breaking news

บังคับไม่ได้! นักวิชาการ ชี้ เงินเดือน ป.ตรี 15,000 แค่หลักประกัน ไม่เกี่ยวข้องกฎหมาย

กรกฎาคม 2nd, 2018 | by administrator
บังคับไม่ได้! นักวิชาการ ชี้ เงินเดือน ป.ตรี  15,000 แค่หลักประกัน ไม่เกี่ยวข้องกฎหมาย
Econ&Biz News
0

นักวิชาการ ชี้ เงินเดือนขั้นต่ำ ป.ตรี 15,000 บาท บังคับใช้กฎหมายไม่ได้ เป็นแค่หลักประกัน ความมั่นคง ขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัท ด้าน นศ.จบใหม่ เผย 15,000 ไม่พอค่าครองชีพ นัก ลงทุน แนะ ทำบัญรายรับรายจ่าย และทำงานเสริม

ศาสตราภิชาน แล ดิลกวิทยรัตน์ อาจารย์ ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้อธิบายนโยบายการปรับขึ้นเงินเดือนของ วุฒิปริญญาตรีว่า เงิน 15,000 บาท เป็นเพียงหลักประกัน ความมั่นคงในการเริ่มต้นทำงาน แต่ในทางปฏิบัติกลับ บังคับใช้ในทางกฎหมายได้ยาก ถ้าบริษัทไม่ให้ 15,000 บาท ก็ไม่สามารถเรียกร้องได้ เพราะกฎหมาย แรงงานในเรื่องค่าจ้างขั้นตํ่า ในเขตกรุงเทพมหานครจ่าย พื้นฐานประมาณ 325 บาท ถ้าจ่ายต่ำกว่านั้นก็ถือว่าผิด กฎหมาย เพราะฉะนั้น “15,000 บาท จะบังคับใช้ไม่ได้”

“ขณะที่หลังจากเรียนจบออกมาทำงาน ใช้ชีวิต อยู่ข้างนอก ราคาอาหารที่กินจะเฉลี่ยมื้อละ 40 บาท ดังนั้น ในหนึ่งวันคุณกินอาหารสามมื้อตกวันละ 120 บาท ในส่วนของค่าเดินทางคุณจะไม่สามารถขึ้นรถ MRT หรือ BTS ได้ จะได้นั่งแค่รถเมล์เท่านั้น รวมทั้งยังมีค่าใช้จ่าย จิปาถะอื่น ๆ อีกมากมาย จึงมองว่า 15,000 บาท ก็สามารถอยู่ได้ แต่ต้องจัดสรรค่าใช้จ่ายให้ดี และต้อง ประหยัดมาก ๆ ลองตั้งคำถามกับตนเองดูว่าคุ้มค่าหรือ ไม่ กับความบากบั่นเล่าเรียนจนจบปริญญาตรี ที่เพื่อแลกกับเงินเดือน 15,000 บาท”

ขณะที่ HR Center มีการสำรวจค่าจ้างและ สวัสดิการซึ่งทำมาเป็นระยะเวลา 10 ปีแล้ว เมื่อนำปี 2560 เทียบกับปี 2561 ในภาพรวมจะเห็นได้ว่า ค่าจ้าง เริ่มต้นสำหรับปริญญาตรีจบใหม่ ส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มสูง ขึ้น เช่น วิศวะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 3.2 จากปี 2560 มีค่าจ้างเฉลี่ยอยู่ที่ 19,701 บาทและสังคมศาสตร์ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.6 มีค่าจ้างเฉลี่ย 16,012 บาท

นายไพศาล เตมีย์ กรรมการผู้จัดการบริษัท เอช อาร์ เซ็นเตอร์ จำกัด กล่าวว่า การจ่ายค่าจ้าง 15,000 บาท ไม่ได้เป็นนโยบายของทุกองค์กร เพราะการจ่ายเงิน เดือนเพื่อจ้างงาน แต่มีปัจจัยหลายอย่างที่บริษัทต้อง คำนึง เช่น ความสามารถในการจ่ายของตนเอง ดีมานด์ และซัพพลายในตลาด อาทิ วุฒิที่เป็นที่ต้องการของตลาด กลุ่มนี้ก็อาจได้ค่าจ้างสูงกว่ากลุ่มอื่น ๆ ส่วนวุฒิที่มีจำนวน ล้นตลาดแรงงานก็อาจได้ค่าจ้างที่ต่ำกว่ากลุ่มนี้

