1 มิถุนายน 2564 สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เผยแพร่ข้อมูล “ชนิดพันธุ์ของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่ถูกคุกคามของประเทศไทย” จากข้อมูลพบว่าสัตว์มีกระดูกสันหลังมากกว่าครึ่งมีสถานภาพเป็นกังวลน้อยที่สุด
ในอดีตประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีสัตว์ต่างๆ อาศัยอยู่จำนวนมาก โดยเฉพาะสัตว์จำพวกมีกระดูกสันหลัง ที่ได้แก่ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นก ปลา สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก เนื่องจากสภาพภูมิประเทศ และสภาพภูมิอากาศเหมาะแก่การอยู่อาศัย แต่ปัจจุบันสภาพแวดล้อมต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะป่า ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยหลักของสัตว์ได้ถูกบุกรุกและทำลายลงไปอย่างมาก ประกอบกับการใช้ประโยชน์จากสัตว์ของมนุษย์อย่างไม่ถูกวิธี เป็นการใช้อย่างสิ้นเปลืองและไม่เกิดประโยชน์ และเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้สัตว์มีจำนวนลดลง หรือสูญพันธุ์ไป ซึ่งถ้าหากสัตว์ชนิดใดชนิดหนึ่งในประเทศไทยเกิดการสูญพันธุ์ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม นอกจากจะส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์แล้ว ก็จะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศอีกด้วย ซึ่งในท้ายที่สุดก็อาจทำให้ธรรมชาติเสียสมดุล
ซึ่งในความเป็นจริงสัตว์มีประโยชน์ต่อมนุษย์และทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ มากมายทั้งทางตรงและทางอ้อม แต่ประโยชน์ของสัตว์ที่มีต่อมนุษย์ส่วนใหญ่นั้นจะเป็นไปในทางอ้อมมากกว่าทางตรง จึงทำให้มนุษย์มองไม่เห็นคุณค่าของสัตว์เท่าที่ควรเมื่อเทียบกับทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ อย่างเช่น ป่าไม้ หรือแร่ธาตุ ทั้งนี้ ประโยชน์ที่มนุษย์ได้รับจากสัตว์โดยตรงนั้น จะเป็นปัจจัยพื้นฐานบางอย่างที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตของมนุษย์ที่ได้มาจากสัตว์ เช่น เนื้อและส่วนต่างๆ ของสัตว์บางชนิดที่มนุษย์ได้นำมาเป็นอาหาร อวัยวะของสัตว์บางอย่าง ที่นำมาเป็นเครื่องยาสมุนไพร และใช้ทำเครื่องใช้เครื่องประดับ นอกจากนี้สัตว์บางชนิด มนุษย์ยังได้นำมาใช้ประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ อาทิ การค้า ตลอดจนนำมาใช้แรงงาน เช่น การนำช้างมาใช้ลากซุง เป็นต้น ส่วนประโยชน์ที่มนุษย์ได้รับจากสัตว์โดยอ้อม นั่นคือการที่สัตว์มีประโยชน์ต่อทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ เพราะสัตว์เป็นส่วนสำคัญของห่วงโซ่อาหารและสายใยอาหารในระบบนิเวศ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบข้าง ทำให้เกิดสมดุลในธรรมชาติ
จากข้อมูล “ชนิดพันธุ์ของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่ถูกคุกคามของประเทศไทย” ที่สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ทำการรวบรวมและเผยแพร่ไว้บนเว็บไซต์ data.go.th พบว่าปัจจุบัน สัตว์กลุ่มมีกระดูกสันหลังจำนวน 5 กลุ่ม ซึ่งได้แก่ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นก ปลา สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก มีจำนวนรวมกันอยู่ที่ 2,276 สายพันธุ์ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ทั้งนี้ สถานภาพของชนิดพันธุ์ของสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้ง 2,276 สายพันธุ์ จะถูกแบ่งเป็นสถานภาพต่างๆ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
