breaking news

5 โรคฮิตจากหน้าจอ

มกราคม 16th, 2018 | by administrator
5 โรคฮิตจากหน้าจอ
ไม่มีหมวดหมู่
0

1.Computer vision syndrome ( CVS )

ถาม :    CVS คือ อะไร

ตอบ :   คือ กลุ่มอาการที่พบในคนที่ทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานานๆ เช่น เกินสองถึงสามชั่วโมง มักจะมีอาการปวดตา แสบตา ตามัว แลบ่อยครั้งที่จะมีอาการปวดหัวร่วมด้วย อาการทางสายตาเหล่านี้เกิดจากการจ้องดูข้อมูลบนคอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานานเกินไป เรียกกลุ่มอาการเหล่านี้ว่า “ คอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม” หรือ โรคสายตาของคนทำงาน (ยุคใหม่)

ถาม :   มีคนเป็นมากน้อยเท่าไหร่

ตอบ :  โรค CVS นี้พบได้ถึงประมาณ 80% ของบุคคลที่ใช้คอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะในผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป อาการอาจเป็นเพียงเล็กน้อย ไม่บั่นทอนการทำงาน หรือเมื่อพักการใช้คอมพิวเตอร์สักครู่ อาการต่างๆก็หายไปเองได้ หรือบางท่านอาจต้องว่างเว้นการใช้งานไปเป็นวัน อาการก็หายไปเอง แต่บางท่านอาจต้องใช้ยาระงับอาการ หรือบางท่านก็เลิกใช้คอมพิวเตอร์ไปเลยก็มี

ถาม :  สาเหตุของ CVS เกิดจากอะไรได้บ้าง

ตอบ :  โดยปกติคนเราทุกคนจะต้องกระพริบตาอยู่ตลอดเวลา เพื่อเกลี่ยน้ำตาให้คลุมผิวตาให้ทั่ว โดยมีอัตราการกระพริบตาปกติประมาณ 20 ครั้งต่อนาที แต่หากอ่านหนังสือ   ตาต้องจับอยู่ที่ตัวหนังสือ อัตราการกระพริบตาจึงลดลง

1.การจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์จะกระพริบตาลดลงกว่า 60% ทำให้ผิวตาแห้ง แสบตา เคืองตา คันตา

2.มีแสงจ้าและแสงสะท้อนจากจอคอมพิวเตอร์กระทบตา แสงสว่างในห้องไม่พอเหมาะ มีไฟส่องหน้าผู้ใช้ หรือแม้แต่แสงสว่างจากน้าต่างสะท้อนเข้าตา แสงจ้าและแสงสะท้อนทำให้เมื่อยล้าตาได้ง่าย

3.คลื่นแสงที่หน้าจอ Refresh rate  ทำให้ภาพบนจอออกเนแสงกระพริบ ภาพที่เกิดหน้าจอ เกิด่จากจุดเล็กๆหลายจุดที่เรียกว่า พิกเซล Pixle ซึ่งเกิดจากคลื่นไฟฟ้าในเครื่องวิ่งไปชนกับพื้นหลังของจอที่เคลือบด้วย ฟอสฟอรัส Phosphorus ลักษณะของพิกเซล แต่ละจุดมีความสว่างเท่ากัน สว่างมากตรงกลางและจางลงบริเวณขอบๆ จึงเห็นเป็นภาพกระพริบ ก่อเกิดอาการเคืองตาเมื่อต้องจ้องมองอยู่ตลอดเวลาได้ ถ้าปรับ Refresh rate  ให้ได้ขนาด 70-85 Hz (Hertz)    แสงกระพริบจะน้อยลง นอกจากนั้น ตาคนเราปรับโฟกัสให้เห็นภาพขนาดต่างกัน ได้ดีในภาพที่มีขอบเขตชัดเจน   มีความแตกต่างคมชัดที่ดี แต่ภาพจากคอมพิวเตอร์ขอบเขตที่ไม่ชัด ทำให้ตาต้องปรับโฟกัสอยู่เรื่อยๆ จึงเกิดการเมื่อยตาได้ง่ายกว่าการอ่านหนังสือปกติมาก

