breaking news

ถอดบทเรียนเพื่อลดความรุนแรงบนโลกออนไลน์ ภายใต้แนวคิดพักก่อนพิมพ์

เมษายน 28th, 2020 | by administrator
ถอดบทเรียนเพื่อลดความรุนแรงบนโลกออนไลน์ ภายใต้แนวคิดพักก่อนพิมพ์
CB59318
0

โดยปัจจุบันมีความรุนแรงทุกรูปแบบในสังคม โดยเฉพาะในสังคมโซเชียลมิเดีย ยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นทุกวัน           จากพฤติกรรมของคนเราเปลี่ยนไป จากคำพูด การแสดงความคิดเห็น การแชร์จากปากต่อปาก บนโซเชียลมิเดียในด้านลบ หากกระทำเป็นประจำ อาจเกิดความเคยชิน จนในที่สุด ความรุนแรงนั้นกลับกลายเป็นเรื่องปกติ ที่ใครก็สามารถทำได้ คนเรานี้ยังขาดความหยับยั้งชั่งใจ ในการใช้สื่อโซเชียล ทั้งคำด่าทอ คำดูถูก เหยียดหยาม หรือแม้กระทั้งการเสพข้อมูลที่อาจทำให้เกิดความแตกแยก ความเกลียดชัง ทั้งที่ไม่รู้จักกัน

การผลิตคอนเทนต์เพื่อลดความรุนแรงบนโลกออนไลน์ โดยแบ่งเป็น 3 แพลตฟอร์ม

  1. ผ่านช่องทาง Facebook โดยมุ่งเน้นผลิตคอนเทนต์ในรูปแบบรูปภาพ Photo Story เป็นการเล่าเรื่องจากภาพถ่าย เพื่อสะท้อนถึงปัญหา สาเหตุในการเกิดความรุนแรงเพื่อแค่อารมณ์ชั่ววูบ  infographic เป็นการแสดงผลของข้อมูลหรือความรู้โดยภาพที่อ่านแล้วเข้าใจ โดยสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่าย วิดีโอ Stop motion เป็นแอนิเมชันอีกรูปแบบหนึ่ง สร้างส่วนประกอบต่าง ๆ ของภาพขึ้นการวาดบนแผ่นกระดาษเพื่อเล่าเรื่องเป็นเรื่องสั้น เกี่ยวกับความรุนแรงที่มีหลากหลายรูปแบบ และเพลงเป็นการนำเนื้อหาความรุนแรงที่อยู่ในชีวิตจริงและบนโลกออนไลน์ จากมุมเพื่อนเล่าในเพื่อนได้รับรู้ การด่าทอ ดูถูก การล้อเลียน ที่อาจเป็นปมด้อย ทำให้เกิดค่านิยมแบบผิด ๆ

การแชร์ประสบการณ์ความรุนแรงที่เคยเจอบนโลกออนไลน์ เล่าประสบการณ์ที่เคยเจอบนโลกออนไลน์ เพื่อลดความรุนแรงไม่ให้เกิดซ้ำ พร้อมให้คำแนะนำความรุนแรงนั้น ซึ่งคำแนะนำนั้นมาจากผู้รับสารด้วยกันเอง และให้ผู้รับสารได้รู้เท่าทันในการใช้สื่อโซเชียล

เรื่อง Headline ที่ฉันต้องการเมื่อผู้รับสารได้ข้อมูลครบถ้วนแล้ว ลองตั้ง Headline ข่าวในแบบของคุณพร้อมแทรกความรู้ Headline ข่าวที่ดีควรเป็นอย่างไร เพื่อต้องการให้กลุ่มที่มีอารมณ์ร่วม มีสติมาขึ้นในการเสพข่าว และให้กลุ่มคนที่คิดก่อนเยอะ ให้กล้าบอกต่อผู้อื่น

2. เว็บไซต์ เป็นการมุ่งเน้นผลิตคอนเทนต์ในเรื่อง บทความ เกี่ยวกับโลกออนไลน์ โรคร้ายที่รุนแรง ที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นที่เป็นวัยที่กำลังเจริญเติบโต อยากรู้อยากลอง ที่อาจจะยังไม่เข้าใจ ถึงความรุนแรงที่ตนได้กระทำลงไป รวมไปถึงการให้คำแนะนำเพื่อรับมือกับความรุนแรงในโลกออนไลน์ และบทความเกี่ยวกับ การแชร์ประสบการณ์ผู้ที่เคยโดนความรุนแรงนั้นเป็นอย่างไร และเธอคนนนั้นมีวิธีรับมือความรุนแรงอย่างไร เป็นการยกเคสกรณีตัวอย่างเพื่อเล่าสู่กันฟัง