เป็นชนิดพันธุ์ที่สูญพันธ์ไปแล้ว โดยมีหลักฐานที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับการตายของชนิดพันธุ์นี้ตัวสุดท้าย มีจำนวนทั้งหมด 8 สายพันธุ์ โดยแบ่งเป็น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 4 สายพันธุ์ นก 3 สายพันธุ์ และปลา 1 สายพันธุ์
เป็นชนิดพันธุ์ที่ไม่มีรายงานว่าพบอาศัยอยู่ในถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ มีจำนวนทั้งหมด 4 สายพันธุ์ โดยแบ่งเป็น นก 2 สายพันธุ์ สัตว์เลื้อยคลาน 1 สายพันธุ์ และปลา 1 สายพันธุ์
เป็นชนิดพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการสูญพันธุ์จากพื้นที่ธรรมชาติในขณะนี้ มีจำนวนทั้งหมด 102 สายพันธุ์ โดยแบ่งเป็น นก 43 สายพันธุ์ ปลา 26 สายพันธุ์ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 17 และสัตว์เลื้อยคลาน 16 สายพันธุ์
ชนิดพันธุ์ที่กำลังอยู่ในภาวะอันตรายที่ใกล้จะสูญพันธุ์ไปจากโลกหรือสูญพันธุ์ไปจากแหล่งที่มีการกระจายพันธุ์อยู่ ถ้าปัจจัยต่างๆ ที่เป็นสาเหตุให้เกิดการสูญพันธุ์ยังดำเนินต่อไป มีจำนวนทั้งหมด 185 สายพันธุ์ โดยแบ่งเป็น ปลา 66 สายพันธุ์ นก 58 สายพันธุ์ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 40 สัตว์เลื้อยคลาน 1 สายพันธุ์ และสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 4 สายพันธุ์
ชนิดพันธุ์ที่เข้าสู่ภาวะใกล้สูญพันธุ์ในอนาคตอันใกล้ ถ้ายังคงมีปัจจัยต่างๆ อันเป็นสาเหตุให้ชนิดพันธุ์นั้นสูญพันธุ์ มีจำนวนทั้งหมด 282 สายพันธุ์ โดยแบ่งเป็น ปลา 116 สายพันธุ์ นก 70 สายพันธุ์ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 66 สัตว์เลื้อยคลาน 16 สายพันธุ์ และสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 14 สายพันธุ์
เป็นชนิดพันธุ์ที่มีแนวโน้มอาจถูกคุกคามในอนาคตอันใกล้ เนื่องจากปัจจัยต่างๆ ยังไม่มีผลกระทบมาก มีจำนวนทั้งหมด 292 สายพันธุ์ โดยแบ่งเป็น นก 122 สายพันธุ์ สัตว์เลื้อยคลาน 62 สายพันธุ์ ปลา 59 สายพันธุ์ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 30 และสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 19 สายพันธุ์
เป็นชนิดพันธุ์ที่ยังไม่อยู่ในภาวะถูกคุกคามและพบเห็นอยู่ทั่วไป มีจำนวนทั้งหมด 1,232 สายพันธุ์ โดยแบ่งเป็น นก 707 สายพันธุ์ สัตว์เลื้อยคลาน 265 สายพันธุ์ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 157 และสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 103 สายพันธุ์
เป็นชนิดพันธุ์ที่มีข้อมูลไม่เพียงพอที่จะวิเคราะห์ถึงความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์โดยตรงหรือโดยอ้อม ชนิดพันธุ์กลุ่มนี้มีความจำเป็นต่อการจัดหาความรู้เพิ่มเติมจากการศึกษาวิจัยในอนาคต มีจำนวนทั้งหมด 171 สายพันธุ์ โดยแบ่งเป็น ปลา 101 สายพันธุ์ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 31 สายพันธุ์ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 17 สายพันธุ์ สัตว์เลื้อยคลาน 15 และนก 7 สายพันธุ์
จากข้อมูลที่กล่าวมานั้น พบว่าสัตว์มีกระดูกสันหลังกลุ่มปลา เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังเพียงกลุ่มเดียวจากทั้งหมด 5 กลุ่ม ที่ไม่มีสายพันธุ์ใดถูกจัดอยู่ในสถานภาพเป็นกังวลน้อยสุด อีกทั้งยังมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์มากกว่าสัตว์มีกระดูกสันหลังกลุ่มอื่น โดยคิดเป็นร้อยละ 41.1 หรือเท่ากับปลาจำนวน 116 สายพันธุ์ จากจำนวนปลาทั้งหมด 370 สายพันธุ์ ขณะเดียวกันสัตว์มีกระดูกสันหลังอีก 4 กลุ่ม ต่างมีสัดส่วนของสายพันธุ์อยู่ในกลุ่มสถานภาพเป็นกังวลน้อยที่สุดมากกว่าสถานภาพอื่น
แล้วอะไรคือสาเหตุ?