สำหรับข้อสงสัยในการจ่ายค่าจ้างขอข้าราชการ กับเอกชนที่ไม่เท่ากัน ถือเป็นเรื่องปกติเพราะสวัสดิการ ต่าง ๆ ที่ข้าราชการมีให้นั้นครอบคลุมไปจนถึงครอบครัว อย่างไรก็ตามมีหลายคนที่ยั งกังขาต่ อนโยบายดังกล่าวว่า เงินเดือน 15,000 บาท จะสามารถดำรงชีพอยู่ใน กรุงเทพฯ และปริมณฑล ได้หรือไม่ เมื่อเทียบกับค่าครอง ชีพที่ค่อนข้างสูงสวนทางกับเงินเดือน

ขณะเดียวกัน ข้าราชการอาจไม่ส่งผลกระทบ มากนัก เพราะหากทำงานราชการ จะมีสวัสดิการให้ มากมายครอบคลุมไปถึงครอบครัว เช่น ค่าเล่าเรียนบุตร ค่ารักษาพยาบาล นอกจากนี้ข้าราชการยังมีความมั่นคง สูง ที่เมื่อเกษียณอายุแล้วยังมีบำเหน็จและบำนาญรองรับ แต่ถึงแม้เอกชนจะไม่มีสวัสดิการที่ครอบคลุมเทียบเท่า แต่การปรับขึ้นเงินเดือนนั้นเมื่อเทียบกับราชการที่ปรับ ขึ้นเพียงไม่เกิน % ต่อปีแล้ว เอกชนมีโอกาสปรับขึ้นเงิน เดือนมากกว่าตามศักยภาพการทำงาน หากสามารถเพิ่ม ประสิทธิภาพในการทำงานได้ก็จะมีโอกาสก้าวหน้า มากกว่า

นายไพศาล ให้ข้อเสนอแนะอีกว่า ในการสมัคร งานถ้ามองเพียงค่าจ้างแค่อย่างเดียวอาจทำให้ เราพลาดโอกาสที่จะได้ทำงานที่ ท้าทายความสามารถถ้าเป็นไป ได้ลองคิดหลายๆ มุมมอง เช่น รายได้สามารถเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ งานน่าสนใจ มีโอกาสก้าวหน้า สังคม การทำงานดี ดังนั้นองค์ประกอบเหล่านี้จึงบ่งบอกได้ว่า มุมมองเรื่องเงินไม่ใช่คำตอบสุดท้ายเสมอไป

ทั้งหมดนี้ก็เป็นปัจจัยในการจ้างงาน รวมถึง การจ่ายค่าจ้างของภาคเอกชนและข้าราชการ โดยผล สำรวจนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จากแบบสอบถามจำนวน 30 คนส่วนใหญ่ได้รับเงิน เดือน 15,000 บาท ตามที่นโยบายของภาครัฐ แต่ ไม่เพียงพอต่อการใช้ชีวิต ในเขตกรุงเทพฯ และ ปริมณฑล เนื่องจากค่าใช้จ่ายในแต่ละวันมีการใช้จ่าย ค่อนข้างสูง เช่นค่าเดินทาง ค่าอาหาร เป็นต้น ซึ่ง แนวทางในการแก้ปัญหาส่วนใหญ่จะเลือกหางานเสริม ทำแทนที่จะย้ายออกจากที่ทำงานเดิม เพราะมีความ เสี่ยงที่จะว่างงานยาวเกินไปและอาจเสียโอกาสได้

นายสันติสุข บุญศรี นักศึกษาสาขาเทคโนโลยี การศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จบมา ได้ 2 ปี ปัจจุบันทำงานอยู่ที่ ช่อง 3 Family ตำแหน่งผู้ประสานงาน เปิดเผยการใช้เงินเดือนให้พอใน แต่ละเดือนนั้นว่า ตนเองได้ทำบัญชีทุกเดือน รู้รายรับ และรายจ่ายได้วางแผนการเงินล่วงหน้า แต่ก็มักมี ค่าใช้จ่ายจากสิ่งที่อยากได้นอกเหนือจากพื้นฐานปัจจัย 4 เช่น ของสะสม การเดินทางท่องเที่ยว เป็นต้น