3. Twitter  เป็นการมุ่งเน้นผลิตคอนเทนต์ ประโยคคำคม วรรคทอง ของผู้เชี่ยวชาญหรือในมุมมองความคิดคนทั่วไปสั้นๆ กระชั่บ เข้าใจง่าย เพื่อให้กลุ่มผู้รับสารฉุดคิด มีสติในการใช้สื่อโซเชียลมิเดีย

ในฐานะผู้ผลิตสื่อ เราได้เรียนรู้พฤติกรรมของผู้รับสารในปัจจุบันมีพฤติกรรมเปลี่ยนไปจากเดิม เพราะสื่อออนไลน์ที่เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนเรามากขึ้น การใช้สื่อที่เปลี่ยนไปในด้านลบ โดยการทำสื่อเพื่อลดความรุนแรงในครั้งนี้เราได้เห็นในแง่มุมของคนที่ประสบปัญหาความรุนแรงบนสื่อออนไลน์ ปัญหาที่ใครก็ไม่สามารถแก้ได้อย่างถาวร หากทุกคนช่วยกันไม่มองว่าสิ่งนี้เป็นเรื่องเล็ก ก็จะสามารถลดความรุนแรงเพิ่มสติในการใช้สื่อมากยิ่งขึ้น และทำให้เข้าใจความต้องการของผู้รับสารที่ไม่ต้องการการผลิตสื่อแบบเดิมๆ โดยให้เขามีส่วนร่วมหรือการสร้างปฎิสัมพันธ์กับผู้รับสารในเรื่องดังกล่าวนั้นเป็นสิ่งทำคัญ ทำให้เห็นความคิดเห็น ความกล้าที่จะพูดในสิ่งที่ดี เพื่อเป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น

ดังนั้น โดยอยากให้ผู้รับสารมีสติรับรู้ข้อมูลข่าวสาร หรือรู้เท่าทันสื่อ ไม่หลงมีอารมณ์ร่วมกับข่าวนั้น ๆ และยังสามารถบอกต่อผู้อื่นได้ ผู้รับสารมีปฏิสัมพันธ์เปิดรับข้อมูลข่าวสาร ที่ผู้ผลิตต้องการนำเสนอตามกลุ่มเป้าหมายที่มีอายุ 13-15 ปี  แต่อาจจะไม่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมคนเหล่านั้นได้ และการเผยแพร่คอนเทนต์เป็นแค่การปลูกฝั่งเพื่อลดความรุนแรงเท่านั้น ทัศนคติแต่ละบุคคล เราทุกคนในสังคมต้องช่วยกัน บอกต่อในสิ่งดี ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อทุกคน ผลตอบรับก็อาจมีจะประสิทธิภาพตามที่ตั้งความเป้าหมายไว้

พักก่อนพิมพ์

ภายใต้แนวคิด
“ใช้สื่ออย่างมีสติ คิดก่อนทำ พักก่อนพิมพ์”

โดยการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในปัจจจุบันที่มีความรุนแรงกระตุ้นอารมณ์ผู้อ่าน ทำให้ผู้อ่านมีความสนใจกับข่าวนั้น จากการทำเสนอข้อมูลข่าวสารที่เกินจริง ทำให้ผู้รับสารมีอารมณ์ร่วมเป็นเหตุจุงใจให้เกิดความเกลียดชัง โดยการผลิตสื่อในครั้งนี้ อยากให้ผู้รับสารมีสติรับรู้ข้อมูลข่าวสาร หรือรู้เท่าทันสื่อ ไม่หลงมีอารมณ์ร่วมกับข่าวนั้น ๆ และยังสามารถบอกต่อผู้อื่นได้

การผลิตสื่อคอนเทนต์ในโลกเนื้อหาของเราจะแบ่งเป็น 4 แพลตฟอร์ม

เป็นการวางเนื้อหาให้เหมาะสมในแต่ละแพลตฟอร์มและพาผู้รับสารไปยังโลกเนื้อหารที่วางไว้ เพื่อทำให้ผู้รับสารมีความรู้เข้าใจในสิ่งที่เรากำลังจะสื่อสาร