4.การจัดวางคอมพิวเตอร์ไม่เหมาะสม ใกล้ หรือ ไกลสายตามากเกินไป

ถาม :  อาการของ CVS มีอะไรบ้าง

ตอบ :  อาการอาจเป็นเพียงเล็กน้อย ไม่บั่นทอนการทำงาน หรือเมื่อพักสายตาจากการใช้คอมพิวเตอร์สักครู่ อาการต่าวๆก็หายไปได้เอง หรือบางท่านอาจจะต้องเว้นการใช้งานไปเป็นวัน แต่บางท่านอาจต้องใช้ยาระงับอาการ หรือบางท่านก็ยกเลิกการใช้คอมพิวเตอร์ อาการของ Computer vision syndrome จะประกอลไปด้วย อาการปวดบริเวณรอบดวงตา ปวดศรีษะ ตาพร่ามัว ตาฝืดแห้ง อาจมรอาการปวดไหล่ ปวดคอ ร่วมด้วย ซึ่งอาการเหล่านี้มักเป็นชั่วคราวและหายไปเมื่อได้พักจกการใช้คอมพิวเตอร์

ถาม : การตรวจวินิจฉัยโรคทำได้อย่างไร

ตอบ : การวินิจฉัย Computer vision syndrome สามารถทำได้จาก

1.การซักประวัติผู้ป่วย จะพบว่าผู้ป่วยมักทำงานกับจอคอมพิวเตอร์ติดต่อกันโดยไม่มีการหยุดพัก ร่วมกับมีอาการข้างต้นหลังจากที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน และอาการมักจะหายไปเมื่อหยุดพัก

2.การตรวจร่างกาย จะพบว่าตาอาจจะแดงเล็กน้อย ตาแห้ง หรืออาจพบแผลบนกระจกตาลักษณะแบบจุดความชัดเจนของการมองเห็นมักจะลดลง รวมทังอาจตรวจพบว่ามีสายตาที่ผิดปกติร่วมด้วย

ถาม : การป้องกัน CVS ทำอย่างไร

ตอบ : การป้องกันทำได้โดย

1.ฝึกกระพริบตาขณะทำงานหน้าจอทุก 1-2 ชั่วโมง หรือบ่อยกว่านี้ และหากแสบตามาก อาจใช้น้ำตาเทียมช่วย (ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาเสมอ)

2.ปรับห้องและบริเวณทำงาน อย่าให้มีแสงสะท้อนจากหน้าต่าง จากหลอดไฟบริเวณเพดานห้อง อย่าให้แสงสะท้อนเข้าตา อย่าให้จอภาพหันเข้าหน้าต่าง การใช้แผ่นกรองแสงวางหน้าจอ หรือใส่แว่นกรอแสงอาจลดแสงสะท้อนเข้าตาได้บ้าง

3.จัดวางคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสม ในระยะทำงานพอเหมาะที่ตามองได้สบายๆ โดยเฉลี่ยระยะจากตาถึงจอภาพควรเป็น 0.45 – 0.50 เมตร จอภาพควรตั้งสูง 0.72-0.75 เมตร เหนือพื้นห้อง ปรับเก้าอี้นั่งให้พอเหมาะ ให้ตาอยู่สูงจากพื้นโดยเฉลี่ย 1.0-1.15 เมตร ตาควรอยู่สูงกว่าขอบบนของจอภาพเล็กน้อย โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ใช้แว่นตา 2 ชั้น จะต้องตั้งจอภาพให้ต่ำกว่าระดับตา เพื่อจะได้ตรงกับเลนส์แว่นตาส่วนที่ใช้มองใกล้ นอกจากนั้น การตั้งจอภาพให้ต่ำกว่าตาจะทำให้ผู้ใช้ไม่ต้องแหงนหน้ามอง ซึ่งการแหงนหน้านานๆ ทำให้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อคอและหัวไหล่ได้ง่าย

4.ถ้าเป็นผู้สูงอายุ หากต้องใช้คอมพิวเตอร์นานๆต่อเนื่อง ควรปรึกษาจักษุแพทย์พิจารณา ใช้แว่นตาเฉพาะดูได้ทั้งระยะอ่านหนังสือ ระยะจอภาพ และระยะไกล เป็นกรณีพิเศษ

5.หากมีสายตาผิดปกติหรือโรคตาบางอย่างอยู่ ควรแก้ไขและรักษาโรคตาที่เป็นอยู่ควบคู่ไปด้วย

