ดร.อัญชลี ศิริพิทยาคุณกิจ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและสนับสนุนเครือข่ายด้านวัคซีน กล่าวว่า โรคไข้เลือดออกทุกคนสามารถเกิดภาวะสุ่มเสี่ยงได้เมื่อถูกยุงกัด โรคไข้เลือดออกเกิดจากสาเหตุที่โดนยุงเป็นเชื้อโรคกัดแล้วเชื้อโรคนั้นเข้าสู่ร่างกายคน เมื่อคนที่โดนยุงกัดมีภูมิต้านทานน้อยก็สามารถก่อให้เกิดโรคได้ ถ้าเข้าสู่ภาวะช็อกหากการวินิจฉัยโรคไม่ถูกคิดว่าเป็นไข้หวัดใหญ่หรือเป็นไข้อย่างอื่น หากไม่รักษาอย่างถูกวิธีจะทำให้เกิดปัญหาตามมา ในขณะเดียวกันบางคนอาจได้รับเชื้อไข้เลือดออกสายพันธุ์เดียวกันแต่ไม่มีความรุนแรงถ้ามีภูมิต้านทานแข็งแรงพอ ส่วนคนที่มีความรุนแรงหมายความว่าร่างกายมีภูมิต้านทานที่อ่อนแอ อาการของโรคไข้เลือดออกคือเลือดหรือพลาสมาจะรั่วออกมานอกเส้นเลือด ถ้าคนไม่รู้แล้วไปให้ปริมาณน้ำเกลือที่เยอะเกินไป ทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมปอดได้ และอาจมีภาวะเกิดไตวาย ภาวะของเลือดที่ไม่แข็งตัวเกิดขึ้น หรือเรียกว่าเลือดออกผิดปกติ ซึ่งเป็นอาการแทรกซ้อนที่สำคัญทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้
ผู้ป่วยเป็นไข้เลือดออกจะมีอยู่ทุกปีจะมีจำนวนปริมาณคนที่สูง ในปี2554มีผู้ป่วยจำนวน64,149คน ในปี2555มีผู้ป่วยจำนวน62,499คน ในปี2556มีผู้ป่วยจำนวน147,519คน ในปี2557มีผู้ป่วยจำนวน35,359คน ในปี2558มีผู้ป่วยจำนวน107,564คน
วัคซีนป้องกันไข้เลือดออกถูกคิดค้นมายาวนาน ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในการเป็นผู้นำเป็นคิดค้นวัคซีนป้องกันไข้เลือดออก แต่คิดในช่วงระดับนึงเนื่องจากพัฒนาวัคซีนตั้งแต่แรกว่าห้องปฏิบัติการห้องแล็บ(LAB)มีการส่งทอดต่อหมายถึงถ้าดีจะส่งต่อไปผลิตในระดับอุสาหกรรมวัคซีนแต่ว่าของ เมื่อในอดีตได้มีการพัฒนาแต่ไม่มีโรงงานอุสาหกรรมรองรับ ในปัจจุบันประเทศไทยมีความก้าวหน้าด้วยการพัฒนาวิจัยวัคซีนไข้เลือดออก โดยทาง สวทช. มีการคิดค้นชนิดของวัคซีนไข้เลือดออกขึ้นมา มี 3ประเภทด้วยกัน มีวัคซีนที่เป็นออลิสต์, DNA, PLP สถาบันวัคซีนแห่งชาติได้รับการการสนับสนุนการทำวัคซีนชนิดที่เป็นออลิสต์กับมหาวิทยาลัยมหิดล โดยศูนย์วิจัยพัฒนาวัคซีนเป็นคนดำเนินการ แต่เนื่องจากวัคซีนไข้เลือดออกมีความยากต้องประกอบด้วย4สายพันธุ์ ที่จะสามารถควบคุมโรคได้อย่างครอบคลุม ปัญหาคือมีบางสายพันธ์ไม่กระตุ้นให้สร้างภูมิต้านทานเลยก่อให้เกิดความยุ่งยากที่วัคซีนมีการพัฒนามาอย่างยาวนานแต่ยังไม่ออกมาใช้สักที วัคซีนของบริษัทหนึ่งที่เป็นบริษัทต่างประเทศที่ดำเนินการอยู่และเป็นการทดสอบวัคซีนในคนที่ประเทศไทย คาดว่าไม่เกินสัก2ปีถ้าเป็นวัคซีนต่างชาติ ถ้าเป็นวัคซีนในไทยต้องเข้าสู่ระยะทดสอบในคนก่อน ซึ่งการทดสอบในคนมี 3ระยะ ในจะมีการทดสอบวัคซีน ในระยะที่ 1ซึ่งเป็นวัคซีนที่คิดค้นโดยคนไทยประมาณปี 2561 ต้องเตรียมโรงงานอุสาหกรรมก่อน
การป้องกันควรเลี่ยงไม่ให้ยุงกัด พกโลชั่นป้องกันยุงติดตัวเสมอ ส่วนใหญ่คนไทยเกิดการคุ้นชินกับการถูกยุงกัดเป็นประจำ เมื่อโดนยุงกัดบางครั้งไม่ได้ป้องกันว่ายุงขนิดนั้นมีเชื้อโรคไม่มีเชื้อโรค หรือกัดคนที่มีเชื้อโรคมาก่อนหน้านั้น ถ้าร่างกายอ่อนแอไม่เคยมีภูมิต้านทานต่อโรคจะทำให้ป่วยง่าย แต่หากร่างกายแข็งแรงสุขภาพดีจะต่อสู้กับโรคได้
จารุวรรณ ศรีไพร