จากข้อมูลจะเห็นได้ว่าจริงๆ แล้ว ไม่ใช่สัตว์มีกระดูกสันหลังทุกกลุ่มที่จะมีสถานภาพที่ดีอย่าง “เป็นกังวลน้อยที่สุด” ซึ่งเป็นสถานภาพของสัตว์ที่สะท้อนให้เห็นว่าสัตว์ชนิดนั้นๆ ไม่อยู่ในภาวะถูกคุกคามและพบเห็นอยู่ทั่วไป แล้วอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ปลามีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์มากกว่าสัตว์มีกระดูกสันหลังกลุ่มอื่น
ด้านองค์กรรณรงค์อิสระที่ทำงานรณรงค์เพื่อปกป้องสิทธิทางสิ่งแวดล้อมอย่าง “กรีนพีซ” ให้เหตุผลที่สัตว์น้ำจำนวนมากต้องสูญพันธุ์หรือตกอยู่ในความเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ว่ามีสาเหตุจากภัยคุกคามที่เกิดจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น
การจับสัตว์น้ำเกินขนาด (Overfishing)
อุตสาหกรรมประมงเชิงพาณิชย์ที่ไร้ความรับผิดชอบออกแย่งชิงทรัพยากรสัตว์น้ำในทะเลที่มีปริมาณน้อยลงเรื่อยๆ ด้วยเรือประมงที่พร้อมด้วยอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูง นอกจากการจับปลาในปริมาณมหาศาลแล้ว อุปกรณ์เหล่านี้ยังส่งผลกระทบต่อแนวปะการัง ดอกไม้ทะเล หรือสัตว์หน้าดิน เร่งให้เกิดทำลายระบบนิเวศเกินกว่าการที่ธรรมชาติจะสามารถฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำได้
การจับสัตว์น้ำพลอยได้ (Bycatch)
การทำประมงยุคใหม่นั้นก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบนิเวศโดยไม่จำเป็น ในทุกๆ ปี เครื่องมือประมงทำลายล้างและอวนลากคร่าชีวิตวาฬและโลมาไม่น้อยกว่า 300,000 ตัวทั่วโลก เนื่องจากการใช้เครื่องมือประมงที่ไม่เหมาะสมกับประเภทสัตว์น้ำที่จับ วาฬ โลมา หรือฉลามจึงมักจะติดอวนลากขึ้นมาโดยไม่ใช่สัตว์น้ำกลุ่มเป้าหมาย และยังทำลายถิ่นที่อยู่อาศัยและสัตว์น้ำประจำถิ่น ตัวอย่างเช่น เรืออวนลากที่ทำลายระบบนิเวศปะการังที่อยู่มาตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ ไปพร้อมกับระบบนิเวศทางทะเลที่เปราะบางโดยรอบ
การประมงที่ไม่เป็นธรรม
เรือประมงที่ละเมิดกฎหมายมักออกทำการประมง และไม่คำนึงถึงน่านน้ำของประเทศที่ขาดความมั่นคงทางอาหารและรายได้ โดยกิจการประมงที่ผิดกฎหมายนั้นจะให้ผลตอบแทนน้อยมากให้กับประเทศผู้เป็นเจ้าของน่านน้ำที่มีทรัพยากรสัตว์น้ำอุดมสมบูรณ์ เช่นประเทศชายฝั่งทะเลของแอฟริกาและกลุ่มประเทศริมฝั่งและหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก
ภาวะโลกร้อน
อุณหภูมิเฉลี่ยของพื้นผิวทะเลสูงเพิ่มขึ้นขึ้นจากภาวะโลกร้อนที่เร่งเร้ามากขึ้น องค์กรพิทักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา (U.S.Environmental Protection Agency) ระบุว่าในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา อุณหภูมิของผิวน้ำทะเลนั้นเพิ่มสูงกว่าในอดีต จากการบันทึกข้อมูลไว้ตั้งแต่ประมาณปี 2423