6.หากงานในหน้าที่ต้องอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ทั้งวัน ทุก 1-2 ชั่วโมง ควรมีการพักสายตา โดยละสายตาจากหน้าจอ แล้วมองออกไปไกลๆ หรือหลับตาสักระยะหนึ่ง แล้วค่อยกลับมาทำงานใหม่ ถ้าเป็นไปได้ ควรทำงานหน้าจอวันละ 4 ชั่วโมง และเวลาที่เหลือไปใช้ทำอย่างอื่น

2.Sleep texting

ถาม :  Sleep texting คืออะไร

ตอบ : คือ การส่งข้อความ text messages ขณะนอนหลับและตื่นมาก็ยังจำไม่ได้ เป็นปรากฎการณ์ล่าสุดที่มีผลต่อการนอนหลับ ภาษาไทยจะเรียกว่า โรคละเมอแชต

ถาม :  มีการวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้บ้างหรือไม่

ตอบ : พบว่า โทรศัพท์มือถือของวัยรุ่น มักมีเสียงดังในเวลากลางคืนและเจ้าของโทรศัพท์ก็จะตอบโทรศัพท์แต่พอตื่นเช้ามาก็จำไม่ได้ กลุ่มวัยรุ่นนี้มักอยู่ในลักษณะครึ่งหลับครึ่งตื่น ตอบโดยอัตโนมัติ จากการวิจัยของมหาวิทยาลัย Villanova ในสหรัฐอเมริกา ในนักศึกษา 300คน มี 25-35 % พบว่ามีส่งข้อความขณะหลับ เมื่อได้ยินเสียงแจ้งเตือน

ถาม : การติดต่อสื่อสารขณะนอหลับเป็นเรื่องใหม่หรือไม่

ตอบ : ไม่ใช่เรื่องใหม่เพราะบางคนพูดโทรศัพท์ขณะนอนหลับ บางคนมีความคิดว่าตนเองต้องอยู่เวร on cell ทางแพทย์เรียกปฏิกิริยาก่อนส่งข้อความเวลาหลับว่า เป็นผลจากการ On cell พบมากในกลุ่มแพทย์ มักจะพูดรับการรักษาผู้ป่วย แต่พอตอนเช้าจำไม่ได้ว่าพูดหรือสั่งการรักษาอย่างไร

ถาม : การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาในช่วงวัยรุ่น ทำให้นอนหลับยาก หรือหลับตลอด จะมีผลต่อ sleep texting หรือไม่

ตอบ : sleep texting ทำให้การนอนไม่ดี โดยเฉพาะวัยรุ่น ถ้านอนหลับไม่เพียงพอ จะทำให้มีความดันโลหิตสูง ซึมเศร้า เปลี่ยนพฤติกรรม ติดยา หรือรูปร่างอ้วน มีนิ้วล้อคจากการพิมพ์นานๆ นอกจากนี้การใช้สมาร์ทโฟนมากๆก็จะมีอาการทางตาเช่นกัน เช่น ตาแห้ง ปวดเมื่อยตา ปวดเมื่อยคอ บ่า ไหล่ ยิ่งบ่งคนใช้ไม่ถูกท่าทาง อาจเป็นมากถึงกับมีหมอนรองกระดูกเสื่อม

ถาม :  จะหยุด sleep texting ได้อย่างไร

ตอบ :  สิ่งแรกต้องปิดโทรศัพท์มือถือ หรือเปิดใน Mode ที่ไม่รบกวนการนอน หรือวางให้ห่างจนเอื้อมไม่ถึง

 

3.Nomophobia

ถาม : Nomophobia คืออะไร

ตอบ : Nomophobia  ภาษาไทยเรียกว่า โรคกลัวขาดมือถือ เป็นคำย่อของ No-mobile-phone phobia คือ ความกลัวที่จะเข้าไม่ถึงโทรศัพท์มือถือ หรือไม่ได้รับข้อมูลข่าวสารจากโทรศัพท์มือถือ จากการสำรวจในประเทศอังกฤษ ประชากร 10,000 คน พบว่ากลัวที่จะไม่ได้ใช้หรือไม่มี mobile –phone ถึง 53% และเพิ่มขึ้นเป็น 66% จากากรสำรวจใน 4 ปีต่อมา

             Nomophobia เป็นปรากฏการณ์ทางจิตวิทยารูปแบบหนึ่ง เพราะทำให้มีความเครียด โดยเริ่มต้นจากความกลัวว่าจะติดต่อกับผู้อื่นไม่ได้ หรือไปอยู่ในสถานที่ไม่มีสัญญาณ network signal หรือสัญญาณขัดของไม่ดี แบตเตอร์รี่หมด ลืมโทรศัพท์มือถือไว้ที่บ้านหรือที่ทำงาน

