จากการออกเดินทางสำรวจพื้นตามรอยรถขยะเขตดอนเมือง จะเห็นการทำงานของทางเจ้าหน้าที่พนักงานเก็บขยะว่า รถขยะจะออกเดินทางเพื่อไปเก็บขยะแต่ละจุดโดยจะแบ่งการปล่อยรถขยะเป็นช่วงเช้ามืดและช่วงบ่าย ซึ่งรถแต่ละคันจะออกไปเก็บขยะตามพื้นที่ที่รับผิดชอบ ซึ่งทุกครั้งที่ทำการออกเก็บขยะทางพนักงานจะทำการคัดแยกขยะขวดพลาสติก ขยะทั่วไป และขยะสารพิษ เพื่อไม่ให้เกิดอันตราย
นายบุญลือ ทองสา หัวหน้าพนักงานทั่วไป ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะเขตดอนเมือง เปิดเผยว่า ขยะที่ทางพนักงานเก็บขยะพบบ่อยที่สุด เป็นขยะประเภทขยะเปียก และจะพบมากในวันอังคาร-วันศุกร์ ส่วนรถที่ทางพนักงานใช้ออกไปเก็บขยะ
เป็นรถที่ทางหน่วยงานภาครัฐ(กทม.) เช่าของหน่วยงานภาคเอกชนมาอีกที โดยจะเสียค่าเช่ารถวันละ 2,700 บาท ซึ่งรถที่ใช้เก็บขยะสามารถบรรจุขยะได้เพียง5ตัน
ขยะที่ออกไปเก็บมาทั้งหมดทางพนักงานจะนำไปทิ้งที่บ่อขยะท่าแร้งเขตสายไหม เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 250 ตันต่อวัน โดยทางบ่อขยะท่าแร้งจะมีรถเทรลเลอร์มารองรับขยะแล้วนำไปทิ้งที่บ่อขยะใหญ่ที่สุด คือเขตกำแพงแสน เพื่อทำการกำจัดหรือทำลายขยะในขั้นตอนต่อไป
ขณะที่ผลกระทบทางด้านสุขภาพของพนักงานเก็บขยะ นายบุญลือกล่าวว่า ยังไม่พบพนักงานที่ป่วยเป็นโรคจากสาเหตุการทำงานเก็บขยะ เพราะทางหน่วยงานภาครัฐ(กทม.)ได้มีมาตรการการช่วยเหลือโดยการตรวจสุขภาพทุกปี และมีการแจกอุปกรณ์ป้องกันอย่างสม่ำเสมอ เช่น หน้ากากอนามัย ถุงมือ และรองเท้าบูท
ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ฝ่ายรักษาความสะอาดเขตดอนเมือง อยากให้ทางครัวเรือนหรือประชาชน ช่วยกันคัดแยกขยะก่อนนำมาทิ้ง เพื่อสะดวกต่อการทำงานและไม่เป็นอันตรายต่อพนักงานที่ไปเก็บขยะ
ทางด้านของผู้ประกอบอาชีพเก็บขยะและเก็บของเก่าขาย กล่าวว่า การเก็บขยะทุกครั้งจะเลือกขยะประเภทที่สามารถรีไซเคิลได้ คนส่วนใหญ่จะแยกขยะมาแล้ว สำหรับขยะที่เป็นอันตราย เช่น เศษแก้ว มักจะถูกลืมคัดแยกออกมาจากขยะเปียก อาจจะทำให้ในการเก็บขยะบางครั้งได้รับอุบัติเหตุจากเศษแก้วบ้าง เพราะไม่มีการคัดแยกขยะก่อนนำมาทิ้ง เป็นอันตรายต่อคนเก็บขยะ
ขยะส่วนใหญ่ที่ถูกละเลยจะเป็น ถ่าน แบตเตอรี่ กระป๋องสเปย์ และถ้าปนอยู่กับขยะเปียกหรือขยะทั่วไปก็จะทำการคัดแยกยากขึ้น สำหรับตัวผู้ประกอบอาชีพนี้ ยังไม่พบอาการป่วยที่เกิดจากการเก็บขยะ ในเรื่องการดูแลสุขภาพ มีการตรวจสุขภาพอยู่เป็นประจำ และดูแลสุขภาพอยู่สม่ำเสมอ
