สกศ. ร่วมมือกับ กอปศ. จัดตั้งโครงการ ประชุมหารือหาแนวทางการแก้ปัญหาการศึกษา และปฏิรูปการศึกษาไทย โดยให้ผู้เรียนและผู้เชี่ยวชาญ ได้แสดงความคิดเห็น ตั้งคำถาม และออกแบบการเรียนรู้ การศึกษาในอนาคต
ดร.ชัยยศ อิ่มสุวรรณ์ รองเลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวว่า การปฏิรูปการศึกษาถูกพูดถึงมานานมากกว่า 10 ปี ซึ่งเกิดจากการไม่พอใจในระบบการศึกษา ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาสูงในประเทศไทย การศึกษาในกรุงเทพฯ กับต่างจังหวัดยังมีการแข่งขันสูงและแตกต่างกัน เนื่องจากมีภูมิประเทศและสภาวะทางสังคมที่ไม่เหมือนกัน เช่น ในภาคเหนือมีชนเผ่าต้องเดินเท้าไปเรียนหนังสือ แต่บางที่ต้องใช้เวลา 2 – 3 ชั่วโมง ในการเดินทางกว่าจะไปถึงโรงเรียนถ้าไม่ค้างที่โรงเรียนก็คือไม่ไปเรียนเลย แต่คนในกรุงเทพก็ไม่ได้รับการศึกษาที่เท่าเทียมกัน โอกาสที่จะเข้าถึงการศึกษาของหลาย ๆ คน ก็ไม่ค่อยมีการเรียนฟรีไม่ได้หมายความว่าเรียนฟรีทั้งหมด ยังมีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เรื่องค่าเดินทาง หรือค่าบำรุงสถานศึกษา
อีกทั้งยังมีระดับคุณภาพทางการศึกษาไม่น่าพอใจเท่าที่ควร สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ร่วมประชุมหารือร่วมกับคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา (กอปศ.) เพื่อหาทางออกและวิธีการแก้ปัญหาการศึกษาในประเทศไทย และรวมไปถึงการรับฟังความคิดเห็นจาก ผู้ที่เรียน ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญที่มีส่วนได้เสียโดยตรงต่อการเรียน ดังนั้น สกศ. หวังว่าการจัดโครงการในครั้งนี้จะเป็นเสียงสะท้อนจากคนกลุ่มหนึ่งที่สามารถหาทางออกสำหรับการออกแบบการเรียนรู้ในอนาคต
“สังคมในประเทศไทยได้มีการพูดถึงคุณภาพการศึกษามากขึ้น จึงเป็นที่มาของการปฏิรูปการศึกษาที่จะทำให้ระบบการศึกษาดีมากขึ้น เช่น บางที่กิจกรรมเยอะครูต้องประเมิน โรงเรียนต้องประเมินทำให้ครูและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องต้องมาวุ่นกับการนักเรียนไทยมีเกณฑ์ต่ำกว่ามาตรฐานทั้งหมดเมื่อแข่งกับเพื่อนบ้านในเขตอาเซียนก็ไม่สามารถสู้เขาได้ ประเทศไทยอยู่ที่อันดับ 8ในกลุ่มอาเซียนด้วยกัน (จาก 10 ประเทศ)และเป็นอันดับที่ 53 ของโลกคุณภาพการศึกษาในเรื่องของคะแนน O – NETทำเอกสารจนไม่มีเวลาไปเตรียมการเรียนการสอนรูปแบบวิธีการสอนแบบที่ครูยืนอยู่หน้าห้องทำให้เด็กไม่สนใจที่จะเรียนรู้ และครูส่วนใหญ่ไม่มีจุดดึงดูดในการสอนให้เด็กสนใจ อาจเป็นผลทำให้คุณภาพการศึกษาต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน และยังมีอีกหลายหน่วยงานที่พยายามจะหาวิธีปฏิรูปการศึกษาขึ้นมา โดยที่ได้มีการค้นหาบุคคลที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในเรื่องการศึกษาเพื่อมารวมตัวกันหาทางออกของปัญหาการศึกษาเช่น ยกเลิกการสอบเข้าในระดับชั้น