, 2, 3 จะเท่ากับ 31, 19, 8 คอมเมนต์ ยอดแชร์ของชุดที่ 1, 2, 3 จะเท่ากับ 40, 24, 23 ครั้ง
  • ยอดไลค์ของposterที่ 1, 2, 3 จะเท่ากับ 16, 12, 21 ครั้ง ยอดคอมเมนต์ของposter ที่ 1, 2, 3 จะเท่ากับ 4, 0, 0 คอมเมนต์ ยอดแชร์ของชุดที่ 1, 2, 3 จะเท่ากับ 22, 15, 23 ครั้ง
  • ยอดไลค์ของคลิป 25 ครั้ง ยอดคอมเมนต์ 0 ครั้ง ยอดแชร์ของคลิป 23 ครั้ง และยอดเข้าชม 4,000 ครั้ง
  • ยอดไลค์ของบทความใน facebook เท่ากับ 1,200 ครั้ง ยอดคอมเมนต์ เท่ากับ 1 คอมเมนต์ ยอดแชร์ 12 ครั้ง

(ข้อมูล ณ วันที่ 3 พ.ค. 2563)

การเข้าร่วมกิจกรรม

  • มีผู้คนที่เข้าร่วมในการแสดงความคิดเห็นให้กำลังใจ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีผู้ชักชวนให้ทำ หรือบางส่วนก็มาร่วมสนุกลุ้นของรางวัล
  • ผู้ที่ไม่เข้าร่วม ส่วนหนึ่งอาจจะแค่เข้ามาอ่านแต่ไม่อยากแสดงความคิดเห็น หรือ content อาจจะไม่น่าสนใจพอที่จะดึงดึงดูดให้คนเข้ามามีส่วนร่วม

การต่อยอดสู่กิจกรรม On ground เพื่อสร้างแฟน Content


นำลิงก์นิยายโปรโมทผ่านFacebook

https://www.joylada.com/story/5ea85433c0c4ce0001efe20e

สามารถอ่านนิยายเรื่อง Where are you? เธอที่หายไป ได้ที่ลิงค์ด้านบน

สำหรับกิจกรรม On Ground จะเป็นการต่อยอด content จากออนไลน์ออกมาสู่การที่จะให้คนเข้ามามีส่วนร่วม โดย main หลักจะยังคงเหมือนเดิม แต่เน้นผลิต content ให้หลากหลายมากขึ้น

โดยเราจะใช้นิยายเป็นตัวกลางของการเล่าเรื่อง โดยจะนำเสนอผ่านทางจอยลดา และแนบลิ้งก์ผ่าน facebook เพื่อเข้าถึงกลุ่มผู้รับสารให้ได้มากที่สุด มีกิจกรรม On ground ก็คือ

บอร์ดเกม : ใครคือคนร้าย

โปสเตอร์และวิธีการเล่นบอร์เกม

จะเป็นการนำตัวละครในนิยาย มาทำเป็นเกมให้คนค้นหาว่าใครที่ได้ถือการ์ดคนร้าย เพื่อที่จะให้ผู้รับสารเข้าถึงอารมณ์เพิ่มมากขึ้นจากตัวนิยาย ผู้รับสารจะเข้าใจถึงคนทั้งสามกลุ่มที่เป็นผู้กระทำ ผู้ถูกกระทำ และผู้เพิกเฉย ด้วยบอร์ดเกมสามารถเล่นได้หลายคนทำให้ผู้รับสารได้ร่วมระความคิด เพื่อให้ทีมของตัวเองชนะ

ห้องแห่งความลับ :

ตัวอย่างห้องปริศนา

เป็นห้องที่จะให้ผู้รับสารเข้ามาไขปริศนาเพื่อเอาตัวรอดออกจากห้องให้ได้ โดยจะมีคำใบ้ปริศนาจากนิยาย แฝงอยู่ตามมุมต่าง ๆ ของห้อง ซึ่งในห้องเองก็จะมีการจำลองสถานที่ให้เหมือนกับในนิยายเพื่อให้ผู้รับสารเข้าถึงอารมณ์มากที่สุด ในขณะที่ไขปริศนาผู้รับสารก็จะได้แง่คิดดี ๆ จากคำปริศนาด้วย

การเล่าประสบการณ์ :  จุดนี้จะเป็นจุดที่ให้ผู้รับสารได้เขียนความรู้สึก หรืออะไรต่าง ๆ ที่อยากจะบอกจากการที่ได้ลองเล่นกิจกรรมทั้งหมดนี้

ตัวอย่างผ้าเขียนแสดงความรู้สึก

ปิดท้ายกิจกรรม On ground จะมีการมอบของที่ระลึกต่าง ๆ ซึ่งเป็นของที่ผลิตออกมามีจำนวนจำกัด เพื่อสร้างการจดจำและเป็นที่ระลึกว่าครั้งหนึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรม ที่ช่วยลดการใช้คำพูดรุนแรงและนำไปสู่การบูลลี่

ตัวอย่างของที่ระลึก

อีกทั้งในฐานะผู้ผลิตสื่อเอง สิ่งที่ได้จากการทำงานในครั้งนี้ คือได้เรียนรู้กระบวนการทำงานในการผลิตสื่อให้ผู้รับสารอย่างถูกต้อง ได้รับรู้ถึงการตอบของผู้รับสารว่ามีแนวคิดไปในทิศทางในกับสื่อของเรา ได้เรียนรู้การสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิตสื่อกับผู้รับสาร ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้กับการทำงานและการผลิตสื่อในอนาคต และนำไปพัฒนาให้สื่อที่ออกมานั้นออกมาดี มีคุณภาพ สอดแทรกความรู้ ความเข้าใจ และแนวคิดดีๆ ให้กับผู้รับสาร พร้อมทั้งสร้างปฎิสัมพันธ์กับผู้รับสารได้มากขึ้น ได้วิเคราะห์ถึงเป้าหมายว่าเราจะทำอย่างไรถึงจะให้กลุ่มเป้าหมายเข้าถึงข้อมูลที่เราต้องการจะนำเสนอหรือตอบโจทย์ และฝึกการวางแผนการนำเสนอว่าควรจะนำเสนอรูปแบบใด ช่วงเวลาใดถึงจะได้การตอบรับจากกลุ่มเป้าหมายได้มากที่สุด

Share This:

Comments are closed.