breaking news

E-sensory นวัตกรรมใหม่ ทดแทนประสาทสัมผัสของมนุษย์

พฤศจิกายน 27th, 2015 | by administrator

E-sensory นวัตกรรมใหม่ ทดแทนประสาทสัมผัสของมนุษย์

       E-sensory ประกอบด้วย E-noes E-tongue และ E-eyes เทคโนโลยีใหม่ ตัวชี้วัดคุณภาพประสาทสัมผัสของมนุษย์ เทคโนโลยีใหม่ที่อุตสาหกรรมอาหารกำลังจับตามอง  

         นายประภากร รัตนวารินทร์ และนางสาวพิมพ์เพชร กรองกระจ่าง นักศึกษาชั้นปีที่ 3 และ2 คณะ วิทยาลัยนาโนเทคโนโลยี พระจอมเกล้าลาดกระบัง สาขาวิศวกรรมวัสดุนาโน กล่าวว่า ในการควบคุมคุณภาพอาหาร ซึ่งปกติจะมีQC ในการตรวจสอบอาหาร เพื่อให้การตรวจได้ง่ายและรวดเร็ว มันก็น่าจะมีเครื่องมืออะไรไหม ที่สามารถตรวจได้ง่ายและรวดเร็วนี่จึงเป็นวัตถุประสงค์หลักในการคิดค้น เครื่องรับรสชาตินี้ขึ้นมา ในอุตสาหกรรมพบว่าถ้าใช้คนในการตรวจสอบ คนจะขึ้นกับความรู้สึกมากกว่าแต่ถ้าเครื่องจะสามารถตรวจวัดได้ดีกว่า เพราะเครื่องไม่มีความรู้สึก ที่จะมาตรวจวัดว่าอร่อยหรือไม่อร่อย

 

IMG_0006                                                                                                                             นายประภากร รัตนวารินทร์ และ  นางสาวพิมพ์เพชร กรองกระจ่าง  

                                                                                          นักศึกษาชั้นปีที่ และคณะ วิทยาลัยนาโนเทคโนโลยี พระจอมเกล้าลาดกระบัง สาขาวิศวกรรมวัสดุนาโน

 

เครื่อง Electronic tongue                                                                                                   เครื่อง Electronic tongue

 

 

 

   โดยใช้หลักกการ Taste Buds (natural sensor arrays)

             ซึ่งในส่วนของ E-Tongue (Electronic tongue) หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เลียนแบบประสาทสัมผัสรับรส เป็นเทคนิคใหม่ที่สามารถตรวจวัดตัวอย่าง สารละลายในเชิงคุณภาพได้รวดเร็ว เครื่องที่พัฒนาขึ้นได้นำไปใช้ทดสอบรสชาติอาหารเทียบกับการรับรู้ของคนในอาหารชนิดต่างๆ ได้แก่ แกงเขียวหวาน แกงมัสมั่น และต้มยำกุ้ง ซึ่งสามารถแยกแยะกลุ่มรสชาติได้ตามการรับรู้ของคน

Our Electronic Tongue

             การตรวจจับไอออนในน้ำด้วย Cyclic Voltammetry (โวลแทมเมตรี คือกลุ่มของวิธีวิเคราะห์ด้วย ไฟฟ้าซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับสาร วิเคราะห์ได้จากการวัด กระแสเป็นฟังก์ชันของศักย์ จะใช้ขั้วเล็กมากซึ่งมีพื้นที่ ผิวไม่กี่ตารางมิลลิเมตร microelectrode หรือบางทีถึงระดับตาราง)โดยใช้ขั้วไฟฟ้า 3 ชนิด เพื่อเก็บ “Pattern” ของอาหารแต่ละชนิดออกมา

IMG_0041

รูปค่าการแปลผลข้อมูลจาก Electronic noes

โดยเราจะเก็บสารละลายของอาหารมาใส่เป็นตัวอย่าง แล้วทำการจุ่มลงไปแล้วใช้โปรแกรมในการวัด สามารถใช้ได้ตามที่เราต้องการ ถ้ามี 10 สูตร เครื่องก็จะวัดทั้ง 10 สูตร ถ้าเราอยากรู้ว่าอร่อยหรือไม่ จะใช้เป็นแบบทดสอบในการสอบถาม

ปัจุบันมีการพัฒนา งานวิจัย Electronic sensory ทั้ง 3 ตัว

-Electronic noes 

-Electronic tongue 

-Electronic eyes 

ถ้าเป็น E-noesจะไม่ได้ใช้ในการจุ่ม แต่จะเป็นการใช้ไอระเหยแทนส่วน E-eyes จะเป็นการดูสีและลักษณะ ซึ่งเครื่องนี้ จะต้องเก็บอยู่ในค่าแสงที่เท่ากันทุกครั้ง ก่อนจะเก็บข้อมูล

งานวิจัยนี้ได้ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ(สนช.) และ โควิก เคทท์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด

ซึ่งในอนาคตอาจจะมีการพัฒนาออกสู่ตลาดแต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับบริษัท โดยส่วนใหญ่จะเน้นไปที่อุตสาหกรรมอาหาร