บรรดาสายพันธุ์ปลาและสัตว์น้ำทั้งหมดล้วนตกอยู่ในความเสี่ยงจากการที่อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น สัตว์น้ำไม่สามารถรอดชีวิตได้ในอุณหภูมิและกระแสน้ำที่แปรเปลี่ยน ตัวอย่างที่ชัดเจนคือปรากฎการณ์ปะการังฟอกขาวและตายเนื่องจากไม่สามารถทนสภาวะที่อุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้นได้
ขณะเดียวกัน มหาสมุทรกำลังกลายสภาพเป็นกรดจากการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้นในบรรยากาศ และเป็นภัยคุกคามต่อสิ่งมีชีวิตในทะเล ทั้งการกัดกร่อนของปะการัง การทำให้เปลือกของสัตว์ประเภทหอยบางลง และทำให้ปลามีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงและอ่อนไหวต่อสัตว์ที่เป็นผู้ล่ามากขึ้น ความเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลกระทบต่อเนื่องกันเป็นทอดๆ ทำให้ห่วงโซ่อาหารในทะเลแปรปรวนไปทั้งระบบ
การที่สัตว์น้ำบางชนิดที่ไม่สามารถรอดชีวิตได้ในอุณหภูมิและกระแสน้ำที่แปรเปลี่ยน ก็หมายถึงว่าปลาเศรษฐกิจที่มนุษย์บริโภคก็จะยิ่งลดจำนวนลงเนื่องจากไม่สามารถปรับตัวและฟื้นตัวได้ทันกับการเปลี่ยนแปลงทางทะเล ด้วยเหตุนี้สภาวะน้ำทะเลเป็นกรดจึงถูกขนานนามว่าเป็น “แฝดตัวร้าย” ของภาวะโลกร้อน
สารพิษ
มลพิษจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์คืออีกหนึ่งผลกระทบที่สำคัญต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล อาจจะเป็นมลพิษที่ถูกทิ้งลงทะเลโดยตรง มลพิษที่มาจากน้ำเสียที่เกิดจากกิจกรรมมนุษย์ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมสกปรก หรืออาจจะมาจากการชะล้างมลพิษทางอากาศและพื้นดินของน้ำฝนที่ไหลลงสู่ทะเลก็ล้วนแล้วแต่มีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและระบบนิเวศในทะเลเช่นกัน
ทั้งนี้ ในจำนวนสัตว์มีกระดูกสันหลังกลุ่มปลาที่มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ มีจำนวน 116 สายพันธุ์ จากจำนวนปลาทั้งหมด 370 สายพันธุ์ ซึ่งหนึ่งในปลาที่มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์อย่าง “ปลาแรดเขียว” มีสาเหตุมาจาก ที่ปลาแรดเขี้ยวเป็นปลาที่มนุษย์มีความต้องการในการจับมาเลี้ยงสูง เนื่องจาก ปลาแรดเขี้ยวนี้มีจำนวนน้อย พบได้ยาก และมีสีสันบนลำตัวที่โดดเด่น ในขณะที่ “ปลาหมอทะเล” หรือ “ปลาเก๋าทอง” มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์มาจากสาเหตุที่มันเป็นปลาที่มีรสชาติดี มักจะถูกเอามาทำเป็นเมนูอาหารที่มีราคาสูงตามภัตตาคารขึ้นชื่อ นอกจากนี้ยังมี “ปลากระดี่กระทิงไฟ” ที่มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ เพียงเพราะมันเป็นที่ต้องการของนักเลี้ยงปลาสวยงาม และจากความสวยงามที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของปลากระดี่กระทิงไฟนี้ ทำให้มันกลายเป็นสินค้าส่งออกที่ติดอันดับของวงการปลาสวยงามของเมืองไทย
จะเกิดอะไรขึ้นถ้าหากสัตว์ (มีกระดูกสันหลัง) สูญพันธุ์?