ป.1 หรือปรับห้องเรียนให้ไม่เกิน 40 คน ปรับบทบาทของครูให้ชัดเจนยิ่งขึ้น รูปแบบวิธีการสอนของครูที่ต้องเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของสังคมโลก เมื่อสมัย 100กว่าปีที่แล้ว ใช้วิธีการเรียนแบบนั่งเรียน ปัจจุบันก็ยังใช้วิธีนี้อยู่ จะเห็นได้ว่าไม่มีการพัฒนาหรือการเปลี่ยนแปลงห้องเรียนแบบโต๊ะเรียนที่ไม่น่าเรียน ใช้หนังสือแบบเดิมๆ ห้องสมุดที่ไม่น่าเข้าใช้บริการ ซึ่งจะหาวิธีการเปลี่ยนบริบทเหล่านี้ให้เอื้อต่อการเรียนการสอน หรือการเรียนรู้ได้อย่างไร”
ด้าน นายสุกิจ อุทินทุ กกส. ด้านเศรษฐกิจ การ เงิน การคลัง ธุรกิจ และการบริการ กล่าวว่า การเรียน รู้ในศตวรรษที่ ๒๑ มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก โดย เฉพาะอย่างยิ่งคนรุ่นใหม่ที่เกิดในยุคดิจิทัลที่แตกต่างจาก คนรุ่นก่อน และสามารถเรียนรู้ได้รวดเร็ว โดยใช้ เทคโนโลยีบนสมาร์ทโฟน ดังนั้นกระบวนการเรียนรู้ใน โลกยุคดิจิทัลจึงควรได้รับการออกแบบโดยผู้เรียนเอง ซึ่ง หลักสูตรการเรียนการสอนจึงมีการเปลี่ยนแปลง โดยมุ่ง เน้นเรียนรู้วิชาต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงโลกได้ ส่งเสริม บรรยากาศการเรียนรู้ที่ได้คิดเองและลงมือทำด้วยตนเอง สามารถเรียนรู้ได้จากครูผู้สอนที่มีรูปแบบการสอนที่ หลากหลายรูปแบบ เช่น เรียนรู้การใช้ชีวิต เรียนรู้จาก ประสบการณ์ ฯลฯ เพื่อตอบสนองความต้องการที่แท้ จริงของผู้เรียน
โดยมีการจัดโครงการงานประชุมเวทีระดมความคิดเห็นเพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้กลุ่มเด็กและเยาวชนรุ่นใหม่ ในหัวข้อ” ปฏิรูปการศึกษา ต้องไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง’ โดยมีปัจจัยที่จะให้เด็กและเยาวชนคนรุ่นใหม่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของ ครูในอนาคต ว่าต้องการวิธีการสอนของครูแบบไหน ต้องการห้องเรียนแบบไหน อยากได้ครูแบบไหน อยากได้โรงเรียนบรรยากาศ และหลักสูตรในการเรียนรู้แบบไหนเพราะโลกในปัจจุบันได้เปลี่ยนไปเยอะกว่าที่คาดถึง และเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตมากขึ้น คนส่วนใหญ่ใช้เวลากับ social media มากกว่า 5 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งใช้ไปกับสิ่งบันเทิง หรือความสนุก แต่จะใช้เวลาจากsocial media เพื่อการเรียนรู้น้อยกว่าความบันเทิงและความสนุกที่สนใจ ดังนั้นโครงการนี้ จัดขึ้นเพื่อให้เด็ก และเยาวชนช่วยกันระดมความคิดของการศึกษาในอนาคตโดยมีการระดมกันอย่างเช่น เรื่องของการวัดผลสอบ วัดระดับคุณภาพการศึกษา ของนักเรียน นักศึกษา จึงเสนอว่าการเรียนแบบใหม่ ควรเป็นการเรียนนอกห้องเรียนมากกว่าเรียนในห้องเรียนเหมือนแบบเดิม ๆ เพราะมันเป็นสิ่งที่จำเป็น และสำคัญ เพื่อจะได้เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ หาข้อมูลเอง ลงพื้นที่จริง ทำงานด้วยตนเองจริง ๆ เป็นต้น