นาย ศรันยู ศักดิ์สกุลไกร เจ้าหน้าที่ด้านเทคนิค บริษัทโควิก กล่าวว่า ปัจจุบันจะเห็นว่า เครื่องมือ ที่สามารถนำมาทดแทนการรับรู้ ประสาทสัมผัสพวกรสชาติ กลิ่น ยังไม่มีเครื่องมือไหนที่มาทดแทนของคนเราได้ ด้วยโครงสร้าง องค์ประกอบทางเคมี ลิ้น จมูก มีความซับซ้อนมากแนวทางในการทดแทน พวกลิควิดโครโมโตกราฟี (ลิควิดโครมาโตกราฟ คือ เทคนิคการทําโครมาโตกราฟที่ใชเฟสเคลื่อนที่ที่เปนของเหลว สวนเฟสอยูกับที่จะเป็นของแข็งหรือของเหลวก็ได)

แก็สโครโมโตกราฟฟี่ (กาซโครมาโตกราฟ (GC) เปนเทคนิคหนึ่งของการวิเคราะห ดวยวิธี โครมาโตกราฟ ซึ่งนิยมใชกันอยางกวางขวางเพราะมีความสามารถแยกและวิเคราะหตัวอยางที่มีองคประกอบ ซับซอนได และยังใหผลเที่ยงตรง รวดเร็วกวาลิควิดโครมาโตกราฟ ) ซึ่งหลักการเหล่านั้น มีประสิทธิภาพการตรวจวัดสูง แต่เนื่องด้วยความช้าในการตรวจสอบ ค่าใช้จ่ายสูง ทางบริษัท และทีมวิจัยจึงคิดค้นเครื่องมือประสาทสัมผัสการรับรู้ของมนุษย์ขึ้นมา

 

12309180_854955347956743_2020866631_n

เครื่อง Electronic noes

โดยเริ่มแรกจะมีเครื่องElectronic noes ต่อมาพัฒนาเป็นElectronic tongue และElectronic eyes ตามลำดับ

ซึ่งก็ได้นำมาใช้จริงในโรงงานแล้ว เพื่อใช้ตรวจวัดสัญญาณมาตราฐาน ของตัวอย่างที่ทำมา ในด้านการขยายตลาดตอนนี้เริ่มมีโรงงานต่างๆมาติดต่อ อาทิ มาลี ทิปโก้ ร้านกาแฟ ซึ่งได้มาลองใช้เครื่อง Electronic tongue เพื่อ ใช้ในการตรวจสอบน้ำผลไม้

การที่จะให้ทุกๆสารเหมือนกัน ทางเจ้าหน้าที่กล่วว่า ต้องทำการเอาสารมาให้เครื่องนี้จำก่อนว่า ลักษณะโดยรวมเป็นอย่างไร รสชาติลักษณะเป็นแบบไหน ให้เครื่องจำว่านี้คือมาตรฐาน ต้องการเลียนแบบซึ่งตัวเซนเซอร์จะแยกการรับทั้ง 5 เซนเซอร์ ที่ต่างกัน กรณีที่มีการคลาดเคลื่อน ซึ่งอาจมาจากอุณหภูมิห้องที่ร้อน หรือเย็นไปหรืออาจมีสารอื่นระเหยอยู่จากเครื่องตรวจสอบอื่น

ดังนั้นเครื่องตรวจสอบแบบนี้จึงเหมาะกับห้องปิด ห้องโดยเฉพาะไม่ควรเอามารวมกัน โดยประสิทธิภาพของเครื่องขึ้นอยู่กับสิ่งที่เราต้องการวัด ว่าต้องการแค่ความเหมือนกับความแตกต่างของตัวอย่าง ประสิทธิภาพก็จะบ่งบอกทันที แต่ถ้าเป็นการวัดแบบละเอียด โครงสร้างองค์ประกอบทางเคมี เครื่องนี้จะไม่สามารถทำได้ แต่บอกได้เพียงลักษณะโดยรวมของอาหาร ข้อดีของเครื่องนี้ที่ใช้ในโรงงาน เพื่อตรวจสอบคุณภาพโดยรวมอาหาร มีกลิ่น กับรสชาติโดยรวมผ่านหรือไม่


เทคโนโลยีเดิมก่อนหน้านี้ ก่อนที่จะมีเครื่องนี้เข้ามา เดิมทีทางโรงงานใช้เครื่องตรวจสอบรสชาติอาหารอีกตัวหนึ่งซึ่งข้อดีก็คือมีความละเอียดในการแยกแยะสูงมาก เหมาะสำหรับการแยกแยะองค์ประกอบ พวก วิตามิน แต่ข้อเสียคือเครื่องเหล่านั้นเหมาะกับกรใช้ในห้องปฏิบัติการเท่านั้น ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ และใช้เวลาในการตรวจวัดค่อนข้างนาน

เทคโนโลยี ในปัจจุบันมีความรวดเร็วมาก และมีความจำเป็นในชีวิตประจำวันของเรามากเช่นกัน เราจึงต้องศึกษาและตามมันให้ทัน ควบคู่ไปกับการใช้ชีวิตประจำวันด้วย เทคโนโลยีเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกของเรา เราจึงต้องใช้มันให้เป็นและถูกต้อง เราก็ควรที่จะเรียนรู้ไปกับมัน ซึ่งคนที่ทำออกมา เขาได้ทำการศึกษา วิจัย หาข้อมูลมานานแล้ว อยากจะให้เทคโนโลยีสามารถใช้ประโยชน์ได้จริงในชีวิตประจำวัน นาย ศรันยู กล่าว

 

นางสาว ปาริฉัตร มุสิราช 

Share This:

Comments are closed.