ปัจจุบันสัตว์มีกระดูกสันหลังในประเทศไทยได้สูญพันธุ์ไปแล้ว 12 สายพันธุ์ โดยที่สูญพันธุ์ในธรรมชาติ 4 ชนิดพันธุ์ ซึ่งได้แก่ ปลาเสือตอ นกช้อนหอยดำ นกกระสาคอดำ และตะโขง ซึ่งมีสาเหตุดังนี้
ปลาเสือตอ
สัตว์มีกระดูกสันหลังกลุ่มปลา ที่มีสาเหตุการสูญพันธุ์ในธรรมชาติจากการที่พื้นที่มีความเสื่อมโทรม และถูกล่าเพื่อไปทำเป็นอาหาร
นกช้อนหอยดำ
สัตว์มีกระดูกสันหลังกลุ่มนก ที่มีสาเหตุการสูญพันธุ์ในธรรมชาติจากการดำรงชีวิตของมันที่นกชนิดนี้มักจะอยู่เป็นคู่หรือตัวเดียว มากกว่าอยู่กันเป็นฝูง
นกกระสาคอดำ
สัตว์มีกระดูกสันหลังกลุ่มนก ที่มีสาเหตุการสูญพันธุ์ในธรรมชาติจากอัตราการเติบโตของประชากรอาจลดลงตามจำนวนปีที่แห้งแล้งเพิ่มขึ้นหรือการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินซึ่งทำให้จำนวนคู่ผสมพันธุ์ลดลงอย่างถาวร และถูกคุกคามจากการทำลายที่อยู่อาศัยการระบายน้ำออกจากพื้นที่ชุ่มน้ำตื้นการรบกวนที่รังการตกปลามากเกินไปมลภาวะการชนกับสายไฟฟ้าและการล่าสัตว์ รวมถึงการถูกล่าและการสูญเสียถิ่นอาศัย มีรายงานพบครั้งสุดท้ายที่หาดเจ้าไหม จังหวัดตรัง
ตะโขง
สัตว์มีกระดูกสันหลังกลุ่มสัตว์เลื้อยคลาน ที่มีสาเหตุการสูญพันธุ์ในธรรมชาติจากเนื่องจากความต้องการบริโภคของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นหนังและเนื้อจระเข้ ประกอบกับสภาพความเป็นอยู่ และแหล่งอาศัยหากินในธรรมชาติถูกทำลายด้วยการรุกล้ำของมนุษย์
ส่วนสัตว์ที่สูญพันธุ์อีก 8 ชนิด ได้แก่ แรด สายยู สมัน นกหัวขวานด่างหน้าผากเหลือง นกพงหญ้า นกช้อนหอยใหญ่ กูปี และกระซู่ ซึ่งมีสาเหตุการสูญพันธุ์ดังต่อไปนี้
แรด
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่สูญพันธุ์เนื่องจาก การบุกรุกป่าจากการทำไม้และการถางป่าเพื่อทำการเกษตร ทำให้แรดชวาสูญเสียพื้นที่อาศัยและหากิน ส่งผลให้จำนวนประชากรของแรดชวา “สูญพันธุ์ จากถิ่นที่อยู่อาศัยในประเทศไทย” นอกจากนี้แรดยังถูกล่า เพียงเพราะความเชื่อว่า นอของแรดนั้นสามารถเอาไปทำยาเสริมสมรรถภาพทางเพศของคนได้ หรือเอาไปทำเป็นเครื่องรางของขลัง วัตถุมงคล เครื่องประดับ จึงทำให้มีการฆ่าแรดชวาเพื่อเอา “นอ” ทั้งนี้ พฤติกรรมของแรดเองก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้มันสูญพันธุ์ เนื่องจากแรดมีนิสัยชอบนอนแช่ปลักโคลน ถ่ายมูลที่เดิมประจำ และไม่ค่อยมีศัตรูตามธรรมชาติ จึงเป็นสัตว์ที่เชื่องช้าไม่ปราดเปรียว ทำให้ถูกพบตัวและถูกล่าได้ง่าย
สมัน
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่สูญพันธุ์เนื่องจากการถูกล่า เพื่อนำไปทำอาวุธ และยาสมุนไพร รวมถึงการบุกรุกพื้นที่ของมนุษย์เพื่อเปลี่ยนทุ่งหญ้าธรรมชาติมาเป็นไร่นา ทำให้ประชากรสมันลดจำนวนลงจนกระทั่งสูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติ
กูปรี
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่สูญพันธุ์เนื่องจากการสูญเสียถิ่นอาศัยคือป่าเต็งรังในพื้นที่ราบลุ่ม ซึ่งเป็นนกประจำถิ่น
