‘คราฟต์เบียร์ (Craft Beer)’ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ฮอตฮิตที่สุดของคนทั่วโลก มีกระแสจากต่างประเทศเริ่มเข้ามา และได้รับความนิยมอย่างมาก ทำให้คนไทยเริ่มมีทางเลือกในการดื่มเบียร์ ซึ่งคราฟต์เบียร์มักเกิดจากกลุ่มผู้ผลิตรายเล็ก ที่มีความพิถีพิถันในการผลิต เน้นการผลิตเบียร์ที่มีเอกลักษณ์และมีรสชาติ นอกจากนี้คราฟต์เบียร์ยังมีปริมาณแอลกอฮอล์สูงกว่าเบียร์ทั่วไป และยังใช้ส่วนผสมที่มีราคาแพงกว่าอีกด้วย
คราฟต์เบียร์
คราฟต์เบียร์ (Craft Beer) หรือ เบียร์ทำมือ คำว่าคราฟต์ มาจากคำว่า craftsmanship หรืองานฝีมือ เมื่อนำมารวมกับคำว่า เบียร์ ก็จะกลายเป็น คราฟต์เบียร์ ซึ่งแปลว่า เบียร์ทำมือ คราฟต์เบียร์ เป็นการทำเบียร์สไตล์อเมริกันที่เกิดจากผู้ผลิตรายเล็ก มีการผลิตเบียร์แบบ handmade โดยผู้ผลิตต้องใช้ฝีมือ ความปราณีต ความพิถีพิถัน ความคิดสร้างสรรค์ ในการปรุงแต่งรสเบียร์ให้มีความหลากหลายทางรสชาติ และมีเอกลักษณ์ การผลิตคราฟต์เบียร์จะไม่นิยมผลิตครั้งละมาก ๆ เนื่องจากตัวเบียร์จะเสื่อมคุณภาพไว หากเก็บไว้เป็นเวลานาน ๆ
คราฟต์เบียร์กับเบียร์แตกต่างกันยังไง
สิ่งที่คราฟต์เบียร์เป็น คือความแตกต่าง ส่วนใหญ่คราฟต์เบียร์จะทำโดยโรงเบียร์อิสระขนาดเล็ก เน้นให้ความสำคัญกับการผลิตเบียร์ที่มีเอกลักษณ์และมีรสชาติ ตรงกันข้ามกับเบียร์เชิงพาณิชย์ที่ผลิตโดยโรงเบียร์อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ที่เน้นการผลิตเบียร์เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้คราฟต์เบียร์ยังสามารถดัดแปลงส่วนประกอบทุกอย่างในธรรมชาติมาเป็นส่วนผสม ให้เกิดกลิ่นและรสใหม่ ๆ ของเบียร์ได้
ประเภทคราฟเบียร์ฮอตฮิตของไทย
เนื่องจากคราฟต์เบียร์มีวัตถุดิบในการปรุงรสที่เป็นอิสระ และยังมีความหลากหลายทางรสชาติ จึงทำให้คราฟต์เบียร์มีหลายประเภท
คราฟต์เบียร์ยังถือว่าเป็นอีกหนึ่งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่น่าสนใจ ด้วยการผลิตที่มีอิสระในการเลือกใช้วัตถุดิบ เพื่อให้ได้รสชาติที่มีความเฉพาะตัวและมีเอกลักษณ์ อีกทั้งปัจจุบันคราฟต์เบียร์ยังเป็นที่นิยมของคนไทย สามารถหาดื่มได้ง่ายยิ่งขึ้นอีกด้วย แต่คราฟต์เบียร์ยังเป็นเบียร์ที่ไม่ถูกกฎหมายของไทย ในปัจจุบันไทยกีดกันผู้ผลิตรายเล็กอย่างสิ้นเชิง ทุกวันนี้ใครอยากผลิตคราฟต์เบียร์ให้ถูกกฎหมาย ต้องไปขอใบอนุญาตจากกรมสรรพสามิต แต่มีเงื่อนไขว่า
1) มีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท
2) หากผลิตเพื่อขาย ณ สถานที่ผลิต อาทิ โรงเบียร์เยอรมันตะวันแดง จะต้องมีปริมาณการผลิตไม่ต่ำกว่า 1 แสนลิตรต่อปี
3) หากจะบรรจุขวดหรือกระป๋อง ผลิตเพื่อขายนอกสถานที่ เหมือนเบียร์รายใหญ่ จะต้องผลิตปริมาณไม่ต่ำกว่า 10 ล้านลิตรต่อปี หรือไม่ต่ำกว่า 33 ล้านขวดต่อปี เป็นเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกฎกระทรวงการอนุญาตผลิตสุราปี 2560
กฎหมายเหล่านี้ทำให้ผู้ผลิตคราฟต์เบียร์รายเล็กไม่มีทางแจ้งเกิดในประเทศแน่นอน
สำหรับใครที่อยากลองลิ้มรสชาติของคราฟต์เบียร์ เรามี 2 ร้านยอดฮิตที่สายเบียร์ห้ามพลาดมาแนะนำ เริ่มที่ร้านแรกกันเลย กับร้าน Bottle Rocket Craft Beer Bar ติดกับสถานีรถไฟฟ้า BTS สนามเป้า เมื่อมาถึงสถานีให้เดินมายังทางออก 4 ก็จะพบกับกำแพงสังกะสีเท่ ๆ หน้าต่างทรงกลมที่อยู่บนชั้นสองของตึกใกล้กับสถานีรถไฟฟ้า และมาอีกหนึ่งร้านคือ ร้าน Brewave ร้านเบียร์แห่งแรกของย่านบางแค ตั้งอยู่บนถนนกาญจนาภิเษก แขวงบางแคเหนือ เขตบางแค กรุงเทพมหานคร (อยู่ตรงข้ามเดอะมอลล์บางแค ถนนกาญจนาภิเษก)
ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://favforward.com/talk-about/feature/44248.html
👑 บรรณาธิการ : บดินทรกานต์ พิทักษ์สรยุทธ
🌟 รองบรรณาธิการ : อภิญญา บุญยะยุตร
⭐️ เลขา : ตรีวงศ์ ตรีวัฒนชัยกุล
กองบรรณาธิการ 💪🏻
ฝนลัดดา ห้วงน้ำ
นภาพร สุปินะ
สุพัชชา โฮมจัตุรัส
อภิภูมิ กาญจนวัฒน์
ช่างภาพ 📸
ธงทอง สุคาคม
กราฟิก💻
ชลลธร เที่ยงแท้
ภัทริกา บุญปั้น
พิสูจน์อักษร📝
พรชิตา จินพละ
ปาณิศา นิลนวล