ถึงแม้ผู้ประกอบอาชีพเก็บขยะและพนักงานเก็บขยะของหน่วยงานกรุงเทพมหานครฯ จะไม่ได้รับผลกระทบจากขยะ แต่ข้อมูลจากเว็บไซต์กรีนพีชไทยแลนด์ ระบุว่าขยะประเภทหลอดไฟ แบตเตอรี่ ยาฆ่าแมลง กระป๋องสเปรย์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ส่งผลให้ผู้ที่ใกล้ชิดกับขยะเหล่านี้เป็นประจำเกิดผลเสียต่อสุขภาพ เช่นอาการปวดหัว ปัญหาระบบทางเดินหายใจ ที่ได้รับจากสารเคมีต่างๆเช่นสารปรอท แมงกานีส และสารตะกั่ว ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อร่างกายในระยะยาว
นางปภาวรินท์ กลิ่นฟุ้ง ผู้ประกอบการร้านขายของเก่า เปิดเผยว่า คนสนใจในเรื่องแยกขยะมีมานานแล้ว แต่ทางภาครัฐยังไม่ได้ให้การสนใจ ยังไม่มีการประชาสัมพันธ์ ถ้าหากภาครัฐให้ความสนใจและประชาสัมพันธ์จริง ประชาชนก็จะสนใจเยอะมากขึ้น
การแยกขยะควรเริ่มจากตัวครัวเรือนเป็นอันดับแรก ประเภทของขยะในบ้านจะมีประเภทขวดแก้ว เศษกระดาษที่ไม่ใช้ ซึ่งแต่ละครัวเรือนก็ควรจะแยกเศษขยะเปียกหรือเศษอาหารออก ถ้าช่วยกันแยกก็จะสามารถช่วยให้การเก็บขยะจากรถเก็บขยะของเจ้าหน้าที่ง่ายขึ้น รถเก็บขยะของหน่วยงานก็จะสามารถนำขยะที่สามารถขายได้ก็นำไปขายได้อีก
การแยกขยะจะมีขยะหลายประเภท เช่น กระดาษ เมื่อเก็บกระดาษมารวมกันแล้วให้ร้านเก็บขยะนำไปเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล เป็นกระดาษที่นำกลับมาใช้ได้ใหม่อีกครั้ง แม้แต่เหล็กกับขวดพลาสติกก็สามารถนำมารีไซเคิลได้ ถ้าหากช่วยกันจะสามารถช่วยลดขยะในกทม.ได้ส่วนหนึ่ง แต่หากไม่ใส่ใจปัญหาที่ตามมา อาจทำให้ขยะล้นเมือง ถ้าแต่ละเขตใส่ใจที่จะดูแลปัญหาเรื่องขยะก็จะทำให้ง่ายต่อการเก็บขยะ
ประธานชุมชนต้องสามารถบอกถึงความสำคัญในการแยกขยะ ว่าช่วยโลกได้มากขนาดไหน ปัญหาขยะก็จะไม่เกิดขึ้น ซึ่งก็อยู่ที่การประชาสัมพันธ์หรือเข้าถึงของครัวเรือน โดยทุกคนทราบถึงการแยกขยะเป็นส่วนใหญ่ แต่มักคิดว่าการแยกขยะเป็นเรื่องเล็กน้อย คิดว่าในบ้านมีแค่กระดาษกับพลาสติกไม่มากรวมกันไปทิ้งก็คงไม่เกิดความเสียหาย แต่เมื่อนำมารวมกันกับหลายครอบครัวจึงมีจำนวนประมาณมากขึ้น ทำให้ขยะก็เพิ่มมากขึ้น การที่จะให้ครัวเรือนเห็นความสำคัญของการแยกขยะ