กระซู่
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่สูญพันธุ์เนื่องจากถูกล่าเพื่อเอานอ และอวัยวะทุกส่วนของตัว ซึ่งมีฤทธิ์ในทางเป็นยา กระซู่จึงถูกล่าอยู่ต่อเนือง ประกอบกับกระซู่มีอยู่ในธรรมชาติน้อย และประชากรแต่ละกลุ่มและแม้แต่กลุ่มเดียวกันก็อยู่ห่างกันมากไม่มีโอกาสจับ คู่ขยายพันธุ์ได้
นกหัวขวานด่างหน้าผากเหลือง
สัตว์มีกระดูกสันหลังกลุ่มนก ที่สูญพันธุ์เนื่องจากการสูญเสียถิ่นอาศัยคือป่าเต็งรังในพื้นที่ราบลุ่ม ซึ่งเป็นนกประจำถิ่น
นกพงหญ้า
สัตว์มีกระดูกสันหลังกลุ่มนก ที่สูญพันธุ์เนื่องจากแหล่งที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมทั้งหมดถูกทำลาย
นกช้อนหอยใหญ่
สัตว์มีกระดูกสันหลังกลุ่มนก ที่สูญพันธุ์เนื่องจากถูกการล่า และการสูญเสียถิ่นอาศัยคือป่าเต็งรังในพื้นที่ราบลุ่ม เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้นกในประเทศไทยถูกคุกคาม บุกรุกพื้นที่ชุ่มน้ำในประเทศไทยดำเนินไปอย่างรุนแรงและยาวนานทำให้แหล่งอาหาร ถิ่นอาศัย และสร้างรังวางไข่ของนกเหล่านี้ถูกทำลายจนเปลี่ยนสภาพไป
สายยู
สัตว์มีกระดูกสันหลังกลุ่มปลา ที่สูญพันธุ์เนื่องจากเป็นปลาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เดียว จึงมีโอกาสในการสูญพันธุ์มากกว่าปลาชนิดอื่นที่พบว่าอาศัยอยู่ในหลายพื้นที่
จากข้อมูลการสูญพันธุ์ของสัตว์มีกระดูกสันหลังในประเทศไทย พบว่าสัตว์ที่มีสถานภาพสูญพันธุ์เป็นเพียงสัตว์จำนวนน้อย กล่าวคือ มีเพียงแค่ 12 ชนิดพันธุ์ที่สูญพันธุ์ จากจำนวนสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหมด 2,276 ชนิดพันธุ์ และในความเป็นจริง “การสูญพันธุ์” ก็เป็นหนึ่งในกระบวนการทางธรรมชาติจะยังคงเกิดขึ้นต่อไป แม้ว่าโลกนี้จะไม่มีมนุษแล้วก็ตาม แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าปัจจุบัน มนุษย์เป็นปัจจัยหนึ่งที่เร่งให้กระบวนการนี้เกิดขึ้นก่อนเวลาที่ควร อันเนื่องจากกิจกรรมต่างๆ ที่มนุษย์ทำ ไม่ว่าจะเป็นการนำเอาสัตว์มาทำเป็นอาหาร การใช้สัตว์เพื่อการค้า หรือการล่า เพราะเหตุผลบางประการ โดยผิวเผินแล้ว เรามีเหตุผลมากมายที่สนับสนุนว่าทำไมเราจึงควรอนุรักษ์ชนิดพันธุ์ที่ใกล้สูญพันธุ์เหล่านี้ สาเหตุหลักที่ชัดเจนที่สุดอาจเป็นเพราะสัตว์เป็นส่วนหนึ่งของ “นิเวศบริการ” ซึ่งนิเวศบริการนี้เป็นคำอธิบายว่า ด้วยทฤษฎีที่ว่าสัตว์และพืชมีประโยชน์ต่อมนุษย์โดยการดำรงอยู่ บางตัวอย่างของนิเวศบริการนั้นชัดเจน เช่น เรากินพืชและสัตว์บางชนิด แพลงก์ตอนในทะเลและพืชสีเขียวช่วยผลิตออกซิเจนที่เราใช้หายใจ ซึ่งถ้าหากไม่มีสัตว์บางชนิด อาจทำให้ธรรมชาติเสียสมดุล และเราเองก็จะได้รับผลกระทบไปด้วยไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่ง เพราะมนุษย์ก็เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ
