breaking news

“ภัยเงียบของคนขับรถ”

ธันวาคม 28th, 2017 | by administrator
“ภัยเงียบของคนขับรถ”
About Prototype
0

Share This:

อีกไม่กี่วันก็จะเข้าช่วงเทศกาลวันปีใหม่ นับว่าเป็นวันหยุดยาวที่ประชาชนทุกคนต่างเฝ้ารอที่จะกลับบ้านต่างจังหวัด เพื่อไปเยี่ยมญาติรวมถึงไปเที่ยวในช่วงเทศกาล ซึ่งทุกคนต่างต้องใช้รถใช้ถนนในการเดินทาง ไม่ว่าจะเป็นรถส่วนตัวหรือรถประจำทางเพื่อมุ่งไปยังจุดหมายของตน ซึ่งแน่นอนว่าการจราจรบนท้องถนนจะแน่นมากเป็นพิเศษ ดังนั้น ผู้ที่ขับขี่รถจึงต้องตรวจเช็คสภาพรถก่อนที่จะใช้งาน และต้องควบคุมอารมณ์ในระหว่างการขับรถ เพราะการเดินทางต้องใช้ระยะเวลานานอาจทำให้ร่างกายอ่อนล้าและอารมณ์ร้อนได้

นายอภิชา ฤธาทิพย์ นักจิตวิทยา คลินิกชำนาญการสำนักบริหารระบบบริการสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณะสุข เปิดเผยว่า ปัจจุบันคนไทยมีความอดทนต่ำหากอยู่บนท้องถนนเป็นเวลานาน รวมถึงการถูกสิ่งกระตุ้นรอบตัว อาจทำให้เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นได้ ดังนั้นในการเดินทางไปสู่เป้าหมาย ผู้ขับขี่ยานพาหนะควรควบคุมอารมณ์และต้องคำนึงถึงความรู้สึกของคนที่ใช้รถใช้ถนนร่วมกันด้วย

นอกเหนือจากการตรวจเช็คสภาพรถ และการควบคุมอารมณ์ อีกสิ่งหนึ่งคือการตรวจเช็คถึงโรคที่ไม่สามารถขับขี่รถได้ แม้ว่าโรคและปัญหาสุขภาพบางข้อไม่ได้เป็นข้อห้ามของการทำใบขับขี่ แต่บางอาการหากกำเริบขึ้น ก็ส่งผลกระทบต่อสมรรถภาพการขับขี่ และเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุได้เช่นกัน

นพ.โสภณ เมฆธน อดีตอธิบดีกรมควบคุมโรค ได้ เปิดเผยข้อมูลจากเว็บไซต์กระปุก ถึง 8 โรคที่ไม่ควรขับรถและปัญหาสุขภาพที่อาจส่งผลกระทบต่อการขับขี่ได้ นั่นก็คือ

1.โรคที่เกี่ยวกับสายตา เช่น ต้อหิน ต้อกระจก จอประสาทตาเสื่อม โดยผู้ที่จอประสาทตาเสื่อมจะมองเห็นเส้นทางในช่วงเวลากลางคืนไม่ชัดเจน ส่วนผู้ที่เป็นต้อหิน ต้อกระจก จะมีมุมในการมองเห็นแคบและมองเห็นแสงไฟพร่ามัวจึงเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย ควรหลีกเลี่ยงการขับรถในช่วงเวลากลางคืน หรือเส้นทางที่มีทัศนะวิสัยไม่ดี

2.โรคทางสมองที่ยังเป็นไม่มาก แต่ก็ทาให้มีอาการหลงลืม จดจำเส้นทางไม่ได้ ทำให้ตัดสินใจช้า สมาธิไม่ดีนัก และอาจเกิดปัญหาขับรถหลงทางในบางครั้ง เช่น โรคสมองเสื่อมที่มักพบในผู้สูงอายุ

3.โรคหลอดเลือดสมองอัมพฤกษ์ กล้ามเนื้ออ่อนแรง จะทำให้แขนไม่มีแรงในการบังคับพวงมาลัยหรือเปลี่ยนเกียร์ และอาจเกิดปัญหาขากระตุก ไม่มีแรงขณะเหยียบคันเร่ง เหยียบเบรก ส่งผลต่อการขับขี่ และทำให้ความไวต่อการตอบสนองเหตุการณ์ต่าง ๆ ลดลง

4.โรคพาร์กินสัน จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการมือสั่น เท้าสั่น เกร็ง ทำอะไรได้ช้า ขับรถได้ไม่ดี กรณีอาการรุนแรงจะทาให้เกิดภาพหลอน หากขับรถจะก่อให้เกิดอันตรายได้