ภาครัฐต้องส่งเสริมร้านขายของเก่าให้มีมาตรฐาน สามารถแยกประเภทขยะได้ สามารถแนะนำประชาชนที่จะนำขยะมาขาย เกี่ยวกับการแยกขยะได้ ต้องการให้ภาครัฐมาดูแลเกี่ยวกับใบอนุญาติ จะได้สะดวกต่อการค้าขาย และไม่เกิดปัญหากับชุมชน หรือตำรวจ ถ้าร้านขายของเก่าอยู่ได้ ทางร้านก็สามารถบอกต่อไปถึงชุมชนเกี่ยวกับการเก็บขยะ
การที่ร้านรับซื้อของเก่ามีอยู่ในชุมชน ก็สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนเป็นจำนวนมาก หากรวมขยะมาโดยที่ไม่มีการคัดแยกก็จะได้เงินน้อย แต่ถ้าแยกขยะมาแต่ละประเภท ก็จะได้เงินเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการให้ความร่วมมือของภาครัฐ ถ้ามีการประชาสัมพันธ์มากขึ้น แต่ละครัวเรือนก็อาจจะให้ความร่วมมือมากขึ้น บ้านเมืองจะสะอาดและน่าอยู่กว่านี้
ด้านป้าสั้น น้อยเกษม แม่บ้านสถานศึกษา เปิดเผยว่า ทุกครั้งที่เก็บขยะจะทำการคัดแยกขยะแต่ละประเภทไว้ เพื่อง่ายต่อเจ้าหน้าที่เทศบาลที่จะมาเก็บไป ซึ่งหากมีประเภทขยะเปียกจะนำไปทิ้งที่ถังขยะเปียก หากเจอขยะเเห้งก็นำไปทิ้งที่ถังขยะแห้ง พนักงานจะทำการคัดแยกตั้งแต่ชั้นที่ทำความสะอาดข้างบนหรือโซนที่รับผิดชอบ ไปจนถึงชั้นล่างของอาคาร พอรถขยะมาเก็บทางเจ้าหน้าที่ก็คัดแยกขยะอีกที ส่วนขยะที่ใช้ประโยชน์ได้ เช่นขยะประเภทขวดพลาสติก เจ้าหน้าที่เทศบาลก็จะทำการนำไปขายที่ร้านรับซื้อของเก่า ส่วนไหนใช้ไม่ได้ก็จะนำไปทิ้ง เพื่อให้มีรายได้ของเจ้าหน้าที่ ซึ่งรถเก็บขยะจะเข้ามาเก็บขยะประมาน2-3วันต่อสัปดาห์
หลังจากนั้นก็จะมีนโยบายให้เก็บขยะให้มากขึ้น จากการคัดแยกขยะมาใช้ประโยชน์ ส่วนใหญ่จะมีขยะรีไซเคิลกับเศษอาหารที่นำมาใช้ประโยชน์ให้ลดลง ขยะอันตรายก็ต้องคัดแยกให้มากขึ้น โดยปกติขยะอันตรายจะมีมากกว่าขยะทั่วไปเฉลี่ยร้อยละ 3 รวมขยะอิเล็กทรอนิกส์ ขยะกระป๋องสเปรย์ ขยะถังสี ถ่านไฟฉาย แบตเตอรีมือถือ มีอยู่ในขยะทั่วไป รวมถึงหลอดไฟและเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจกระบวนการกำจัดก็จะนำไปขายให้กับร้านค้าของเก่า หากขายไม่ได้ก็จะทิ้งลงถังขยะ ซึ่งก่อให้เกิดมลพิษต่อสภาพแวดล้อมอย่างมาก หากกำจัดหรือจัดการไม่ดี เช่น นำไปเทกองบนที่ดินโล่งๆแล้วเวลาฝนตกน้ำก็จะลงไปในการเกษตรขยะมลพิษเหล่านี้ ถ้าโดนปลา ปลาก็รับไป ประชาชนก็กินปลา เคมีก็กลับมาหาตัวเรา พืชรับไปสารเคมีก็เยอะสารเคมีพวกนี้ก็กลับไปอยู่ที่พืชมันก็กลับมาหาตัวเราอีก สารจำพวกโลหะหนักทั้งหลาย สารปรอด สารตะกั่ว ก็มีนโยบายให้ลดลงอีกร้อยละ 50 ในปี2575