ถาม : Nomophobia พบได้ในประชากรประเภทใดบ้าง

ตอบ : มักพบในกลุ่มคนที่มีความจำเป็นต้องใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่หรือโทรศัพท์มือถือ ในการทำงานติดต่อกับเจ้านาย ลูกน้อง เพื่อน และครอบครัว

 

4.The masked depression syndrome

ถาม : The masked depression syndrome คืออะไร

ตอบ : อาจจะเรียก Facebook depression จากการศึกษาผู้ป่วย 1,465 คน ในระยเวลา 1-7 ปี เป็นผู้หญิง:ผู้ชาย 2.5:1 อายุ 22 -78 ปี ที่มีอาการ The masked depression syndrome ขั้นรุนแรง คนกลุ่มนี้ตอนแรกจะมีอาการทางระบบประสาทและจิตใจ neurological – psychiatric ซึ่งกลุ่มที่ร้ายแรงที่สุด คือกลุ่ม Severe masked depression พบมากในกลุ่มผู้หญิงอายุกลางคน อาการที่พบ คือ ทางด้านสุขภาพ จะไม่มีความพึ่งพอใจผลการรักษาหรือผ่าตัด เป็นเวลานานมาหลายปี โดยไม่มีสาเหยุทางการแพทย์ที่เด่นชัดกว่าแพทย์จะทราบว่าเป็น The masked depression syndrome ผู้ป่วยก็มีอาการมากและรุนแรง ท้อแท้ หมดหวังแล้ว และครึ่งหนึ่งมีแนวโน้มทำร้ายตัวเอง ฆ่าตัวตาย พบมากขึ้นทุกปี

 

5.Irony of Facebook

ถาม :  Technology media, Social network มีผลต่อผู้ใช้อย่างไร

ตอบ : ปัจจุบันพบว่า   Technology media, Social network มีผลต่อสุขภาพจิตมาก โดยเฉพาะความวิตกกังวล สามารถทำให้เกิดการซึมเศร้า ระแวง หรือหลงตัวเอง มีลักษณะ 2 บุคลิก Bipolar –mania ไม่มีความมั่นใจในตัวเอง หรือมีความอิจฉาริษยา จากวารสารทางการแพทย์ด้านจิตเวช พบว่า กลุ่มตัวอย่างวัยรุ่นผู้ใหญ่อายุน้อย และผู้ใหญ่ จำนวน 1,143 คน ตอบแบบสอบถาม online โดยไม่ต้องระบุตัวตน เกี่ยวกับการใช้ Facebook และความสัมพันธ์กับเพื่อน พบว่า ถ้ามีเพื่อนใน Facebook มาก มีแนวโน้มจะมีอาการ Bipolar –mania มาก หลงตัวเอง และมีบุคลิกแบบ Schizoid ถ้าตัดปัจจัยเรื่องความวิตกกังวลออกไป Facebook และ Technology บางชนิด จะเป็นตัวทำนานอาการของผู้ใช้ Facebook ทั้งด้านบวกและด้านลบ

ถาม : Irony of Facebook คืออะไร

ตอบ : นอกจาก Facebook จะเดินไปคู่กับ ภาวะซึมเศร้าแล้ว แต่ปัจจัยอื่นยังทำให้เกิดภาวะทางจิตได้อีก เช่น การเปรียบเทียบทางสังคม social comparison ยกตัวอย่าง ในเวลาที่เรามีความหดหู่แต่เพื่อนใน Facebook ของเรากำลังมีความสุข หรือการเห็นเพื่อนไปพักร้อน ถ้าเป็นเช่นนี้ก็ควรหยุดใช้ Facebookบ้าง ปรับความรู้สึกของตนเองให้ยอมรับได้ มีงานวิจัยสอบถามผู้ใช้ Facebook เกี่ยวกับการเปรียบเทียบในสังคม และความรู้สึกซึมเศร้า กดดัน ผลการวิจัยพบว่า ผู้ที่ใช้ Facebook มากจะมีอาการซึมเศร้ามาก ส่วนใหญ่จะมีผลมากในเพศชาย

 

ที่มาข้อมูล: คณะทัศนมาตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

 

 

 

 

 

 

 

 

Share This:

Comments are closed.