การนำภาพมาจากอินเตอร์เน็ต สื่อโซเชียลมาใช้ ต้องรู้ว่าภาพเหล่านั้นมีลิขสิทธิ์หรือไม่ หากมีลิขสิทธิ์จะต้องขออนุญาติเจ้าของก่อนจึงจะสามารถนำมาใช้ได้ การเรียกดูฟังซ้ำๆ เช่น ฟังเพลง ผ่านหน่วยความจำคอมพิวเตอร์ การจำหน่ายต้นฉบับหรือสำเนาที่มีลิขสิทธิ์ซึ่งเป็นมือสอง เช่น ภาพเขียน หรือหนังสือ ดาวน์โหลดภาพยนตร์หรือเพลงจากอินเตอร์เน็ตมาฟังได้แต่ห้ามแชร์ต่อให้เพื่อน และการส่งรูปในข้อความส่วนตัวที่ไม่ได้ส่งในวงกว้างทั้งหมดนี้สามารถทำได้
แต่ถ้ามีการลบหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลลิขสิทธิ์ของผู้สร้างสรรค์งานนั้น เช่น การทำบล๊อกแล้ว embed โพสต์ยูทูปไว้ที่บล๊อกตนเองถือเป็นลิขสิทธิ์ การแอบอ้างเอารูปภาพจากอินเตอร์เน๊ตมาโพสต์ว่าเป็นของตนเอง และห้ามโพสต์วิดีโอลงในโซเชียลมีเดียให้เป็นการแปะลิงค์แทน
หากใครละเมิดลิขลิทธิ์มีโทษปรับ 10,000-100,000 บาท หากเป็นการกระทำเพื่อการค้า จะมีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือน ถึง 2 ปี หรือปรับตั้งแต่ 50,000-400,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ริบสิ่งของละเมิดลิขสิทธิ์ หรือ ศาลอาจสั่งให้ทำลาย โดยผู้ละเมิดต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการทำลาย
รศ.คณาทิป ทองรวีวงศ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น กล่าวถึง การแชร์ภาพดอกไม้ประจำวันต่างๆ การโพสต์ภาพลงในโซเชียลมีเดีย การส่งภาพในกลุ่มที่จำกัด ไม่ได้เผยแพร่ทั่วไปสามารถทำได้ ยกเว้นแต่การลบข้อมูลการบริหารลิขสิทธิ์ คือการเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือลบชื่อเจ้าของออกถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ สำหรับการนำภาพมาจากกูเกิ้ลนั้น ไม่ถือว่ากูเกิ้ลเป็นเจ้าของภาพเนื่องจากกูเกิ้ลเป็นเพียงช่องทางหนึ่งในการเข้าสู่เว็บไซต์ต่างๆ หากต้องการใช้ภาพต้องตรวจสอบว่าเว็บไซต์นั้นๆมีลิขสิทธิ์หรือไม่ และทำตามขั้นตอนก่อนนำภาพมาใช้
ด้านบุคคลสาธารณะหรือดารา หากต้องการนำภาพมาใช้ต้องขออนุญาติเช่นกัน ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่มีความคิดที่ว่าดาราเป็นบุคคลสาธารณะสามารถนำภาพมาใช้ได้โดยไม่ต้องขออนุญาติเป็นความคิดที่ผิด เนื่องจากในเชิงปฎิบัติ บุคคลสาธารณะเหล่านี้ไม่อยากทำให้เป็นคดีความ ฟ้องร้องให้เสียภาพพจน์ของตนเอง สำหรับสื่อมวลชน กฎหมายมีข้อยกเว้นว่า สื่อมวลชนสามารถนำภาพบุคคลสาธารณะมาใช้ได้แต่ต้องทำการอ้างอิง
“กฎหมายลิขสิทธิ์ ให้เจ้าของลิขสิทธิ์แจ้งความไม่ใช่ให้คนอื่นไปแจ้งความ” รศ. คณาทิป กล่าว