ซึ่งในขณะเดียวกัน ก็ได้มีกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ตั้งคำถามว่า เราจะได้ผลประโยชน์เท่าไรจากการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ พวกเขาสรุปว่าผลประโยชน์ที่ได้จะมากกว่าต้นทุนนับ 100 เท่า กล่าวคือ การอนุรักษ์ถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าและน่าสนใจ ในทางตรงข้าม การปล่อยให้ชนิดพันธุ์ลดจำนวนลงและสูญพันธุ์ไปดูเป็นทางเลือกที่ไม่ดีนัก การศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2554 สรุปว่า การปล่อยให้เกิดการสูญพันธุ์โดยไม่กำกับดูแลจะทำให้ผลผลิตทางเศรษฐกิจของโลกลดลงราวร้อยละ 18 ภายในปี พ.ศ. 2593 นี่คงกลายเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่เราควรอนุรักษ์ชนิดพันธุ์ต่างๆ บนโลก ยิ่งไปกว่านั้น ก็ยังมีเหตุผลง่ายๆ อย่าง “เราอยากที่จะอนุรักษ์มัน” ซึ่งการอนุรักษ์ก็ทำได้หลายวิธี เช่น การตระหนักรู้ถึงปัญหา การลงมือหรือมีส่วนร่วมกับกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นแนวทางในการอนุรักษ์ชนิดพันธุ์ของสัตว์ อาทิ กิจกรรมปลูกป่าเพิ่มพื้นที่เพื่อให้สัตว์อาศัย กิจกรรมต่อต้านการล่าสัตว์ การรณรงค์ไม่ให้ใช้อวนตาถี่ในการจับสัตว์น้ำ หรือกิจกรรมที่ให้ความสำคัญกับการงดจับสัตว์น้ำในฤดูผสมพันธุ์หรือวางไข่
อ้างอิงบทความ
1. https://www.data.go.th/dataset/red-data-vertibrates
3. https://www.greenpeace.org/thailand/explore/protect/oceans/oceans-crisis/
4. https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%B2
5. https://www.facebook.com/DNP.Wildlife/posts/3010438009280819/
6. https://sites.google.com/site/aphisitsaenjaiban571310311/satw-pa-sngwn/raed-rhinoceros-sondaicus-1
7. http://www.thaigoodview.com/node/37215
8. http://www.rangsit.org/sculpture/samun/menu21.php
9. https://m.facebook.com/SeubNakhasathienFD/photos/a.191738355826/10152873052270827/?type=3
11. https://eia.onep.go.th/images/monitor/1565926736.pdf
12. https://mgronline.com/indochina/detail/9560000103809
13. https://sites.google.com/site/bv540107/page1/page1-5
14. https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8B%E0%B8%B9%E0%B9%88
16. https://www4.fisheries.go.th/local/file_document/20200408153605_1_file.pdf
17. http://www.dusit.zoothailand.org/animal_view.php?detail_id=519&c_id=
18. http://www.zoothailand.org/animal_view.php?detail_id=115&c_id=58
19. https://www.bloggang.com/m/viewdiary.php?id=vinitsiri&month=02-2011&date=01&group=51&gblog=251
20. http://shorturl.asia/peRQt
21. https://sites.google.com/site/satwna12345/ch6-2/plaraedkheiywmaenakhong
22. http://www.siamensis.org/species_index?nid=7565#7565–Species%20:%20Osphronemus%20exodon