breaking news

จดไว้! สายด่วน 1669 ทางรอด ของผู้ประสบอุบัติเหตุ

มกราคม 28th, 2017 | by administrator
จดไว้! สายด่วน 1669 ทางรอด ของผู้ประสบอุบัติเหตุ
Special Report
0

จากกรณีหลังเกิดอุบัติเหตุสยอง บนถนนสาย 344 รถตู้ชนประสานงากระบะทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 25 ศพ จากเสียงวิจารณ์มากมายในโซเชียลมีเดีย กลับไม่มีคนเข้าไปช่วยเหลือ เพียงแต่ยืนบันทึกภาพเหตุการณ์  บ่อยครั้งที่เราตั้งคำถามกับบรรดาพวกไทยมุง  ว่าเหตุที่ไม่เข้าไปช่วยเหลือนั้น การกระทำเช่นนี้เหมาะสมแล้วหรือไม่

วันนี้ทีมงาน The Prototype by CA@PIM ไปหาคำตอบเพื่อจะเป็นแนวทางในการปฎิบัติของทุกคนได้

นางสาวดารุณี ศาสนกุล หัวหน้าศูนย์กู้ชีพพระนั่งเกล้า อธิบายถึงแนวทางปฎิบัติเมื่อพบอุบัตติเหตุบนท้องถนนว่า กรณีหากพบเจออุบัติเหตุบนท้องถนนนั้นการที่ไม่เข้าไปช่วยเหลือ หรือเคลื่อนย้ายผู้ประสบเหตุด้วยตนเองเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว เพราะการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุอย่างไม่ถูกวิธี อาจทำให้ผู้ประสบเหตุได้รับบาดเจ็บรุนแรงขึ้น และยังอาจจะทำให้ผู้ที่เข้าไปช่วยเหลือประสบเหตุเสียเอง จนเกิดเป็นอุบัติเหตุซ้ำซ้อนที่ขึ้นได้  ซึ่งผู้ที่จะเข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุนั้นจะต้องมีทักษะและความเชี่ยวชาญในการปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างถูกวิธี

“ประชาชนทั่วไปอาจจะช่วยเหลือปฐมพยาบาลเบื้องต้นง่ายๆ ที่ไม่มีการเคลื่อนย้ายผู้ประสบเหตุ เช่น การห้ามเลือด การปฐมพยาบาลคนเป็นลม แต่สิ่งแรกที่ควรปฎิบัติเมื่อพบเจออุบัติเหตุ คือ มีสติและรีบโทรแจ้งสายด่วน 1669 และปฏิบัติตามขั้นตอนให้ครบถ้วน”

ในการโทรนี้ควรแจ้งให้ถูกวิธีและได้ข้อมูลที่จำเป็นให้ครบถ้วนเพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้ประสานงานและเข้าช่วยเหลือผู้ประสบเหตุได้อย่างทันท่วงที ซึ่งข้อมูลที่จำเป็นให้ครบถ้วน ได้แก่
1.บอกจำนวนและอาการของผู้ประสบอุบัติเหตุ เช่น พบคนแขนหักจำนวน3ราย เพื่อให้คอลเซ็นเตอร์ได้ประสานกับเจ้าหน้าที่ได้ถูกต้อง
2.บอกพิกัดจุดเกิดเหตุ ว่าสถานที่เกิดเหตุเกิดที่ไหน เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้ไปถึงที่เกิดเหตุได้ถูกต้อง
3.บอกชื่อ และเบร์โทตติดต่อของผู้แจ้ง เช่น นางสาวสดใส มีแจ้ง เพื่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่ให้ช่วยเหลือได้อย่างรวดเร็ว

 

หากเป็นผู้ประสบอุบัติเหตุเองต้องตั้งสติ โดยในสถานการณ์ที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุซ้ำซ้อน เช่น รถเกิดเพลิงไหม้ ให้พยายามรีบออกมาจากจุดเกิดเหตุให้ไวที่สุดและถ้าสามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้ก็ควรจะช่วยโดยการใช้เสียงเรียกหรือลากจูง แต่หากประเมินดูสถานการณ์แล้วคาดว่าจะไม่เกิดอุบัติเหตุซ้ำซ้อน ก็ไม่ควรเคลื่อนย้ายผู้ประสบเหตุ เพราะอาจได้รับบาดเจ็บรุนแรงขึ้น

ในส่วนของเจ้าหน้าที่เมื่อได้รับการประสานงานจากสายด่วน 1669 จะรีบไปที่เกิดเหตุทันที นายณัชทพงษ์ ทองพูล เจ้าหน้าที่เวชกรฉุกเฉิน รพ.พระนั่งเกล้า ให้ข้อมูลว่าในการออกไปช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุในแต่ละครั้งว่า รถกู้ชีพจะออกปฏิบัติการไม่เกิน 3 นาทีหลังจากรับแจ้งเหตุ จากโรงพยาบาลไปถึงจุดเกิดเหตุไม่เกิน 10 นาทีแต่จะขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม เช่น การจราจรติดขัด ถ้าหากรถไปถึงช้าก็จะมีการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใกล้จุดเกิดเหตุมากที่สุด
ทั้งนี้เพือให้รถกู้ชีพได้ไปช่วยเหลือผู้ประสบเหตุได้ทันการประชาชนควรจะให้ความร่วมมือในการให้ทางรถกู้ชีพ ซึ่งในการให้ทางรถกู้ชีพจะทำได้โดยให้รถที่วิ่งสวนเลนหลบชิดไหล่ทางทั้ง 2 ข้าง ส่วนในกรณีที่เป็นถนน 4 เลนให้รถวิ่งหลบชิดซ้ายเพื่อให้รถกู้ชีพไปถึงโรงพยาบาลได้อย่างรวดเร็วและผู้ประสบอุบัติเหตุได้รับการสูญเสียน้อยที่สุด หากประชาชนไม่ให้ความร่วมมือ ไม่เห็นความสำคัญของการให้ทางรถกู้ภัย ผู้ประสบอุบัติเหตุอาจเสียชีวิตได้

และในการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุอย่างถูกต้องและปลอดภัยในเบื้องต้น มีวิธีที่แตกต่างกันออกไป  ดังนั้น การเรียนรู้วิธีการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุตามหลักวิชาการ จึงเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะบรรเทาอาการบาดเจ็บในเบื้องต้นของผู้ประสบเหตุได้ ทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ในระดับหนึ่ง เจ้าหน้าที่ยังได้สาธิการปฐมพยาบาลเบื้องต้นอีกด้วย

 

(คลิปจำลองเหตุการณ์การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุ)

วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน คือ เช็คสภาพรถ เช็คสภาพคนขับ เช่น เมาไม่ขับ คาดเข็มขัดนิรภัย และสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ผู้ขับขี่ควรคำนึงถึงคือ ไม่ควรประมาทและมีสติอยู่ตลอดเวลาอย่างน้อยก็เป็นการป้องกันที่ต้นเหตุ แต่หากพบเจออุบัติเหตุบนท้องถนน อย่ามัวแต่ใช้โทรศัพท์ถ่ายคลิปหรือบันทึกภาพ ให้ใช้โทรศัพท์โทรแจ้งสายด่วน ช่วยชีวิต 1669 เพื่อให้ผู้ประสบอุบัติเหตุได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที

Share This:

Comments are closed.