นอกจากนี้กรุงเทพมหานครมีปริมาณมูลฝอยที่จัดเก็บได้เฉลี่ย 8900 ตันต่อวัน ในปี 2554 หรือคิดเป็น ร้อยละ21 ของปริมาณมูลฝอยทั้งประเทศซึ่งมีประมาณ 43000 ตันต่อวัน ปริมาณขยะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2528 เป็นต้น โดยในระหว่าง 2535 – 2540
อัตราเพิ่มขึ้นของมูลฝอย ที่เก็บได้เฉลี่ยร้อยละ 10 ต่อปี และลดลงในช่วงระหว่าง ปี 2541 – 2550 ในอัตราร้อยละ 1.53 ต่อปี หลังจากนั้นในช่วงปี 2550 – 2553 ปริมาณมูลฝอยที่เก็บขนได้ค่อนข้างคงที่ประมาณ 8700 ตันต่อวัน และเพิ่มขึ้น 8900 ตันต่อวันในปี 2554 และเพิ่มขึ้นเป็น 9800 ตันต่อวันในปี 2555 และเพิ่มขึ้นเป็น 10000 ตันต่อวัน ในปี 2558
สาเหตุที่มูลฝอยมีปริมาณเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่องเพราะพฤติกรรมการ บริโภคที่ต้องการความสะดวกสบายมากขึ้นมีบรรจุภัณฑ์เพิ่มขึ้นทั้งรีไซเคิลได้และรีไซเคิลไม่ได้ เช่นถุงพลาสติก โฟม และเศษยาง ประกอบกับกรุงเทพมหานคร ยังไม่มีระบบเก็บรวบรวมและกำจัดมูลฝอยแยกประเภท
รวมถึงประชาชนยังไม่ให้ความสำคัญต่อการคัดแยกขยะ ทำให้วัสดุเหลือใช้ ถูกทิ้งรวมกับมูลฝอยอินทรีย์ที่เน่าเสียง่ายกลายเป็นมูลฝอยที่กรุงเทพมหานคร ต้องจัดเก็บเเละส่งต่อไปฝังกลบอย่างถูกสุขลักษณะ (Sanitary Landfill) ประมาณ 8900 ตันต่อวัน ส่วนที่เหลือร้อยละ 1100 จะถูกบำบัดด้วยเทคโนโลยีการหมักทำปุ๋ย (Composting) ที่ศูนย์กำจัดมูลฝอยอ่อนนุช แสดงให้เห็นว่าขยะส่วนใหญ่ถูกนำไปฝังกลบโดยมิได้นำกลับมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มประสิทธิภาพทั้งที่องค์ประกอบขยะที่ศูนย์กำจัดมูลฝอยมีศักยาภาพที่สามารถแปรรูปกลับมาใช้ใหม่ ได้แก่ ขยะย่อยสลายได้สามารถนำไปทำปุ๋ย หมักหรือแก๊สชีวภาพได้ถึงร้อยละ 44 หรือประมาณ 4400 ตันต่อวัน วัสดุที่รีไซเคิล นำไปเป็นวัตถุดิบการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมได้ประมาณร้อยละ 12 หรือ 1200 ตันต่อวัน ขยะส่วนที่เหลือสามารถนำไปเผาและนำพลังงานความร้อนมาผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 38 หรือ 3800 ตันต่อวัน
การแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงต้องเร่งพัฒนาระบบการจัดการขยะมูลฝอยของกรุงเทพมหานครเป็นการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการทิ้งมูลฝอยของประชาชน การจัดเก็บมูลฝอยและการกำจัดของกรุงเทพมหานครให้เก็บและกำจัดแยกประเภทโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันให้มีการผลิตมูลฝอยให้น้อยที่สุด (Reduce) และมูลฝอยที่เกิดขึ้นจะต้องมีการคัดแยกที่แหล่งกำเนิดก่อนทิ้ง เพื่อไม่ให้เกิดการปนเปื้อน ทำให้ได้วัสดุเหลือใช้ที่มีคุณภาพสูง นำไป Reuse หรือ Recycle ได้ง่าย
ปริมาณมูลฝอยที่ต้องนำไปบำบัดและกำจัดจะมีปริมาณน้อยลง สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงคุณค่าของวัสดุที่ยังใช้ได้ในรูปของทรัพยากรทดแทนทรัพยากรธรรมชาติซึ่งนับวันจะหมดไป จึงมุ่งประเด็นรณรงค์สร้างทัศนคติ ค่านิยมและวัฒนธรรมการทิ้งขยะกันใหม่ ให้คิดสักนิดก่อนทิ้งเป็นขยะในถัง เพราะทุกอย่างนำกลับมาใช้ได้จึงไม่ใช่ขยะแต่เป็นทรัพยากรหมุนเวียนที่ทุกคนต้องช่วยกันนำมาใช้ให้คุ้มค่า โดยต้องมีการคัดแยกขยะไปใช้ประโยชน์ เช่น ขยะเศษอาหาร ควรกำหนดให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่คัดแยกที่ต้นทาง และจัดระบบการเก็บขนแยกจากรถประเภทอื่น และขนส่งไปบำบัดที่โรงงานหมักปุ๋ยที่มีอยู่ขนาด 1000 ตัน ที่โรงงานกำจัดมูลฝอยอ่อนนุช และขยะกิ่งไม้ใบไม้ ควรกำหนดให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่คัดแยกที่ต้นทางทั้งสวนสาธารณะริมถนน และในชุมชน หมู่บ้าน และสถานศึกษา
สถานประกอบการและหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ ส่งให้โรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากกากตะกอนสิ่งปฏิกูลหรือโรงงานบดย่อยกิ่งไม้ที่กรุงเทพมหานคร ดำเนินการเองที่ศูนย์ กำจัดมูลฝอยอ่อนนุชและหนองแขม บดย่อยโดยการหมักทำปุ๋ย ซึ่งมีอยู่ประมาณร้อยละ 6 หรือ ประมาณ 600 ตันต่อวัน ของขยะที่จัดเก็บได้เฉลี่ย 10000 ตันต่อวันในปัจจุบัน ขยะที่เผาไหม้ได้แต่รีไซเคิลไม่ได้ ควรคัดแยกและส่งขายโรงงานปูนซีเมนต์ หรือโรงงานเตาเผาไฟฟ้า โรงงานผลิตน้ำมันจากพลาสติก โดยกรุงเทพมหานครควรเร่งให้มีเตาเผามูลฝอยผลิตไฟฟ้าให้ครบทั้ง 3 ศูนย์ เพื่อรองรับการแปรรูปขยะที่รีไซเคิลไม่ได้เป็นพลังงานความร้อนและพลังงานไฟฟ้ามาใช้ทดแทนการใช้ไฟฟ้า ที่ผลิตจากเชื้อเพลิงฟอสซิสซึ่งกำลังจะหมดไปในไม่ช้าซึ่งขยะดังกล่าวมีอยู่ประมาณร้อยละ 38 หรือ 3800 ตันต่อวันของขยะที่จัดเก็บได้เฉลี่ย 10000 ตันต่อวันในปัจจุบัน ส่วนวัสดุรีไซเคิล ภาคเอกชนสามารถรวบรวมวัสดุรีไซเคิลได้ดีอยู่แล้วรัฐไม่ควรเข้าไปดำเนินการเองควรส่งเสริมอุตสาหกรรมรีไซเคิลให้ภาคเอกชนดำเนินการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย ซึ่งขยะดังกล่าวมีอยู่ประมาณร้อยละ 12 หรือประมาณ 1200 ต่อวัน ของขยะที่จัดเก็บได้เฉลี่ย 10000 ตันต่อวัน
