breaking news

Cyberbullying ภัยใกล้ตัวบนโลกออนไลน์ที่ไม่ควรมองข้าม

มกราคม 4th, 2018 | by administrator
Cyberbullying ภัยใกล้ตัวบนโลกออนไลน์ที่ไม่ควรมองข้าม
About Prototype
0

Share This:

เชื่อว่าหลายคนคงเคยถูกกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์หรือเคยเป็นผู้ที่กลั่นแกล้งคนอื่นบนโลกออนไลน์ หากแต่สิ่งใกล้ตัวเหล่านี้กลับสร้างผลกระทบร้ายแรงต่อจิตใจของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ จะดีกว่าไหมถ้าทุกคนหันมาใส่ใจและต่อต้านพฤติกรรมเหล่านี้

 

Cyberbullying คืออะไร

Cyberbullying หรือการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ที่เกิดขึ้นบนอุปกรณ์ดิจิทัล อย่างเช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ แท็ปเล็ต เป็นต้น Cyberbullying สามารถปรากฏในรูปแบบของ ข้อความ(SMS) แชท แอปพลิเคชัน หรือช่องทางออนไลน์อย่างสื่อโซเชียลมีเดีย กระทู้ เกม ที่ผู้คนสามารถมองเห็นได้ รวมถึงการมีส่วนร่วม การแชร์เนื้อหา

ทั้งนี้ ยังรวมถึงการส่ง การโพสต์ การแชร์ข้อมูลในเชิงลบ ให้ร้าย เป็นเท็จ และเนื้อหาที่หยาบคายเกี่ยวกับผู้อื่น ซึ่งอาจรวมถึงการแชร์ข้อมูลส่วนบุคคล หรือข้อมูลส่วนตัวของผู้อื่นที่ก่อให้เกิดความอับอาย ซึ่งบางครั้งล้ำเส้นจนผิดกฎหมายหรือเป็นพฤติกรรมที่เป็นอาชญากร

 

 

ตัวอย่างการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์

1. การข่มขู่ ให้ร้าย ใช้ถ้อยคำหยาบคาย
การส่งข้อความหรือการโพสต์ผ่านสื่อสังคมของผู้ถูกกระทำ ที่มีลักษณะเป็นการด่าทอ ให้ร้าย ข่มขู่ ใช้ถ้อยคำส่อเสียด เช่นการส่งข้อความขู่ว่าจะมาดักทำร้าย หรือด่าทอให้ร้ายเพื่อให้เกิดความเสียหาย

2. การคุกคามทางเพศ
การส่งข้อความหรือการโพสต์ผ่านสื่อสังคม ที่มีลักษณะเป็นการคุกคามทางเพศ บังคับให้ส่งภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหวโป๊เปลือยมาให้ หรือส่งภาพโป๊เปลือยมาให้โดยผู้ถูกกระทำไม่ต้องการ รวมถึงการโพสต์สื่อโป๊เปลือยในสื่อสังคมเพื่อให้ได้รับความอับอาย

3. การแอบอ้างตัวตนของผู้อื่น
การเปิดเผยรหัสผ่านของโซเชียลให้ผู้อื่นรู้ เช่น การสมัครไอดีผู้ใช้บนโซเชียลมีเดีย อาทิ เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ ไลน์ ให้กับเพื่อนหรือคนรู้จัก อาจถูกกลั่นแกล้งรังแกด้วยการสวมรอยโดยใช้ช่องทางเหล่านี้ในการปลอมแปลงเป็นตัวเองส่งข้อความหรือโพสต์ข้อความที่หยาบคาย ให้ร้าย ทำให้ผู้อื่นเกิดความอับอาย รวมถึงการลงรูปโป๊ คลิปวิดีโอลามกอนาจาร ที่สร้างความเสียหายในรูปแบบต่างๆ
รวมไปถึงการสร้างบัญชีขึ้นมาใหม่ โดยใช้ชื่อและข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่น อาจถูกใช้เพื่อการให้ร้ายหรือวัตถุประสงค์อื่น แต่ย่อมสร้างความเสียหายให้กับเจ้าของตัวตนจริง

4. การแบล็กเมล
การนำข้อมูลลับหรือภาพที่ผู้อื่นไม่ต้องการเปิดเผยมานำเสนอผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ ทำให้เกิดการแชร์ต่อในวงกว้าง หรือการตัดต่อรูปภาพ วิดีโอที่มีจุดประสงค์ให้ผู้อื่นเกิดความอับอาย รวมถึงการนำภาพหลุดที่ตลกขบขันมาประจานบนสื่อออนไลน์ และมีการแสดงความเห็นอย่างสนุกสนาน

5. การสร้างกลุ่มเพื่อโจมตี
การสร้างกลุ่ม หรือเพจชุมชนเพื่อโจมตีบุคคลหรือกลุ่มบุคคล มีการจับผิด ให้ร้าย เสียดสี แล้วนำประเด็นมาพูดคุยเรื่องเสียหายของบุคคลที่ไม่ชอบ โน้มน้าวให้ผู้อื่นรู้สึกรังเกียจเหมือนกลุ่มของตน เพื่อกีดกันหรือบีบให้ไม่สามารถอยู่ในสังคมได้

6. การหลอกลวง
การทำข้อมูลปลอมเพื่อหลอกให้หลงเชื่อ ให้เกิดการโอนเงินไปให้ หรือนัดให้มาถูกทำร้าย

“นักจิตวิทยา” เผย Cyberbullying นำพาสู่โรคซึมเศร้า

พ่อเชิญคนที่เคยกลั่นแกล้งมางานศพลูกสาว เพื่อดูผลของสิ่งที่พวกเขาคิดว่าเป็นเรื่องสนุก

สิ่งที่น่าสนใจของการกลั่นแกล้งรังแกบนโลกออนไลน์ของไทยคือ เด็กและเยาวชน อายุ 5-28 ปี เป็นกลุ่มที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตมากที่สุดถึง 75% และใช้อินเทอร์เน็ตมากถึงวันละกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน (ที่มา ผลสำรวจจากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์) โดย 80% ของเด็กและเยาวชนไทย เคยพบกับภัยคุกคาม ล่อลวงและกลั่นแกล้งทั้งในโรงเรียนและบนโลกออนไลน์ ถือเป็นอันดับต้นๆ ของเอเชีย (ที่มา www.nobullying.com)

ยิ่งไปกว่านั้น มีเด็กไทย 28% ที่มองว่า Cyberbullying เป็นเรื่องปกติ และ 39% ที่มองว่าเป็นเรื่องสนุก ขณะที่ 59% ยอมรับว่าเคยเป็นส่วนหนึ่งของการ Cyberbullying (ที่มาสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล)

สิ่งที่ควรจะทำหลังจากนี้เท่าที่ทำได้ คือช่วยกันรณรงค์สร้างการรับรู้ว่า Cyberbullying ส่งผลกระทบกับชีวิต ความรู้สึกของผู้ถูกกระทำขนาดไหน และมันไม่ได้เป็นเรื่องสนุก

 

นอกจากนี้ยังสามารถทำความเข้าใจในรูปแบบการกลั่นแกล้งรังแกบนโลกออนไลน์กับรูปภาพสวยๆ ได้ที่แฟนเพจของ The Prototype

ติดตาม วิดีโอสัมภาษณ์ในประเด็นที่น่าสนใจ ถ้าเพื่อนล็อกอินเฟซบุ๊กเอาไว้ คุณจะทำอย่างไร?


อ้างอิงจาก

 

Comments are closed.