5.โรคลมชัก หากอาการกำเริบขึ้นจะมีอาการชัก เกร็งกระตุก ไม่รู้สึกตัว หมดสติ เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ทางรอบข้าง ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการขับรถด้วยตนเอง หากจาเป็นต้องขับรถ ต้องไม่มีอาการชักอย่างน้อย 6 เดือน ควรมีเพื่อนร่วมทางไปด้วย และเมื่อมีอาการเตือนของโรคลมชัก ให้จอดรถริมข้างทางในบริเวณที่ปลอดภัย ซึ่งผู้ที่เคยประสบอุบัติเหตุจากการชักขณะขับรถ ควรเว้นระยะในการขับรถและต้องไม่มีอาการชักอย่างน้อย 1-2 ปี จึงสามารถกลับมาขับรถได้อีกครั้ง

6.โรคข้อเสื่อมข้ออักเสบ หากมีอาการปวดบริเวณต่าง ๆ เช่น ข้อเข่า ก็ทำให้เหยียบเบรก คลัตช์ หรือคันเร่งได้ไม่เต็มที่ ขยับร่างกายลำบาก หรือถ้ากระดูกคอเสื่อม ก็ทำให้หันคอ หันหน้าดูการจราจรได้ลำบาก รวมถึงไม่สามารถนั่งขับรถเป็นเวลานานได้ เพื่อความปลอดภัย ควรหลีกเลี่ยงการขับรถระยะทางไกลเป็นเวลานาน ไม่ขับรถผ่านเส้นทางที่มีสภาพการจราจรติดขัด

7.โรคหัวใจ หากมีอาการเครียดมาก ๆ เกิดขึ้นจากสภาพการจราจรที่ติดขัด อาจทำให้เกิดอาการแน่นหน้าอกได้ เพื่อความปลอดภัย ควรหลีกเลี่ยงการขับรถตามลำพัง และนายาติดตัวไว้เสมอ รวมถึงควรจอดรถพักเป็นระยะ เพื่อป้องกันภาวะเครียดสะสม ทำให้โรคหัวใจกำเริบ

8.โรคเบาหวาน หากระดับน้าตาลในเลือดต่ำ จะมีอาการหน้ามืด วิงเวียนศีรษะ สายตาพร่ามัว เหงื่อออกมาก ใจสั่น และหมดสติ หากอาการไม่รุนแรงยังสามารถขับรถได้ แต่หากอาการรุนแรง ห้ามขับรถโดยเด็ดขาด หากจำเป็นต้องขับรถควรเตรียมอาหาร ลูกอม น้าหวานไว้รับประทาน เพื่อป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ทาให้หมดสติ ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ นอกจากนี้ หากผู้ป่วยโรคใด ๆ ก็ตามที่ทานยาบางชนิดที่มีฤทธิ์ง่วงซึมก็ควรหลีกเลี่ยงการขับรถเช่นกัน เพราะเมื่อไปขับรถจะเกิดอาการมึนงง หลับใน ตัดสินใจช้า ตอบสนองต่อเหตุการณ์ได้ช้า ดังนั้นจึงมีคำแนะนาให้นอนพักผ่อนหลังทานยาประเภทนี้

ปัจจุบันกฎหมายได้กำหนดโรคต้องห้ามในการขับขี่รถยนต์เพียงแค่ไม่เป็นโรคติดต่อ ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต และไม่ติดสุรา ยาเสพติด ซึ่งถือว่าไม่เพียงพอ ทางกรมการขนส่งทางบกและแพทย์ สภา จึงกำลังพิจารณาเสนอโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการขับขี่ยานพาหนะโดยตรง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยบนท้องถนน คือ

1.โรคระบบประสาท เช่น โรคลมชัก โรคกล้ามเนื้อลีบ อ่อนแรง ทั้งมือ เท้า ความพิการ

2.โรคระบบการมองเห็น เช่น โรคตาบอดสี มองเห็นด้วยตาเพียงข้างเดียว

3.โรคระบบการได้ยิน

4.โรคหัวใจและโรคเรื้อรังอื่น ๆ เช่น ประวัติการผ่าตัด

หากใครทราบว่าตนเองหรือคนรอบข้างมีลักษณะอาการหรือโรคที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น ควรหลีกเลี่ยงการขับรถในช่วงเทศกาลปีใหม่นี้ แม้กระทั่งการขับรถไปยังสถานที่ต่างๆ เพื่อความปลอดภัยของชีวิต รวมถึงการป้องกันการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นกับบุคคลอื่นที่ใช้รถใช้ถนนร่วมกันอีกด้วย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก กรมควบคุมโรค กรมป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย

Comments are closed.