“ผลจากการที่เงินไม่พอส่วนมากจะมาจากการ ที่มีของที่อยากได้ อยากกิน อยากเที่ยว หรือสิ่งของ นอกเหนือจากความจำเป็นที่เราวางแผนไว้ ซึ่งการไม่มี หนี้ดีที่สุด!! และเนื่องจากได้ที่พักใกล้ที่ทำงาน จึงตัด ปัญหาเรื่องค่าเดินทางทำให้เหลือจ่ายค่าที่พัก ค่ากิน และ ใช้เที่ยวบ้าง บางเดือนก็เหลือน้อย บางเดือนก็หมดพอดี แต่จะหักเก็บเข้ากองทุนทุกเดือน ความเห็นส่วนตัวคิด ว่าการทำงานในกรุงเทพฯ ยังไม่สอดคล้องกับค่าครองชีพ เท่าไหร่ ยิ่งบางคนที่ต้องเดินทาง จะต้องประสบปัญหา รถติด พร้อมกับค่า BTS ที่ปรับราคาเพิ่มขึ้น แต่ถ้าหาก อยู่ต่างจังหวัดก็จะสามารถตัดปัญหาเรื่องของการเดินทาง ได้เมื่อเทียบกับการทำงานในกรุงเทพฯ”

นายสันติสุข ยังกล่าวอีกว่า เงินเดือนเป็นปัจจัย ที่มีผลต่อการดำเนินชีวิต อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือการ จบออกมา แล้วได้งานตรงตามสาขาที่เรียนหรือ ตรงความชอบ ซึ่งอยู่ที่ความพอใจของแต่ละบุคคล ส่วน อัตราเงินเดือนจะมากหรือน้อยสิ่งสำคัญ คือต้องรู้จัก บริหารการเงิน เพื่อความมั่นคงในระยะยาว

ผศ.ดร.นรีรัตน์ เตชพิรุณทอง นักลงทุนอิสระอาจารย์ประจำวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า สำหรับบัณฑิตป้ายแดงพยายามอย่าเพิ่มภาระให้ชีวิต ที่สำคัญต้องมีเป้าหมายในการทำงาน ซึ่งกรณีนี้สามารถมองได้หลายมุมมอง อยากจะทำงานบริษัทเล็กๆ เพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์ ต่อยอดความสามารถ หรืออีกทางเลือกคือ บริษัทใหญ่ที่ใช้เวลานานในการเติบโต แต่ฐานการเงินอาจมั่นคงกว่า ซึ่งก็ต้องดูอีกว่าสถานที่ทำงานนั้นมีค่าใช้จ่ายสูง และมีโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงานหรือไม่

นอกจากนี้ ผศ.ดร.นรีรัตน์ ยังแนะนำการวางแผนการเงินที่ทุกคนสามารถทำตามได้ คือ ทำบัญชีรายรับรายจ่าย โดยทำเป็นสองส่วนได้แก่ 60% เป็นค่าใช้จ่ายหลัก เช่น ค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ส่วนอีก 40% เป็นเงินออม แบ่งออกเป็น 10% ออมเพื่ออนาคต เงินส่วนนี้ทำเป็นมองไม่เห็นเลยยิ่งดี นอกจากนี้ ต้องแบ่งทำประกันอุบัติเหตุประกันชีวิต 10% และอีก10% เก็บไว้เผื่อจำเป็นต้องใช้ เช่น รถยนต์ บ้าน การเรียน รวมทั้งแบ่งเป็นการกุศล 5% และเก็บไว้สำหรับการเข้าสังคม สังสรรค์บ้างอีก 5%

อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยถ้าขาดครอบครัวและสุขภาพ ดังนั้นต้องรู้จักบาลานซ์ทุกสิ่งให้ไปในทิศทางที่ดีขึ้นและเป้าหมายที่ตั้งไว้จะประสบความสำเร็จดั่งใจหวัง

Share This:

Comments are closed.