  1. TikTok คลิปรีแอคชั่นข่าวนั้นที่ฉันเจอ เป็นการบอกให้กลุ่มคนที่มีอารมณ์ร่วมกับข่าว รู้ว่าข่าวนั้นกระตุ้นอารมณ์คนเราอยู่บนแอพพลิเคชั่น  TikTok และคลิปเรื่อง สอยๆ สอนแน่จักบาทคลิปสอยๆ ฮ่า ๆ ภาษาอีสาน  คติสอนใจ ให้กลุ่มคนที่มีอารมณ์ร่วมกับข่าวจัดการอารมณ์ตนเอง และให้กลุ่มคนที่คิดเยอะให้บอกต่อผู้อื่น

2. Facebook เรื่อง Headline ที่ฉันต้องการเมื่อผู้รับสารได้ข้อมูลครบถ้วนแล้ว ลองตั้ง Headline ข่าวในแบบของคุณพร้อมแทรกความรู้ Headline ข่าวที่ดีควรเป็นอย่างไร เพื่อต้องการให้กลุ่มที่มีอารมณ์ร่วม มีสติมาขึ้นในการเสพข่าว และให้กลุ่มคนที่คิดก่อนเยอะ ให้กล้าบอกต่อผู้อื่น

3. Youtube เรื่อง ฉัน(ไม่)อยากมีอารมณ์ร่วมกับข่าว ในมุมผู้รับสารที่เคยหรือไม่ ที่มีอารมณ์ร่วมกับข่าว พร้อมแทรกความรู้ ในมุมผู้เชี่ยวชาญเจาะลึกรายละเอียด ในการจัดการอารมณ์ของตนเองเมื่อเจอข่าวนั้น ๆ พร้อมทิ้งคำถามให้ผู้รับสารได้คิด 

รูปภาพนี้มี Alt แอตทริบิวต์เป็นค่าว่าง ชื่อไฟล์คือ image-11.png

3. Twitter บทกลอน เรื่อง สติจงมา  เป็นบทกลอนเตือนสติเช่นเดียวกัน สำหรับคนที่ไม่เข้าใจภาษาอีสาน  เพื่อตอกย่ำให้กลุ่มที่มีอารมณ์ร่วมกับข่าวให้มีสติ

รูปภาพนี้มี Alt แอตทริบิวต์เป็นค่าว่าง ชื่อไฟล์คือ image-8.png

4. นิยาย จอยรดา นิยายเรื่อง FAKE OR TRUE  ในมุมผู้ได้รับผลกระทบ ของกลุ่มคนที่มีอารมณ์ร่วมกับข่าว จนทำอาจทำลายชีวิตเธอคนนั้น และเธอคนนั้นจะสามารถก้าวผ่านเหตุการณือันเลวร้ายได้อย่างไร โปรติดตามได้ที่ แอพพลิเคชั่นจอยรดาได้แล้ววันนี้

รูปภาพนี้มี Alt แอตทริบิวต์เป็นค่าว่าง ชื่อไฟล์คือ 95143978_3784911638212301_2904882434656960512_n.jpg

การเผยแพร่สื่อดังกล่าว ได้เรียนรู้พฤติกรรมการผู้รับสารที่มีอารมณ์ร่วมกับข่าวจริง เหตุเพราะมีสื่อหลากหลายรูปแบบ เราจึงอยากให้ผู้รับสารมีสติในการกรองข้อมูลข่าวสารนั้น อาจปลูกฝั่งค่านิยมการเสพข่าวที่มีความรุนแรง จนนำไปสู้ความแตกแยกขแงคนในสัมคมในวงกว้าง โดยการผลิตสื่อดังกล่าว อยากปลูกฝั่งแนวคิด ความรู้เกี่ยวกับการมีสติในการใช้เสพข้อมูลข่าวสาร เพื่อให้ผู้รับสารสามรถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันและสามรถเป็นกระบอกเสียงบอกต่อผู้อื่นได้โดยเกิดจากจิตสำนึกร่วมต่อสังคมตลอดไป

ดังนั้น สิ่งหนึ่งอยากให้ผู้รับสารสามารถรับรู้ข้อมูลที่เผยแพร่ได้ มีสติรับรู้ข้อมูลข่าวสาร หรือรู้เท่าทันสื่อ ไม่หลงมีอารมณ์ร่วมกับข่าวนั้น ๆ และยังสามารถบอกต่อผู้อื่นได้ โดยขึ้นอยู่กับทัศนคติของแต่ละบุคคลที่สามารถปรับเปลี่ยนการเสพข่าวได้มากน้อยเพียงใด

#พักก่อนพิมพ์ #คิดก่อนแชร์แคร์ก่อนโพสต์

Share This:

Comments are closed.