ในปัจจุบัน มูลฝอยชิ้นใหญ่ เช่นโต้ะ ตู้ เตียง ที่นอน โซฟา ซึ่ง รถเก็บขนแบบอัดไม่สามารถจัดเก็บได้ จึงต้องจัดรถกระเทท้ายเข้าเข้าพื้นที่จัดเก็บอย่างสม่ำเสมอ ตามวันเวลาที่ประกาศไว้ รวมไปถึงมูลฝอยก่อสร้างและชยะประเภทอิฐ หิน ปูน ทราย ฝุ่น มีศักยาภาพนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการคัดแยกไปรีไซเคิล และนำไปเป็นส่วนผสมของปูนซีเมนต์ใหม่ การนำไปถมที่ดิน ซึ่งปัจจุบันมีเอกชนรับดำเนินการด้านการนำขยะก่อสร้างไปใช้ประโยชน์บ้าง
แล้วแต่ยังไม่เพียงพอ จึงพบว่ามีผู้นำไปทิ้งบริเวณที่ว่างริมทาง กรุงเทพมหานครจึงควรจัดให้มีสถานที่รวบรวมและคัดแยก วัสดุก่อสร้างเพื่อนำกลับไปใช้นำไปใช้ประโยชน์ อีกทางหนึ่งเพื่ออำนวยความสะดวกในการคัดแยกประเถทขยะให้แก่ประชาชน และเจ้าหน้าที่ผ้ปฏิบัติงาน และมูลฝอยอันตรายและมูลฝอยอิเล็กทรอนิกส์ กรมควบคุมมลพิษ ระบุว่ามีขยะอันตรายถูกทิ้งปะปนอยู่ในมูลฝอยทั่วไปประมาณ ร้อยละ 3 หรือประมาณ 300 ตันตต่อวัน ของขยะที่จัดเก็บได้เฉลี่ย 10000 ตันต่อวันในปัจจุบัน แต่ปัจจุบันการจัดเก็บขยะอันตรายจาก 50 เขต และสำนักสิ่งแวดล้อมรวมกันสามารถจัดเก็บได้เฉลี่ยเพียง 2 ตันต่อวัน
ทั้งหมดนี้ต้องรณรงค์ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ ทั้งในภาพรวมของกรุงเทพมหานคร และในระดับสำนักงานเขต พร้อมกับการปฏิบัติการตามที่ได้ประชาชนคัดไว้ให้ตามแยกไว้ให้ตามประเภทที่กำหนดเวลาทิ้ง เวลาเก็บไว้ การตั้งถังรองรับ มูลฝอย แยกประเภทในที่สาธารณะและหน่วยงานราชการและเอกชน การบังคับใช้กฎหมาย การส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ถึงปัญหาที่อาจจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ซึ่งในอนาคตหากมีการรวมตัวของประชาคมอาเซียน ประชาชนต่างชาติจะเข้ามามากขึ้นหากไม่มีระบบการจัดการมูลฝอยที่ดี โดยเฉพาะการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังอาจส่งผลต่อสภาพแวดล้อมจนไม่สามารถควบคุมได้
นางสาวกรองกมล ปีติภพ
นายศุภกฤต ดีพลงาม
นางสาวศิริแพร วิเศษภัย
นายศรัณย์ฤทธิ์ ธานี